รหัสวิชา | ชื่อวิชา | หน่วยกิต |
---|---|---|
6300466 |
แคลคูลัส 1ลิมิตและความต่อเนื่องของฟังก์ชัน อนุพันธ์ของฟังก์ชันพีชคณิตและฟังก์ชันอดิศัยหลักเกณฑ์โลปีตาล ปริพันธ์ของฟังก์ชันพีชคณิตและฟังก์ชันอดิศัย การประยุกต์ของอนุพันธ์และปริพันธ์ |
3 (3-0-6) |
6301328 |
อิเล็กทรอนิกส์ทฤษฎีพื้นฐานทางไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ โครงสร้างเชิงสัญลักษณ์และชนิดของตัวต้านทาน ตัวเก็บประจุ ตัวเหนี่ยวนำ คุณสมบัติทางฟิสิกส์ของอุปกรณ์สารกึ่งตัวนำ การเคลื่อนที่ของประจุนำไฟฟ้าในสารกึ่งตัวนำ การป้อนไบแอสและกราฟความสัมพันธ์ระหว่างกระแส-แรงดันไฟฟ้าของอุปกรณ์ไดโอด การทำงานของไดโอดในวงจรเรียงกระแส การทำงานเชิงกายภาพและแบบจำลองวงจรขยายพื้นฐานของทรานซิสเตอร์แบบไบโพลาร์ ทรานซิสเตอร์แบบเฟต วงจรออปแอมป์เชิงเส้นและการใช้งานวงจรขยายแรงดันไฟฟ้า |
3 (3-0-6) |
6301329 |
ปฏิบัติการอิเล็กทรอนิกส์ปฏิบัติการอ่านค่าตัวต้านทาน ตัวเก็บประจุ ตัวเหนี่ยวนำ อุปกรณ์สารกึ่งตัวนำ ระบุการป้อนกระแสไบแอสและกราฟความสัมพันธ์ระหว่างกระแส-แรงดันไฟฟ้า วงจรเรียงกระแส วงจรขยายของทรานซิสเตอร์แบบไบโพลาร์ ทรานซิสเตอร์แบบเฟต วงจรออปแอมป์เชิงเส้น วงจรขยายแรงดันไฟฟ้า |
2 (0-4-2) |
6301330 |
ปฏิบัติการเขียนแบบไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์การอ่านและเขียนตามระบบเอสไอ การอ่านและเขียนแบบงานเดินสายไฟและระบบแสงสว่าง ระบบไฟฟ้ากำลัง งานเครื่องกล งานควบคุมระบบ One line Diagram, Schematic Diagram, Wiring Diagram การอ่านและเขียนสัญลักษณ์ของอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ การอ่านและการระบุค่าอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ |
2 (0-4-2) |
6301331 |
ปฏิบัติการเครื่องวัดไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์การใช้งานเครื่องมือวัดตามมาตรฐานการวัดแบบสากล การอ่านค่าความผิดพลาดในการวัด หลักการใช้งานของเครื่องวัดไฟฟ้าทั้งกระแสตรงและกระแสสลับ เครื่องวัดแรงดันไฟฟ้า เครื่องวัดกระแสไฟฟ้า เครื่องวัดความต้านทาน มัลติมิเตอร์ เครื่องวัดพลังงานไฟฟ้า เครื่องวัดกำลังไฟฟ้า เครื่องวัดความเร็วรอบ เครื่องวัดความถี่ เครื่องวัดเพาเวอร์แฟคเตอร์ เครื่องวัดแบบบริดจ์ ออสซิลโลสโคป มิเตอร์แบบดิจิตอล |
2 (0-4-2) |
6301683 |
ภาษาอังกฤษในงานอุตสาหกรรมทักษะภาษาอังกฤษในงานอุตสาหกรรม จากสื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ สื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ บทความเกี่ยวกับอุตสาหกรรม คู่มือการใช้เครื่องมือ การใช้อุปกรณ์ เครื่องจักร ผลิตภัณฑ์ ฝึกการใช้พจนานุกรมเพื่อการอ่าน ฝึกทักษะในการอ่าน บันทึก สรุปตีความ ขยายความ รวมทั้งการนาเสนอด้วยวาจา และลายลักษณ์อักษร โดยเน้นกระบวนการทักษะสัมพันธ์ทางภาษา |
3 (3-0-6) |
6301684 |
ภาษาอังกฤษในงานวิศวกรรมทักษะการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการนำไปใช้กับนวัตกรรมทางเทคโนโลยีไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ การเขียนเรื่องราว เนื้อหา เกี่ยวกับไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ บทความงานวิจัย ฝึกทักษะการอ่านตำราเรียนภาษาอังกฤษ สรุปความจากเรื่องที่อ่านได้ รวมทั้งวิเคราะห์ นำเสนอข้อมูล ตอบคำถาม และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในรูปแบบบรรยายเป็นลายลักษณ์อักษร หรือด้วยวาจาเป็นภาษาอังกฤษได้ |
3 (3-0-6) |
6301685 |
ฟิสิกส์เบื้องต้นการวัดและความแม่นยำในการวัด ระบบสเกลาร์และเวกเตอร์ การเคลื่อนที่ในลักษณะต่างๆ โมเมนตัมและกฎการเคลื่อนที่ แรงและผลของแรง กำลัง งาน และพลังงาน การเคลื่อนที่ ฮาร์มอนิกส์ การเคลื่อนที่แบบคลื่น คลื่นกล สมบัติของสสาร ปรากฏการณ์การแผ่ความร้อน อุณหพลศาสตร์ |
3 (3-0-6) |
6301686 |
การติดตั้งไฟฟ้าการป้องกันอุบัติภัยในการปฏิบัติงานติดตั้งไฟฟ้า และวัสดุในงานติดตั้งไฟฟ้าในอาคาร ประเภทของการติดตั้งการเดินสายไฟฟ้าระบบไฟฟ้า วิธีการเดินสายดิน การตรวจสอบวงจรและซ่อมบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าในอาคาร มาตรฐานการติดตั้งอุปกรณ์ป้องกัน เลือกใช้วัสดุ อุปกรณ์ให้เหมาะสมกับงาน จากการคำนวณและตาราง การติดตั้งอุปกรณ์ เดินสายไฟฟ้าด้วยเข็มขัดรัดสาย อุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้ารั่ว โหลดเซ็นเตอร์ เซฟตี้สวิตซ์ ติดตั้งและเดินสายไฟฟ้า |
3 (3-0-6) |
6301687 |
ปฏิบัติการติดตั้งไฟฟ้าการจ่ายกำลังระบบไฟฟ้า ชนิดและการใช้งานของสายไฟฟ้า การต่อสายไฟฟ้าแบบต่างๆ การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์การติดตั้งการเดินสายไฟฟ้าและระบบไฟฟ้า ด้วยเข็มขัดรัดสาย ท่อร้อยสายไฟ บนผนังไม้และผนังปูน งานติดตั้งสายดิน ตู้โหลดเซ็นเตอร์ เครื่องป้องกันไฟรั่ว ภายในอาคาร |
2 (0-4-2) |
6301688 |
ปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ในงานไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์การปฏิบัติงานระบบคอมพิวเตอร์ในงานไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ การประมวลข้อมูลการนำโปรแกรมมาใช้กับการจัดการอุตสาหกรรม การออกแบบ การค้นหาฐานข้อมูล การเชื่อมต่อระบบข้อมูล ระบบอินเตอร์เน็ตสำหรับโรงงานอุตสาหกรรม การพัฒนางานด้านอุตสาหกรรมในงานไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ |
2 (0-4-2) |
6301755 |
เคมีเบื้องต้นโครงสร้างอะตอม สมบัติของธาตุเรพริเซนเททีฟและทรานซิชัน พันธะเคมี ปริมาณสารสัมพันธ์ แก็ส ของแข็ง ของเหลวและสารละลาย อุณหพลศาสตร์ และเคมีไฟฟ้า |
3 (3-0-6) |
รหัสวิชา | ชื่อวิชา | หน่วยกิต |
---|---|---|
6301333 |
ปฏิบัติการอิเล็กทรอนิกส์และหุ่นยนต์การออกแบบลายวงจรบนแผ่นพีซีบี การออกแบบวงจรขยายสัญญาณรบกวนต่ำ วงจรกำเนิดสัญญาณ วงจรแหล่งจ่ายกำลัง วงจรกรองความถี่ วงจรเปรียบเทียบสัญญาณ วงจรรวมสัญญาณ วงจรพหุคูณสัญญาณ วงจรขยายสัญญาณความถี่ฐานแบบเชิงเส้นและไม่เป็นเชิงเส้น |
2 (0-4-2) |
6301689 |
การวิเคราะห์วงจรไฟฟ้า 1กฎของโอห์ม การต่อวงจรไฟฟ้าแบบต่างๆ กฎของเคอร์ชอฟ แรงเคลื่อนไฟฟ้าเหนี่ยวนำ ระบบไฟฟ้ากระแสสลับหนึ่งเฟสและสามเฟส คุณสมบัติของตัวต้านทาน ขดลวดเหนี่ยวนำและตัวเก็บประจุในวงจรไฟฟ้ากระแสตรงและกระแสสลับ ตัวประกอบกำลังและการปรับปรุงค่าตัวประกอบกำลัง การวิเคราะห์วงจรไฟฟ้าแบบเฟสเดียวและสามเฟส |
3 (3-0-6) |
6301690 |
ปฏิบัติการวิเคราะห์วงจรไฟฟ้า 1วัดค่าความต้านทาน, แรงดันและกระแส การหาค่ารีแอคแตนซ์ อิมพีแดนซ์และแอทมิตแตนซ์ของวงจร ปฏิบัติการต่อวงจรไฟฟ้ากระแสตรงและกระแสสลับ |
2 (0-4-2) |
6301697 |
คณิตศาสตร์วิศวกรรมไฟฟ้าจำนวนเชิงซ้อน วิเคราะห์ฟังก์ชันเชิงซ้อน การส่งคงรูป อินทิกรัลเชิงซ้อน และทฤษฎีตกค้าง การแปลงฟูเรียร์และลาปลาซในทางไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ การประยุกต์ใช้งานในอุตสาหกรรม สมการผลต่าง อนุพันธ์ย่อยและปัญหาค่าขอบเขต วิธีการแยกตัวแปร การแก้สมการคลื่น สมการการซึมซาบ และสมการลาปลาซ |
3 (3-0-6) |
6301699 |
ปฏิบัติการอิเล็กทรอนิกส์กำลังอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์กำลัง ไดโอดกำลัง เอสซีอาร์ จีทีโอ ทรานซิสเตอร์กำลังชนิดไบโพลาร์ มอสเฟต ไอจีบีที วงจรขยายกำลัง วงจรเรคติไฟเออร์ วงจรคอนเวอร์เตอร์และวงจรอินเวอร์เตอร์ วงจรควบคุมความเร็วมอเตอร์ไฟฟ้าสำหรับรถไฟฟ้าและการประยุกต์ใช้งานอิเล็กทรอนิกส์กำลังในงานอุตสาหกรรม |
2 (0-4-2) |
6301700 |
ปฏิบัติการโปรแกรมคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการเขียนโปรแกรมด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ การคำสั่ง ชนิดตัวแปร ฟังก์ชัน การเขียนโปรแกรมในปัญหาต่างๆ คำสั่ง คำนวณ แสดงผล ทำซ้ำ เงื่อนไข และการสร้างโปรแกรมย่อย |
2 (0-4-2) |
6301701 |
ปฏิบัติการระบบนิวแมติกส์ระบบนิวเมติกส์ สัญลักษณ์ โครงสร้าง ลำดับการทำงานและการทดสอบอุปกรณ์นิวเมติกส์ การกำหนดรหัสของอุปกรณ์ในระบบนิวเมติกส์ การเขียนวงจรควบคุม วงจรเรียงลำดับ วงจรหน่วงเวลา วงจรควบคุมระบบนิวเมติกส์แบบกึ่งอัตโนมัติและแบบอัตโนมัติ การออกแบบวงจรนิวเมติกส์ไฟฟ้า การออกแบบวงจรนิวเมติกส์ไฟฟ้าร่วมกับการทำงานด้วยพีแอลซี |
2 (0-4-2) |
6301702 |
โปรแกรมสำเร็จรูปในงานไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์โครงสร้างและขั้นตอนการใช้งานโปรแกรมสำเร็จรูปด้านไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ การวิเคราะห์และออกแบบระบบไฟฟ้า การจำลองผลการทำงานของวงจรอิเล็กทรอนิกส์ การนำเสนอผลงานด้วยระบบสามมิติ การผลิตสื่อ การสืบค้นข้อมูลและสารสนเทศ |
2 (0-4-2) |
6301703 |
โปรแกรมเมเบิลลอจิกคอนโทรลเลอร์พื้นฐานไดอะแกรมรีเลย์ โครงสร้างของพีแอลซี ภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมพีแอลซีตามมาตรฐาน หลักการเขียนแลดเดอร์ไดอะแกรม คำสั่งควบคุมพื้นฐานของพีแอลซี การเขียนและทดสอบโปรแกรมพีแอลซี ระบบสื่อสารข้อมูลของพีแอลซี หลักการทำงานร่วมกันของระบบพีแอลซีกับระบบเอชเอ็มไอ การประยุกต์ใช้งานพีแอลซีในงานอุตสาหกรรม |
3 (3-0-6) |
6301704 |
ปฏิบัติการโปรแกรมเมเบิลลอจิกคอนโทรลเลอร์การเขียนไดอะแกรมของรีเลย์ ภาษาคำสั่งบูลลีน ภาษาคำสั่งแลดเดอร์ไดอะแกรม การเขียนโปรแกรมควบคุมอุปกรณ์ตามกระบวนการ การควบคุมมอเตอร์ไฟฟ้าด้วยโปรแกรมเมเบิลลอจิกคอนโทรลเลอร์ การประยุกต์โปรแกรมเมเบิลลอจิกคอนโทรลเลอร์ในอุตสาหกรรม |
2 (0-4-2) |
6301709 |
การออกแบบวงจรอิเล็กทรอนิกส์วงจรสมมูลของวงจรขยายออปแอมป์ การออกแบบวงจรเฟสล็อกลูป การออกแบบวงจรขยายสัญญาณความถี่ฐานแบบเชิงเส้นและไม่เป็นเชิงเส้น การออกแบบวงจรเปรียบเทียบสัญญาณ การออกแบบวงจรรวมสัญญาณ การออกแบบวงจรพหุคูณสัญญาณ การออกแบบวงจรกำเนิดสัญญาณ การออกแบบวงจรแหล่งจ่ายกำลัง การออกแบบวงจรกรองความถี่ออปแอมป์ ตัวต้านทาน ตัวเก็บประจุ วงจรขยายสัญญาณรบกวนต่ำ การออกแบบลายวงจรบนแผ่นพีซีบี |
3 (3-0-6) |
6301710 |
ปฏิบัติการออกแบบวงจรอิเล็กทรอนิกส์วงจรขยายออปแอมป์ วงจรขยายสัญญาณความถี่ฐาน วงจรกำเนิดสัญญาณ วงจรรวมสัญญาณ วงจรแหล่งจ่ายกำลัง วงจรพหุคูณสัญญาณ วงจรเปรียบเทียบสัญญาณ วงจรกรองความถี่ออปแอมป์ วงจรขยายสัญญาณรบกวนต่ำ |
2 (0-4-2) |
6301711 |
ปฏิบัติการออกแบบวงจรดิจิตอลระบบตัวเลข เลขฐานต่างๆ การบวก ลบ คูณ หาร และการเปลี่ยนแปลงฐานเลขระบบต่างๆ ลอจิกเกทชนิดต่างๆ หลักการพีชคณิตบูลลีน ตารางความจริง การออกแบบวงจรคอมบิเนชั่นลอจิก การออกแบบวงจรลอจิกเกต โดยใช้ไอซีประเภทต่างๆ และการประยุกต์ใช้งานการออกแบบวงจรโดยใช้ผังคาร์โนห์ ฟลิบฟลอปชนิดต่างๆ วงจรนับ วงจรเลื่อนข้อมูลการออกแบบวงจรซีเควนเชียล และวงจรพัลส์ |
2 (0-4-2) |
6301712 |
เซนเซอร์และทรานสดิวเซอร์ในอุตสาหกรรมทฤษฎีการวัดเบื้องต้น สัญลักษณ์และคุณลักษณะเฉพาะของเครื่องมือวัดชนิดต่างๆ โครงสร้างและคุณสมบัติของเซ็นเซอร์และทรานสดิวเซอร์ที่ใช้ในอุตสาหกรรมสำหรับการวัดความดัน วัดการไหล วัดระดับ วัดอุณหภูมิและการวัดค่าความเป็นกรด-ด่าง ตัวตรวจจับระยะใกล้ การแปลงสัญญาณจากเซนเซอร์และทรานสดิวเซอร์เป็นสัญญาณมาตรฐาน |
3 (3-0-6) |
6301713 |
ปฏิบัติการเซนเซอร์และทรานสดิวเซอร์ในอุตสาหกรรมเครื่องมือวัดในงานอุตสาหกรรม เซ็นเซอร์และทรานสดิวเซอร์ในอุตสาหกรรม วัดความดัน วัดการไหล วัดระดับ วัดอุณหภูมิและการวัดค่าความเป็นกรด-ด่าง การตรวจจับวัตถุ |
2 (0-4-2) |
6301714 |
ระบบหุ่นยนต์พื้นฐานระบบฮาร์ดแวร์และการใช้งานโปรแกรมไมโครคอนโทรเลอร์เกี่ยวกับระบบตัวเลขและการจัดการข้อมูล การใช้งานพอร์ตอินพุตและเอาต์พุตของไมโครคอนโทรเลอร์ การคำสั่งด้วยสัญณาณเสียง ไดโอดเปล่งแสง ตัวเลข และตัวอักษร ขับมอเตอร์แบบต่างๆ การเขียนและพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ การควบคุมการขับเคลื่อนหุ่นยนต์เดินตามแสง และควบคุมการตรวจจับการชนวัตถุ |
3 (3-0-6) |
6301715 |
ปฏิบัติการระบบหุ่นยนต์พื้นฐานระบบฮาร์ดแวร์ โปรแกรมไมโครคอนโทรเลอร์ การจัดการข้อมูลพอร์ตอินพุตและเอาต์พุตของไมโครคอนโทรเลอร์ ไดโอดเปล่งแสง ระบบตัวเลขและตัวอักษร ขับมอเตอร์ การขับเคลื่อนหุ่นยนต์และการตรวจจับวัตถุ |
2 (0-4-2) |
6301716 |
ไมโครโปรเซสเซอร์และไมโครคอนโทรลเลอร์โครงสร้างของคอมพิวเตอร์ สถาปัตยกรรมของไมโครโปรเซสเซอร์และไมโครคอนโทรลเลอร์ คำสั่ง การเขียนโปรแกรมแอสเซมบลี ลำดับตารางเวลา บรรทัดของคำสั่ง การต่อเพิ่มหน่วยความจำ คำสั่งของไมโครคอนโทรลเลอร์ การประยุกต์ใช้งาน การพัฒนาเทคโนโลยีไมโครโปรเซสเซอร์ในอนาคต การเลือกใช้งานไมโครโปรเซสเซอร์ให้เหมาะกับการใช้งาน การเขียนโปรแกรมควบคุม การออกแบบระบบไมโครโปรเซสเซอร์ |
3 (3-0-6) |
6301717 |
ปฏิบัติการไมโครโปรเซสเซอร์และไมโครคอนโทรลเลอร์ปฏิบัติการเกี่ยวกับไมโครโปรเซสเซอร์ได้แก่การใช้งานชุดฝึกทดลองไมโครโปรเซสเซอร์ ชุดคำสั่ง และการเขียนโปรแกรมภาษาแอสแซมบลี้การอินเตอร์เฟสไมโครโปรเซสเซอร์กับอุปกรณ์อินพุท-เอาท์พุท และกับหน่วยความจำ การดีโค๊ดแอดเดรส การพัฒนาซอฟแวร์และฮาร์ดแวร์สำหรับระบบ ไมโครโปรเซสเซอร์ และการปฏิบัติเกี่ยวกับไมโครคอนโทรลเลอร์ที่นิยมใช้งานในภาคอุตสาหกรรมในปัจจุบัน |
2 (0-4-2) |
6301719 |
หัวข้อพิเศษทางอิเล็กทรอนิกส์และหุ่นยนต์ 1ศึกษาหัวข้อและวิวัฒนาการด้านอิเล็กทรอนิกส์และหุ่นยนต์ใหม่ๆ ที่น่าสนใจ การเขียนโครงการวิจัยและการเขียนรายงานวิจัย จริยธรรมในการทำงานวิจัย หัวข้อในแต่ละภาคการศึกษาอาจจะแตกต่างกันไป |
2 (0-4-2) |
6301720 |
หัวข้อพิเศษทางอิเล็กทรอนิกส์และหุ่นยนต์ 2การจัดทำปัญหาหัวข้อพิเศษ ที่สอดคล้องสอดคล้องกับแขนงวิชาอิเล็กทรอนิกส์และหุ่นยนต์ การใช้นวัตกรรมเชิงเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ ตามความเห็นของอาจารย์ที่ปรึกษาและสาขาวิชา ที่ก่อให้เกิดการพัฒนาสู่ชุมชนและโรงงานอุตสาหกรรม โดยมีความเหมาะสม ภายใต้การควบคุมของอาจารย์ผู้สอนและอาจารย์ที่ปรึกษา |
2 (0-4-2) |
รหัสวิชา | ชื่อวิชา | หน่วยกิต |
---|---|---|
6301705 |
ปฏิบัติการระบบควบคุมอัตโนมัติระบบควบคุมแบบอัตโนมัติผ่านเครื่องควบคุมแบบตรรกะที่โปรแกรมได้ การเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อินพุตและเอาต์พุต อุปกรณ์ตรวจจับ สวิตช์ โซลินอด์ยวาล์ว การเขียนโปรแกรมและการออกแบบระบบควบคุม ปฏิบัติการวิธีการเชื่อมต่อสื่อสารแบบเครือข่ายระบบควบคุม การกระจาย และการรวมศูนย์การควบคุม การควบคุมจากระยะไกล |
2 (0-4-2) |
6301706 |
ระบบควบคุมโดยใช้คอมพิวเตอร์โครงสร้างพื้นฐานของระบบควบคุมที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ควบคุมหลักแบบเวลาจริง ภาพรวมของกระบวนการในการพัฒนาระบบเครื่องมือในการจำลองระบบ แบบจำลองเบื้องต้น การสร้างและวางระบบจำลอง พฤติกรรมอิมพลีเมนเทชันโมเดล การใช้แผนภูมิแบบโครงสร้างในการวางลำดับขั้นของระบบ การเปลี่ยนโครงข่ายของกระบวนการ แผนผังแสดงสภาวะให้เป็นแผนภูมิแบบโครงสร้าง กรณีศึกษาการพัฒนาระบบควบคุมโดยคอมพิวเตอร์ |
2 (0-4-2) |
6301727 |
การจัดการงานวิศวกรรมด้วยคอมพิวเตอร์ทฤษฎีและปฏิบัติคอมพิวเตอร์ช่วยออกแบบ คอมพิวเตอร์สำหรับการผลิตในโรงงาน การประยุกต์ใช้ในการออกแบบวงจรลอจิก วงจรบอร์ด องค์ประกอบและระบบเชิงกล การอินเตอร์เฟสระหว่างคอมพิวเตอร์ช่วยออกแบบ และการควบคุมเชิงตัวเลขด้วยคอมพิวเตอร์ หุ่นยนต์ เทคโนโลยีโครงข่าย |
3 (3-0-6) |
6301728 |
ระบบปัญญาประดิษฐ์สำหรับหุ่นยนต์การแทนความรู้และการหาเหตุผล ตรรกศาสตร์คลุมเครือ ตัวกระทำ กลยุทธ์การค้นหา การวางแผน การหา ขั้นตอนวิธีเชิงพันธุกรรม ต้นไม้ตัดสินใจ การเรียนรู้แบบเบย์ โครงข่ายประสาทเทียม การเรียนรู้แบบเสริมกำ ลัง การประยุกต์ใช้ปัญญาประดิษฐ์ในหุ่นยนต์และเครื่องจักร |
3 (3-0-6) |
6301732 |
การออกแบบระบบการเชื่อมต่อทุกสรรพสิ่งหลักการและการวิเคราะห์ระบบไอโอที การออกแบบระบบไอโอทีร่วมกับฮาร์แวร์ อุปกรณ์เครือข่ายเซ็นเซอร์และการเชื่อมต่อ ชั้นประมวลผลก้อนเมฆ การประยุกต์ใช้งานระบบไอโอทีกับระบบตรวจจับอัจฉริยะ ระบบกริดไฟฟ้าอัจฉริยะ บ้านอัจฉริยะ โรงงานอัจฉริยะ เกษตรอัจฉริยะ และระบบขนส่งอัจฉริยะ |
3 (3-0-6) |
6301736 |
เทคโนโลยีวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ระบบอิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์สารกึ่งตัวนำ การไหลของกระแสในสารกึ่งตัวนำ รอยต่อพีเอ็น ความต้านทานและความจุไฟฟ้าของรอยต่อพีเอ็น การพังทลายของรอยต่อพีเอ็นไดโอดชนิดต่างๆ วงจรไบอัสไฟตรงของทรานซิสเตอร์ วงจรขยายและสวิตช์ วงจรขยายสัญญาณขนาดเล็ก ทรานซิสเตอร์แบบมอสเฟต แหล่งจ่ายไฟเลี้ยงและอิเล็กทรอนิกส์กำลัง |
3 (3-0-6) |
6301737 |
วิศวกรรมการควบคุมสำหรับวิทยาการหุ่นยนต์แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ของระบบหุ่นยนต์อย่างง่าย ระบบควบคุมแบบวงปิดและวงเปิด ฟังก์ชันถ่ายโอน การวิเคราะห์และออกแบบระบบควบคุมในโดเมนเวลาและโดเมนความถี่ การพล็อตโบด เสถียรภาพของระบบ ตัวควบคุมแบบพีไอดีและแบบพีไอดีปรับปรุง การวางโพล ตัวควบคุมแบบกำลังสองน้อยที่สุด ตัวสังเกตค่าสถานะ การประยุกต์ใช้ตัวควบคุมแบบต่างๆ กับระบบหุ่นยนต์ |
3 (3-0-6) |
6301738 |
ระบบสมองกลฝังตัวสำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้าอัจฉริยะการออกแบบระบบสมองกลฝังตัว โครงสร้างและอุปกรณ์ต่อพ่วงสำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้า กระบวนการและเครื่องมือสำหรับการพัฒนาซอฟต์แวร์ข้ามแพลตฟอร์ม การเขียนโปรแกรมมัลติทาสกิ้งด้วยระบบปฏิบัติการเรียลไทม์เทคนิคการออกแบบร่วมกับฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์กรณีศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาระบบสมองกลฝังตัวในเครื่องใช้ไฟฟ้า |
3 (3-0-6) |
6301739 |
วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และเทคโนโลยีไร้สายความรู้ทางวิศวกรรมในการผลิตระบบสารสนเทศและระบบการสื่อสาร สำหรับอุตสาหกรรมหรือองค์กรวิสาหกิจที่มีสถาปัตยกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและสารสนเทศขนาดใหญ่ เช่น อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์สำหรับองค์กรวิสาหกิจขนาดใหญ่ ธุรกิจสารสนเทศเพื่อการสื่อสารระดับประเทศ ระบบข้อมูลสารสนเทศดาวเทียม อุตสาหกรรมเกมและศึกษาบันเทิง ระบบเครือข่ายองค์กรวิสาหกิจ วิศวกรรมซอฟต์แวร์ของวิสาหกิจขนาดใหญ่ |
3 (3-0-6) |
6301740 |
การโปรแกรมคอมพิวเตอร์ทางด้านหุ่นยนต์ฟังก์ชัน มอดูลการใช้ซ้ำและการใช้ในระบบซอฟต์แวร์หลายมอดูล คลาสและอ็อบเจกต์ หลักมูลของการโปรแกรมเชิงวัตถุ การโปรแกรมแบบขับเคลื่อนด้วยเหตุการณ์ ส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้ การนำเสนอข้อมูล ระบบฐานข้อมูลเบื้องต้น |
3 (3-0-6) |
6301741 |
ระบบการควบคุมแบบป้อนกลับระบบควบคุมการปิดและเปิด แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ของระบบ ฟังก์ชันโอนย้าย แผนภาพกรอบ แผนภาพการไหลของสัญญาณ หลักการการควบคุมแบบป้อนกลับ การวิเคราะห์เสถียรภาพ การตอบสนองทางความถี่ และการออกแบบระบบควบคุม การวัดเบื้องต้นและคุณลักษณะการวัดคุม คุณลักษณะของกระบวนการจริง เครื่องควบคุมเชิงเส้น คุณลักษณะของเครื่องควบคุม อุปกรณ์วัดป้อนกลับ อุปกรณ์ส่วนสุดท้ายในระบบควบคุม เครื่องควบคุมไม่ใช่เชิงเส้น ระบบหลายวงควบคุม |
3 (3-0-6) |
6301742 |
การออกแบบระบบอัตโนมัติทางอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลไฟฟ้า ระบบนิวแมติกและระบบนิวแมติกไฟฟ้า ระบบไฮดรอลิกและระบบไฮดรอลิกไฟฟ้า การโปรแกรมเชิงตรรกะควบคุมสำหรับเครื่องจักรกลไฟฟ้า ระบบนิวแมติกไฟฟ้าและระบบไฮดรอลิกไฟฟ้า การประยุกต์และการออกแบบระบบอัตโนมัติสำหรับระบบการผลิต |
3 (3-0-6) |
6301743 |
หุ่นยนต์อุตสาหกรรมและการประยุกต์ในกระบวนการผลิตหุ่นยนต์อุตสาหกรรม กลไกของแขนกลในอุตสาหกรรม อุปกรณ์ขับและอุปกรณ์ตรวจรู้ ระบบและองค์ประกอบการควบคุม การสื่อสารในระบบหุ่นยนต์อุตสาหกรรม การปฏิบัติการและการโปรแกรมหุ่นยนต์อุตสาหกรรมด้วยแป้นการสอนตำแหน่ง การสร้างแบบจำลองงานและการจำลองสถานการณ์ การออกแบบและการจำลองระบบหุ่นยนต์อุตสาหกรรมสำหรับการประยุกต์ในกระบวนการผลิต |
3 (3-0-6) |
6301744 |
การประมวลสัญญาณสัญญาณและระบบแบบดิสครีท, หลักการสุ่มสัญญาณ, หลักการเปลี่ยนสัญญาณแอนะล็อกมาเป็นสัญญาณดิจิตอล, หลักการเปลี่ยนสัญญาณดิจิตอลมาเป็นสัญญาณแอนะล็อก, การประมวลสัญญาณดิจิตอลตามเวลา, การประมวลสัญญาณดิจิตอลตามความถี่, การแปลงฟูเรียร์แบบดิสครีต, ระบบดีสครีตแบบ FIR และแบบ IIR, เสถียรภาพของระบบดิจิตอล, การแปลงแบบ Z, คุณสมบัติของการแปลงแบบ Z และการใช้งาน, การออกแบบระบบดิจิตอล, การออกแบบฟิลเตอร์แบบ IIR, การออกแบบฟิลเตอร์แบบ FIR, หลักการหาการแปลงฟูเรียร์แบบเร็ว |
3 (3-0-6) |
6301745 |
การประยุกต์ใช้งานไมโครคอนโทรลเลอร์การประยุกต์ใช้งานระบบควบคุมด้วยไมโครคอนโทรลเลอร์ วงจรสวิตช์ชิ่ง การสื่อสารผ่านพอร์ตอนุกรม RS-232 และพอร์ตขนาน การแสดงผลผ่านอุปกรณ์เซเว่นเซกเมนต์ การแสดงผลผ่านจอแอลซีดี ควบคุมสเต็ปมอเตอร์ที่โปรแกรมได้ ระบบควบคุมอัตโนมัติโดยใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ ควบคุมการทำงานระบบจักรกล แขนกล ระบบโทรศัพท์ ระบบสื่อสาร อุปกรณ์ทรานสดิวเซอร์ สำหรับในชีวิตประจำวัน การประยุกต์ใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ร่วมกับอุปกรณ์ควบคุมสวิตซ์ระดับแรงดันไฟฟ้าสูง |
3 (3-0-6) |
6301746 |
การออกแบบวงจรพัลส์และวงจรกรองความถี่หลักการ วงจรแปลงรูปสัญญาณแบบต่างๆ ชนิดและคุณสมบัติของวงจรกรองความถี่ วงจรกรองความถี่แบบแอนะล็อกที่ใช้อุปกรณ์แบบพาสซีฟและแอ็กตีฟในการวิเคราะห์และสังเคราะห์ การประมาณวงจรกรองความถี่แบบบัตเตอร์เวิธร์ เชบีเชฟและแบบอื่นๆ เทคนิคการวิเคราะห์และสังเคราะห์วงจรกรองความถี่ การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการวิเคราะห์และออกแบบวงจรกรองความถี่ |
3 (3-0-6) |
รหัสวิชา | ชื่อวิชา | หน่วยกิต |
---|---|---|
6301751 |
การเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพอิเล็กทรอนิกส์และหุ่นยนต์ส่งเสริมให้จัดกิจกรรม เพื่อเตรียมความพร้อมของผู้เรียน ก่อนเข้าสู่การฝึกประสบการณ์วิชาชีพทางด้านอิเล็กทรอนิกส์ การปลูกฝังในการพัฒนาตัวผู้เรียน ให้มีความรู้ ทักษะ เจตคติ แรงจูงใจ และคุณลักษณะที่เหมาะสมกับวิชาชีพ ตลอดจนแนวทางและโอกาสของการประกอบอาชีพ โดยการกระทำในสถานการณ์ หรือรูปแบบต่างๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับงานในวิชาชีพนั้น |
1 (0-2-1) |
6301752 |
การฝึกประสบการณ์วิชาชีพอิเล็กทรอนิกส์และหุ่นยนต์กำหนดให้นักศึกษาเข้าสู่การฝึกประสบการณ์วิชาชีพอิเล็กทรอนิกส์ในสถานประกอบหรือโรงงานอุตสาหกรรมที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวกับงานด้านอิเล็กทรอนิกส์อุตสาหกรรม ไม่น้อยกว่า 320 ชั่วโมง โดยได้รับความเห็นชอบจากกรรมการของสาขาวิชา และต้องมีการบันทึกผลการปฏิบัติงาน พร้อมนำเสนอต่อกรรมการของสาขาวิชาเมื่อฝึกประสบการณ์วิชาชีพเสร็จสิ้น |
5 (300) |
6301753 |
การเตรียมสหกิจศึกษาวิชาชีพอิเล็กทรอนิกส์และหุ่นยนต์แส่งเสริมและจัดกิจกรรมให้ผู้เรียน เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่ระบบสหกิจศึกษาวิชาชีพวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ กระบวนการของสหกิจศึกษา ระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง ความรู้พื้นฐานและเทคนิคในการสมัครงานอาชีพ การพัฒนาบุคลิกภาพ ระบบการบริหารคุณภาพในสถานประกอบการ เทคนิคการนำเสนอ การเขียนรายงาน |
0 (30 ชั่วโมง) |
6301754 |
สหกิจศึกษาวิชาชีพอิเล็กทรอนิกส์และหุ่นยนต์ให้นักศึกษาไปปฏิบัติงานในสถานประกอบการ ไม่น้อยกว่า 16 สัปดาห์ โดยนักศึกษามีหน้าที่รับผิดชอบในหน่วยงานเสมือนหนึ่งเป็นพนักงานชั่วคราวของสถานประกอบการ โดยความร่วมมือในการจัดกระบวนการเรียนรู้อย่างเป็นระบบร่วมกันกับสาขาวิชา โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการสาขาวิชา และมีกระบวนการนิเทศที่เหมาะสม เมื่อเสร็จสิ้นการปฏิบัติงาน นักศึกษาต้องจัดทำรายงานและนำเสนอผลการปฏิบัติงาน แต่นักศึกษาจะต้องผ่านกระบวนการเตรียมความพร้อมก่อนไปสหกิจศึกษาไม่ต่ำกว่า 30 ชั่วโมง |
6 (16 สัปดาห์) |