รหัสวิชา | ชื่อวิชา | หน่วยกิต |
---|---|---|
6400151 |
ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารสำหรับครูการใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารสำหรับครูในการจัดการเรียนรู้อย่างเหมาะสมและสอดคล้อง กับบริบทความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียนหรือผู้เรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษโดย วิเคราะห์แนวคิดทฤษฎี วาทวิทยาสําหรับครู การฝึกปฏิบัติทักษะการฟังและการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ และการฝึกปฏิบัติทักษะการพูดและการเขียนอย่างสร้างสรรค์ การสืบค้นข้อมูลสารสนเทศเพื่อเสริมสร้าง ความรู้ที่ทันสมัยต่อความเปลี่ยนแปลง การสื่อสารทางภาษาและวัฒนธรรมที่แตกต่างหลากหลายเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ การมีมารยาทในการสื่อสารทางภาษาไทยอย่างถูกต้องและเหมาะสม |
3 (2-2-5) |
6400152 |
ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสำหรับครูการใช้ทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในบริบทชีวิตประจำวันและการทำงานทั้งด้านการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน ออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่บูรณาการภาษาอังกฤษ ใช้ภาษาอังกฤษในการจัดการเรียนรู้ ออกแบบสื่อการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ ฝึกการนำเสนอในสถานการณ์ต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน การศึกษา วิเคราะห์องค์ความรู้ด้านการจัดการเรียนรู้จากเอกสารและสื่อภาษาอังกฤษ การนำเสนองานทางวิชาการ โดยใช้สำนวนที่เหมาะสม ถูกต้อง กับสังคมและวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา บูรณาการการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา ใช้การสะท้อนคิดเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาตนเอง |
3 (2-2-5) |
6400153 |
ครุนิพนธ์จัดทำครุนิพนธ์ โดยการรวบรวม วิเคราะห์ สังเคราะห์สมรรถนะการปฏิบัติหน้าที่ครู คุณลักษณะของความเป็นครู ผ่านกระบวนการถอดบทเรียนจากการปฏิบัติการสอนและการเรียนรู้ด้วยตนเอง เข้าร่วมกิจกรรมเพื่อเติมเต็มสมรรถนะ สะท้อนกลับ (AAR) เป็นรายบุคคลและร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ (PLC) เพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาตนเองให้มีความรอบรู้ ทันสมัยและทันต่อการเปลี่ยนแปลง |
1 (45) |
6400154 |
ปรัชญาการศึกษาและการประกันคุณภาพการศึกษาพื้นฐานการศึกษา หลักการ แนวคิด ทฤษฎีทางปรัชญาและปรัชญาการศึกษา ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การนำปรัชญาการศึกษาและปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิตและในการจัดการศึกษา การวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงบริบท และแนวโน้มของโลกและสังคมที่ส่งผลกระทบต่อการศึกษา และแนวโน้มการจัดการศึกษาในยุคดิจิทัล ทฤษฎี แนวปฏิบัติการประกันคุณภาพการศึกษาภายในการประกันคุณภาพการศึกษาภายนอก วิเคราะห์จุดเด่น จุดด้อย อุปสรรค ของการประกันคุณภาพการศึกษาของประเทศ การประยุกต์ใช้ผลการประกันคุณภาพไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนและการวางแผนพัฒนาสถานศึกษา |
3 (2-2-5) |
6400155 |
การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาแนวคิด ทฤษฎีและรูปแบบการพัฒนาหลักสูตร พื้นฐานการพัฒนาหลักสูตร การวิเคราะห์ปรัชญาการศึกษา วิวัฒนาการของหลักสูตร แนวคิดพื้นฐานการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ลักษณะหลักสูตรสถานศึกษา กระบวนการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและสอดคล้องกับความต้องการของ ท้องถิ่น การนำหลักสูตรไปใช้ การประเมินหลักสูตร การวิจัยออกแบบพัฒนาหลักสูตรอย่างเป็นระบบ การประยุกต์ใช้นวัตกรรมของยุคใหม่เพื่อการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา การวิเคราะห์ปัญหาและแนวโน้มในการพัฒนาหลักสูตร |
3 (2-2-5) |
6400156 |
ศาสตร์การจัดการเรียนรู้แนวคิด ทฤษฎี เทคนิคและวิธีการจัดการเรียนรู้ การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความรู้ความคิด ทักษะ กระบวนการและคุณลักษณะ การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การเรียนการสอนแบบบูรณาการและการเรียนรวม การจัดการเรียนการสอนแบบคละชั้น การบริหารจัดการชั้นเรียน การวางแผนและการจัดทำแผน การเรียนรู้ การประยุกต์ใช้สื่อการเรียนรู้ นวัตกรรม เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล การเรียนรู้ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดการเรียนรู้ การปฏิบัติการสอนแบบจุลภาค การทดลองจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษา |
3 (2-2-5) |
6400157 |
นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา และการเรียนรู้หลักการ แนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับนวัตกรรมทางการศึกษา เทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา และเทคโนโลยีอุบัติใหม่เพื่อการเรียนรู้ การวิเคราะห์แนวโน้มการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ ในศตวรรษที่ 21 การออกแบบและพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศที่สอดคล้องกับผู้เรียน และการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 การรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศแนวปฏิบัติในยุคดิจิทัล การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอุบัติใหม่เพื่อการเรียนรู้ในระบบและการเรียนรู้ตลอดชีวิต การประเมินผลการใช้นวัตกรรมทางการศึกษา เทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา และเทคโนโลยีอุบัติใหม่เพื่อการเรียนรู้ |
3 (2-2-5) |
6400158 |
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้หลักการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ วิธีการและเครื่องวัดผลและประเมินการเรียนรู้ การวัดและประเมินผลการเรียนรู้แบบอิงกลุ่มและอิงเกณฑ์ การรายงานผลการประเมิน การนำผลการประเมินไปใช้ในการแก้ปัญหา พัฒนาผู้เรียนและพัฒนาการเรียนการสอน |
3 (2-2-5) |
6400159 |
การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการวิจัย จรรยาบรรณของนักวิจัย การวิเคราะห์ปัญหาการเรียนรู้ การสร้างและหาคุณภาพเครื่องมือวิจัย การออกแบบการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ การวิเคราะห์ข้อมูลและการนำเสนอผลการวิจัย การนำผลการวิจัยไปใช้ในการพัฒนาผู้เรียนและการจัด การเรียนรู้ เพื่อให้สามารถนำผลการวิจัยไปใช้ในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้และพัฒนาผู้เรียน ใช้การสะท้อนคิดไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาตนเองในการเป็นครูที่ดีมีความรอบรู้และทันสมัยต่อ ความเปลี่ยนแปลง |
3 (2-2-5) |
6400160 |
จิตวิทยาสำหรับครูแนวคิดพื้นฐานทางจิตวิทยา จิตวิทยาพัฒนาการมนุษย์ จิตวิทยาการเรียนรู้และ จิตวิทยาการศึกษาเพื่อเข้าใจธรรมชาติผู้เรียนและพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างเต็มศักยภาพ จิตวิทยาการแนะแนวและการให้คำปรึกษาเพื่อประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนการช่วยเหลือ และพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น |
3 (2-2-5) |
6400161 |
ความเป็นครูความสำคัญของวิชาชีพครู บทบาทหน้าที่ ภาระงานของครู พัฒนาการองวิชาชีพครู คุณลักษณะของครูที่ดี คุณธรรม จริยธรรม จิตวิญญาณความเป็นครู การสร้างทัศนคติ ค่านิยม อุดมการณืที่ดีต่อวิชาชีพครู การเสริมสร้างศักยภาพและและสมรรถภาพความเป็นครู การเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้และการเป็นผู้นำทางวิชาการ เกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครู จรรยาบรรณของวิชาชีพครู กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา การเปลี่ยนแปลงบริบทและแนวโน้ม ของโลกและสังคมที่ส่งผลกระทบต่อการศึกษาและแนวคิดของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิตเพื่อพัฒนาตน พัฒนาผู้เรียน พัฒนางาน และพัฒนาชุมชน |
3 (2-2-5) |
รหัสวิชา | ชื่อวิชา | หน่วยกิต |
---|---|---|
6400162 |
การฝึกประสบการณ์วิชาชีพระหว่างเรียน 1การฝึกประสบการณ์วิชาชีพระหว่างเรียน โดยการศึกษาเรียนรู้ คุณลักษณะของครูที่มุ่งมั่นพัฒนาผู้เรียนด้วยจิตวิญญาณความเป็นครู ประพฤติปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณของวิชาชีพครู ศึกษาและสังเกตบทบาทหน้าที่ครู และครูประจำชั้น บริบทชั้นเรียน บริบทของสถานศึกษา ในด้านการบริหารและการจัดการศึกษาของสถานศึกษา การประกันคุณภาพการศึกษา ศึกษาบริบทของชุมชนและสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับผู้ปกครองและชุมชน เข้าร่วมโครงการที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริม อนุรักษ์วัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น กิจกรรมพัฒนาวิชาชีพ และนำผลจากการเรียนรู้ในสถานศึกษาไปจัดทำรายงานจากการฝึกประสบการณ์ ประเมินสะท้อนกลับ (AAR) เป็นรายบุคคล และร่วมสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลการศึกษาเพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาตนเองให้มีความรอบรู้ ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี มีคุณธรรมจริยธรรมและเป็นพลเมืองดี |
2 (90) |
6400163 |
การฝึกประสบการณ์วิชาชีพระหว่างเรียน 2การฝึกประสบการณ์วิชาชีพระหว่างเรียน โดยการปฏิบัติงานผู้ช่วยครูร่วมกับครูพี่เลี้ยงในงานธุรการในชั้นเรียน การวางแผนและจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ สื่อและการวัดการประเมินผลการเรียนรู้ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ในวิชาเอก ร่วมมือกับผู้ปกครองในการพัฒนาและแก้ปัญหาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับผู้ปกครองและชุมชนเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ที่มีคุณภาพของผู้เรียน วิเคราะห์และนำเสนอแนวทางในการพัฒนาตนเองให้มีความเป็นครูมืออาชีพที่เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านศาสตร์วิชาชีพครูและศาสตร์สาขาวิชาเอก เข้าร่วมโครงการที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริม อนุรักษ์วัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น กิจกรรมพัฒนาวิชาชีพ และนำผลจากการเรียนรู้ในสถานศึกษาไปจัดทำรายงานจากการฝึกประสบการณ์ ประเมินสะท้อนกลับ (AAR) เป็นรายบุคคล และร่วมสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลการศึกษาเพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาตนเองให้มีความรอบรู้ ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี มีคุณธรรมจริยธรรมและเป็นพลเมืองดี |
2 (90) |
6400164 |
การฝึกประสบการณ์วิชาชีพระหว่างเรียน 3การทดลองสอนวิชาเอกในสถานศึกษา โดยบูรณาการความรู้และศาสตร์การสอนในการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ ออกแบบสื่อและการวัดการประเมินผลการเรียนรู้ จัดการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนาผู้เรียนตามความถนัด และความสนใจให้มีปัญญารู้คิด มีความเป็นนวัตกร การจัดกิจกรรมเพื่อสร้างบรรยากาศเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนมีความสุขในการเรียน ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลให้เกิดประโยชน์ต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน ส่งเสริมการเรียนรู้ เอาใจใส่ และยอมรับความแตกต่างของผู้เรียนแต่ละบุคคล ดูแล ช่วยเหลือ พัฒนาและรายงานผลการพัฒนาผู้เรียนเป็นรายบุคคลอย่างเป็นระบบ สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับผู้ปกครองและชุมชน เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ที่มีคุณภาพของผู้เรียน ศึกษา เข้าถึงบริบทของชุมชน และสามารถอยู่ร่วมกันบนพื้นฐานความแตกต่างทางวัฒนธรรม เข้าร่วมโครงการที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริม อนุรักษ์วัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น กิจกรรมพัฒนาวิชาชีพและนำผลจากการเรียนรู้ในสถานศึกษาไปจัดทำรายงานจากการฝึกประสบการณ์ ประเมินสะท้อนกลับ (AAR) เป็นรายบุคคล และร่วมสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลการศึกษาเพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาตนเองให้มีความรอบรู้ ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี มีคุณธรรมจริยธรรมและเป็นพลเมืองดี |
2 (90) |
6400165 |
การปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาการปฏิบัติการสอนในวิชาเอก ปฏิบัติงานในหน้าที่ครูโดยมุ่งมั่นพัฒนาผู้เรียน ด้วยจิตวิญญาณความเป็นครู ส่งเสริมการเรียน เอาใจใส่และยอมรับความแตกต่างของผู้เรียนแต่ละบุคคล สร้างแรงบันดาลใจผู้เรียนให้เป็นผู้ใฝ่เรียนรู้และผู้สร้างนวัตกรรมโดยการมีส่วนร่วมในการพัฒนาและส่งเสริมหลักสูตรสถานศึกษา บูรณาการความรู้และศาสตร์การสอนในการจัดทำแผนการสอน ออกแบบสื่อและการวัดการประเมินผลการเรียนรู้ จัดการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนาผู้เรียนตามความถนัด และความสนใจให้มีปัญญารู้คิด มีความเป็นนวัตกร การจัดกิจกรรมเพื่อสร้างบรรยากาศเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนมีความสุขในการเรียน วิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียน สร้างนวัตกรรม และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลให้เกิดประโยชน์ต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน ร่วมมือกับผู้ปกครองในการพัฒนาและแก้ปัญหาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับผู้ปกครองและชุมชนเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ที่มีคุณภาพของผู้เรียน ศึกษา เข้าถึงบริบทของชุมชน และสามารถอยู่ร่วมกันบนพื้นฐานความแตกต่างทางวัฒนธรรม สะท้อนผลการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับตนเองได้อย่างชัดเจนจากเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาวิชาชีพ โครงการที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริม อนุรักษ์วัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น และนำผลจากการเรียนรู้ในสถานศึกษาไปจัดทำรายงานจากการฝึก ประเมินสะท้อนกลับ (AAR) เป็นรายบุคคลและร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันในรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ (PLC) เพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาตนเองให้มีความรอบรู้ ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี มีคุณธรรมจริยธรรมและเป็นพลเมืองดี |
6 (540) |
รหัสวิชา | ชื่อวิชา | หน่วยกิต |
---|---|---|
6400214 |
สมองกับการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยแนวคิด หลักการ และทฤษฎี ความรู้เรื่องความสัมพันธ์ของสมองกับระบบประสาทวิทยาการศึกษา การพัฒนาทางภาษาและการสื่อสารในบริบทศาสตร์สาขาภาษาศาสตร์กับประสาทวิทยา จิตวิทยาการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัยอายุต่ำกว่า 8 ปีกับการวิเคราะห์พัฒนาการและกระบวนการทำงานของสมอง ปัจจัยสิ่งแวดล้อมกับการอบรมเลี้ยงดูที่มีผลต่อการทำงานของสมอง สมรรถนะกับวิธีการเรียนรู้ของสมองและจิตใจ การออกแบบกิจกรรมเพื่อส่งเสริมทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ การทดลองกิจกรรมเพื่อค้นหาความถนัดและความสนใจที่แตกต่างของเด็กปฐมวัย เพื่อหาแนวทางในการพัฒนาที่เหมาะสม |
3 (2-2-5) |
6400215 |
การอบรมเลี้ยงดูและส่งเสริมการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยแนวคิด หลักการ และทฤษฎีการอบรมเลี้ยงดูและส่งเสริมการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย การพัฒนาคุณลักษณะด้านคุณธรรมจริยธรรมอย่างเหมาะสมกับช่วงวัย การอบรมเลี้ยงดูและพัฒนาสุขภาพจิตสำหรับเด็กปฐมวัย การทำงานร่วมกับผู้ปกครองและครอบครัวเพื่อการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย การออกแบบและการจัดกิจกรรมตามหลักของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อพัฒนาการการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยอย่างรอบด้าน อิทธิพลการอบรมเลี้ยงดูกับการพัฒนาสมองของเด็กปฐมวัย การสะท้อนคิดการพัฒนาปรับปรุงกิจกรรมด้านการอบรมเลี้ยงดูได้อย่างเหมาะสม การประยุกต์ใช้ความรู้เรื่องระบบประสาทวิทยาศาสตร์การศึกษากับจิตวิทยาพัฒนาการสำหรับการเด็กปฐมวัยเพื่อการอบรมเลี้ยงดูและส่งเสริมการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย |
3 (2-2-5) |
6400216 |
การพัฒนาสุขภาวะและความปลอดภัยสำหรับเด็กปฐมวัยแนวคิด หลักการ และทฤษฎี การพัฒนาสุขภาวะและความปลอดภัยสำหรับเด็กปฐมวัยอายุต่ำกว่า 8 ปี โดยประยุกต์ใช้ความรู้เรื่องการพัฒนาสุขภาวะสำหรับเด็กปฐมวัย วิเคราะห์ทฤษฎีและแนวคิดในการพัฒนาสุขภาวะ โรคที่พบบ่อยในเด็กปฐมวัยตามช่วงอายุ อุบัติเหตุในบ้าน นอกบ้านและในโรงเรียน ฝึกปฏิบัติการใช้เครื่องมือวัดภาวะพัฒนาการ ภาวะโภชนาการ ภาวะสุขภาพและอนามัยสำหรับเด็กปฐมวัย ฝึกปฏิบัติการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ออกแบบโปรแกรมที่ทันสมัยเพื่อพัฒนาสุขภาวะและความปลอดภัยทั้งในบ้านและโรงเรียนอย่างรอบด้านสำหรับเด็กปฐมวัย |
3 (2-2-5) |
6400226 |
ความพร้อมทางด้านร่างกายสำหรับเด็กปฐมวัยแนวคิด หลักการ และทฤษฎี การจัดกิจกรรมส่งเสริมความพร้อมทางด้านร่างกายแบบองค์รวมสำหรับเด็กปฐมวัย ความสัมพันธ์ของสมองและระบบประสาทวิทยาการศึกษา รูปแบบ/กิจกรรม/ สื่อที่สะท้อนการพัฒนาสมรรถภาพและความพร้อมทางด้านร่างกายแบบองค์รวม การวัดและประเมินพัฒนาการด้านร่างกายเด็กปฐมวัย งานวิจัยที่เกี่ยวข้องในประเทศและต่างประเทศ ออกแบบการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาสมรรถภาพและความพร้อมทางด้านร่างกายแบบองค์รวม สะท้อนคิด ประยุกต์ใช้ความรู้เรื่องการจัดประสบการณ์ทางด้านร่างกายสำหรับเด็กปฐมวัย พัฒนาปรับปรุงการออกแบบกิจกรรมเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัยแบบองค์รวม |
3 (2-2-5) |
6400227 |
ภาษาและการสื่อสารสำหรับเด็กปฐมวัยแนวคิด หลักการ และทฤษฎี การจัดประสบการณ์ทางภาษาและการสื่อสารสำหรับเด็กปฐมวัยอายุต่ำกว่า 8 ปี ความสัมพันธ์ของศาสตร์สาขาภาษาศาสตร์ประสาทวิทยาการศึกษา รูปแบบ/อิทธิพลของบริบทครอบครัว ชุมชน ท้องถิ่นที่ส่งผลต่อการพัฒนาทางภาษาและการสื่อสารสำหรับเด็กปฐมวัย งานวิจัยที่เกี่ยวข้องในประเทศและต่างประเทศ ออกแบบการจัดประสบการณ์ทางภาษาและการสื่อสารสำหรับเด็กปฐมวัย ประเมินผลการเรียนรู้ทางภาษาและการสื่อสาร บทบาทครูและผู้ปกครองในการส่งเสริมพัฒนาการทางภาษาและการสื่อสารสำหรับเด็กปฐมวัย |
3 (2-2-5) |
6400228 |
ความฉลาดทางอารมณ์และสังคมสำหรับเด็กปฐมวัยแนวคิด หลักการ และทฤษฎีการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคมสำหรับเด็กปฐมวัย อิทธิพลของบริบทสังคมที่ส่งผลต่อการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคมสำหรับเด็กปฐมวัย ออกแบบกิจกรรม/สื่อการสอนเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคมสำหรับเด็กปฐมวัย งานวิจัยที่เกี่ยวข้องในประเทศและต่างประเทศ ประเมินการเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคมสำหรับเด็กปฐมวัย |
3 (2-2-5) |
6400229 |
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบบูรณาการสำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปีแนวคิด หลักการ และทฤษฎีที่เกี่ยวกับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบบูรณาการสำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี การจัดประสบการณ์โดยใช้วิจัยเป็นฐานตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโดยใช้ความรู้เรื่องระบบประสาทวิทยาการศึกษาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบบูรณาการสำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี การออกแบบสื่อและการการบริหารจัดการชั้นเรียนเพื่อพัฒนาสมองแบบครบส่วนและพหุปัญญาได้อย่างรอบด้าน งานวิจัยในประเทศและต่างประเทศ การประเมินการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบบูรณาการสำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี |
3 (2-2-5) |
6400230 |
ลีลา จังหวะและการเคลื่อนไหวสำหรับเด็กปฐมวัยแนวคิด หลักการ และทฤษฎี การจัดกิจกรรมลีลาจังหวะและเคลื่อนไหวสำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้ความรู้เรื่องระบบประสาทวิทยาการศึกษา การออกแบบและการจัดกิจกรรมลีลาจังหวะและการเคลื่อนไหวโดยสื่อ อุปกรณ์ที่สอดคล้องกับพัฒนาการและความแตกต่างระหว่างบุคคล งานวิจัยในประเทศและต่างประเทศ ออกแบบการประเมินเพื่อ ใช้การจัดกิจกรรมลีลาจังหวะและเคลื่อนไหวสำหรับเด็กปฐมวัย |
3 (2-2-5) |
6400231 |
ศิลปะสำหรับเด็กปฐมวัยแนวคิด หลักการ และทฤษฎี การจัดกิจกรรมทางศิลปะสำหรับเด็กปฐมวัยเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ การออกแบบและการจัดกิจกรรมทางศิลปะสำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้ความรู้เรื่องระบบประสาทวิทยาการศึกษา บทบาทของครูและผู้ปกครองในการจัดกิจกรรมทางศิลปะสำหรับเด็กปฐมวัยที่มีความแตกต่างระหว่างบุคคลตามหลักของเศรษฐกิจพอเพียง งานวิจัยในประเทศและต่างประเทศ ออกแบบการประเมินการจัดกิจกรรมทางศิลปะระดับการศึกษาปฐมวัย |
3 (2-2-5) |
6400232 |
เด็กปฐมวัยที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษแนวคิด หลักการ และทฤษฎี เกี่ยวกับการช่วยเหลือเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ คุณธรรมและจริยธรรมของครูปฐมวัยในการดูแลเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ งานวิจัยที่เกี่ยวข้องในประเทศและต่างประเทศ การประยุกต์ใช้ความรู้เรื่องระบบประสาทวิทยาการศึกษา การออกแบบกิจกรรม และสื่อการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับพัฒนาการความแตกต่างระหว่างบุคคลของเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ ตามหลักการและปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การทดลอง การวัด และประเมินผล เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ |
3 (2-2-5) |
6400233 |
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบบูรณาการสำหรับเด็กอายุ 3-6 ปีแนวคิด หลักการ และทฤษฎีที่เกี่ยวกับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบบูรณาการสำหรับเด็กอายุ3 -6 ปี การจัดประสบการณ์โดยใช้วิจัยเป็นฐานตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโดยใช้ความรู้เรื่องระบบประสาทวิทยาการศึกษาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบบูรณาการสำหรับเด็กอายุ3 -6 ปี การออกแบบสื่อและการการบริหารจัดการชั้นเรียนเพื่อพัฒนาสมองแบบครบส่วนและพหุปัญญาได้อย่างรอบด้าน งานวิจัยในประเทศและต่างประเทศ การประเมินการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบบูรณาการสำหรับเด็กอายุ3 -6 ปี |
3 (2-2-5) |
6400234 |
วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยแนวคิด หลักการ และทฤษฎี การจัดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ใช้ความรู้เรื่องระบบประสาทวิทยาการศึกษา การจัดการเรียนการสอนแบบ STEM บ้านวิทยาศาสตร์น้อยและวิทยาการคำนวณเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย การออกแบบกิจกรรมวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ที่สอดคล้องกับพัฒนาการความแตกต่างระหว่างบุคคลตามหลักของเศรษฐกิจพอเพียง งานวิจัยในประเทศและต่างประเทศ การประเมินการจัดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย |
3 (2-2-5) |
6400235 |
ภาษาอังกฤษสำหรับครูปฐมวัยแนวคิด หลักการ และทฤษฎี การสื่อสารภาษาอังกฤษขั้นพื้นฐานสำหรับครูปฐมวัย เพื่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ภาษาอังกฤษสำหรับเด็กปฐมวัย การศึกษาโครงสร้างไวยากรณ์ การฝึกอ่านออกเสียง และการลงเสียงเน้นน้ำหนักสูงต่ำของคำในภาษาอังกฤษพื้นฐาน การประยุกต์ใช้ความรู้เรื่องระบบประสาทวิทยาการศึกษา การออกแบบกิจกรรม และสื่อการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับพัฒนาการความแตกต่างระหว่างบุคคลของเด็กปฐมวัย ตามหลักการและปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การทดลอง การวัด และประเมินผล เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย |
3 (2-2-5) |
6400236 |
การเรียนรู้สำหรับเด็กกลุ่มเป้าหมายเฉพาะแนวคิด หลักการ และทฤษฎีการช่วยเหลือเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ คุณธรรมและจริยธรรมของครูปฐมวัยในการดูแลเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ งานวิจัยที่เกี่ยวข้องในประเทศและต่างประเทศ การประยุกต์ใช้ความรู้เรื่องระบบประสาทวิทยาการศึกษา การออกแบบกิจกรรม และสื่อการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับพัฒนาการความแตกต่างระหว่างบุคคลของเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ ตามหลักการและปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การทดลอง การวัด และประเมินผล เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ |
3 (2-2-5) |
รหัสวิชา | ชื่อวิชา | หน่วยกิต |
---|---|---|
6400237 |
วรรณกรรมสำหรับเด็กปฐมวัยแนวคิด หลักการ และทฤษฎีวรรณกรรมสำหรับเด็กปฐมวัย งานวิจัยที่เกี่ยวข้องในประเทศและต่างประเทศ การประยุกต์ใช้ความรู้เรื่องระบบประสาทวิทยาการศึกษา การออกแบบกิจกรรม และสื่อการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับพัฒนาการความแตกต่างระหว่างบุคคลของเด็กปฐมวัย ตามหลักการและปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การทดลอง การวัด และประเมินผล เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย |
3 (2-2-5) |
6400238 |
สื่อและของเล่นสำหรับเด็กปฐมวัยแนวคิด หลักการ และทฤษฎี เกี่ยวกับสื่อและของเล่นสำหรับเด็กปฐมวัย งานวิจัยที่เกี่ยวข้องในประเทศและต่างประเทศ การประยุกต์ใช้ความรู้เรื่องระบบประสาทวิทยาการศึกษา การออกแบบสื่อ และของเล่นสำหรับเด็กปฐมวัยที่สอดคล้องกับพัฒนาการความแตกต่างระหว่างบุคคลของเด็กปฐมวัย ตามหลักการและปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การทดลอง การวัด และประเมินผล เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย |
3 (2-2-5) |
6400239 |
การเล่นเพื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยแนวคิด หลักการ และทฤษฎี เกี่ยวกับการเล่นเพื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย งานวิจัยที่เกี่ยวข้องในประเทศและต่างประเทศ การประยุกต์ใช้ความรู้เรื่องระบบประสาทวิทยาการศึกษา การออกแบบสื่อ และการเล่นสำหรับเด็กปฐมวัยที่สอดคล้องกับพัฒนาการความแตกต่างระหว่างบุคคลของเด็กปฐมวัย ตามหลักการและปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การทดลอง การวัด และประเมินผล เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย |
3 (2-2-5) |
6400240 |
ทักษะการคิดสำหรับเด็กปฐมวัยแนวคิด หลักการ และทฤษฎีเกี่ยวกับทักษะการคิดในรูปแบบต่างๆ โปรแกรมการพัฒนาทักษะการคิด การศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องในและนอกประเทศ การวางแผน การออกแบบการจัดกิจกรรม สื่อ เพื่อพัฒนาทักษะการคิด การทดลองกิจกรรม การแก้ปัญหา การช่วยเหลือ การส่งเสริมพัฒนาการเด็กได้อย่างรอบด้าน การประยุกต์ใช้ความรู้เรื่องระบบประสาทวิทยาการศึกษากับการออกแบบสื่อและของเล่นสำหรับเด็กปฐมวัย การประยุกต์ใช้ความรู้เรื่องระบบประสาทวิทยาการศึกษากับการออกกิจกรรมส่งเสริมทักษะการคิดสำหรับเด็กปฐมวัย |
3 (2-2-5) |
6400241 |
เทคโนโลยีสารสนเทศด้านการศึกษาปฐมวัยสำหรับครูและผู้ปกครองแนวคิด หลักการ และทฤษฎี เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศด้านการศึกษาปฐมวัยสำหรับครูและผู้ปกครอง งานวิจัยที่เกี่ยวข้องในประเทศและต่างประเทศ การประยุกต์ใช้ความรู้เรื่องระบบประสาทวิทยาการศึกษา การออกแบบสื่อ และของเล่นสำหรับเด็กปฐมวัยที่สอดคล้องกับพัฒนาการความแตกต่างระหว่างบุคคลของเด็กปฐมวัย ตามหลักการและปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การทดลอง การวัด และประเมินผล เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย |
3 (2-2-5) |
6400242 |
การมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชนในการจัดการศึกษาปฐมวัยแนวคิด หลักการ และทฤษฎี เกี่ยวกับ ผู้ปกครอง ครอบครัว ชุมชน ท้องถิ่น วิถีชีวิตของเด็กปฐมวัยในบริบทพหุวัฒนธรรม บทบาทผู้ปกครองและชุมชนท้องถิ่นในการพัฒนาเด็กปฐมวัย สิทธิเด็ก งานวิจัยที่เกี่ยวข้องในประเทศและต่างประเทศ การออกแบบ ทดลองใช้และประเมินผล กิจกรรมการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน ในการพัฒนาเด็กปฐมวัย |
3 (2-2-5) |
6400243 |
การต่อยอดองค์ความรู้เพื่อพัฒนานวัตกรรมแนวคิด หลักการ และทฤษฎี นวัตกรรมด้านการศึกษาปฐมวัย รูปแบบนวัตกรรมร่วมสมัยในการพัฒนาเด็กปฐมวัย งานวิจัยในประเทศและต่างประเทศ การพัฒนานวัตกรรมในรูปแบบงานวิจัยด้านการศึกษาปฐมวัย |
3 (2-2-5) |
6400244 |
สัมมนาปัญหาและแนวโน้มในการพัฒนาการศึกษาปฐมวัยในอนาคตแนวคิด หลักการ และทฤษฎีการพัฒนาเด็กปฐมวัย ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาเด็กปฐมวัย สมรรถนะของผู้เรียนระดับปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี งานวิจัยในประเทศและต่างประเทศ การจัดสัมมนาด้านแนวโน้มในการพัฒนาเด็กปฐมวัย |
3 (2-2-5) |
6400245 |
การถอดบทเรียนเพื่อพัฒนาคุณภาพงานตามวิชาชีพแนวคิด หลักการ และทฤษฎี ถอดบทเรียนจากฝึกประสบการณ์ในโรงเรียนแบบเต็มรูป การสร้างเป็นความรู้ในเชิงพัฒนา การถอดบทเรียนของการทำงานของตนเองเชิงคุณภาพด้าน Right View , Right Concept และ Right Action วิเคราะห์ ประเมิน วางแผน ต่อยอดองค์ความรู้ในการพัฒนาวิชาชีพ การพัฒนาตนเองจาการมุมของตนเอง เพื่อนและอาจารย์ เพื่อแก้ปัญหา ช่วยเหลือ ส่งเสริม พัฒนางานในเชิงวิชาชีพของตนเองและเพื่อนๆ การสรุปบทเรียนให้เห็นความแตกต่างของเป้าหมายและผลลัพธ์ที่ได้จริงกับการพัฒนางานตามวิชาชีพที่ดีของตนเองในอนาคต |
2 (1-2-3) |
6400246 |
ศึกษาเปรียบเทียบการศึกษาปฐมวัยแนวคิด หลักการ และทฤษฎีด้านการศึกษาเปรียบเทียบ การศึกษาระดับปฐมวัยในประเทศและต่างประเทศ งานวิจัยในประเทศและต่างประเทศ การต่อยอดเพื่อหาแนวทางในการพัฒนาการจัดการศึกษาระดับปฐมวัย |
3 (2-2-5) |
6400247 |
นาฏลีลาสำหรับเด็กปฐมวัยแนวคิด หลักการ และทฤษฎีนาฏลีลาสำหรับเด็กปฐมวัย นาฏลีลาจากแหล่งเรียนรู้ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ การออกแบบ ทดลองใช้ และการประเมินผลการจัดกิจกรรมนาฏลีลาและผลิตสื่อประกอบกิจกรรมสำหรับเด็กปฐมวัย |
3 (2-2-5) |
6400248 |
ศิลปะสำหรับครูปฐมวัยแนวคิด หลักการ และทฤษฎีทางศิลปะสำหรับครูปฐมวัย การเขียนภาพลายเส้น เทคนิคการวาดภาพ ศิลปะงานกระดาษในรูปแบบต่าง ๆ การสร้างภาพจากต้นแบบ การจัดป้ายนิเทศ การใช้ความรู้ทางศิลปะในการออกแบบสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย |
2 (1-2-3) |
6400249 |
สมรรถนะวิชาชีพสำหรับครูปฐมวัยแนวคิด หลักการ และทฤษฎีด้านสมรรถนะความเป็นครู คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพครู ปรัชญาการศึกษาและการประกันคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษา ภาษาและวัฒนธรรมสำหรับครูปฐมวัย จิตวิทยาทางการศึกษา หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา การจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาปฐมวัย การวัดผลประเมินผลการเรียนรู้ การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ทางการศึกษาปฐมวัย |
3 (2-2-5) |
6400250 |
ภาษาและเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับครูปฐมวัยสมรรถนะทักษะและกระบวนการสื่อสาร หลักการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร การฝึกปฏิบัติการใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เพื่อพัฒนาสมรรถภาพความเป็นครูปฐมวัย การฟัง การพูด การอ่านและการเขียนด้านการศึกษาปฐมวัย ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับ ครูปฐมวัย การใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ การใช้ซอฟต์แวร์ การประมวลผลข้อมูล การจัดระบบฐานข้อมูล การจัดการและการใช้ข้อมูลอินเตอร์เน็ต การสื่อสารข้อมูลระบบเครือข่ายทางด้านการศึกษาปฐมวัย |
3 (2-2-5) |
6400251 |
การจัดการชั้นเรียนสมัยใหม่สำหรับครูปฐมวัยหลักการ แนวคิด ทฤษฎีจิตวิทยาพัฒนาการ จิตวิทยาการเรียนรู้ การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่เป็นเด็กปกติและเด็กปฐมวัยกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ ออกแบบและการเลือกใช้สื่อนวัตกรรมที่ส่งเสริมการพัฒนาในศตวรรษที่ 21 จัดสภาพแวดล้อมสถานศึกษา วางแผนการทำงานร่วมกับผู้ปกครอง ชุมชน ร่วมถึงบริหารจัดการชั้นเรียนได้หลากหลาย และสอดคล้องกับเป้าหมายของหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 และการประกันคุณภาพในระดับปฐมวัย |
3 (2-2-5) |