รหัสวิชา | ชื่อวิชา | หน่วยกิต |
---|---|---|
6300466 |
แคลคูลัส 1ลิมิตและความต่อเนื่องของฟังก์ชัน อนุพันธ์ของฟังก์ชันพีชคณิตและฟังก์ชันอดิศัยหลักเกณฑ์โลปีตาล ปริพันธ์ของฟังก์ชันพีชคณิตและฟังก์ชันอดิศัย การประยุกต์ของอนุพันธ์และปริพันธ์ |
3 (3-0-6) |
6301328 |
อิเล็กทรอนิกส์ทฤษฎีพื้นฐานทางไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ โครงสร้างเชิงสัญลักษณ์และชนิดของตัวต้านทาน ตัวเก็บประจุ ตัวเหนี่ยวนำ คุณสมบัติทางฟิสิกส์ของอุปกรณ์สารกึ่งตัวนำ การเคลื่อนที่ของประจุนำไฟฟ้าในสารกึ่งตัวนำ การป้อนไบแอสและกราฟความสัมพันธ์ระหว่างกระแส-แรงดันไฟฟ้าของอุปกรณ์ไดโอด การทำงานของไดโอดในวงจรเรียงกระแส การทำงานเชิงกายภาพและแบบจำลองวงจรขยายพื้นฐานของทรานซิสเตอร์แบบไบโพลาร์ ทรานซิสเตอร์แบบเฟต วงจรออปแอมป์เชิงเส้นและการใช้งานวงจรขยายแรงดันไฟฟ้า |
3 (3-0-6) |
6301329 |
ปฏิบัติการอิเล็กทรอนิกส์ปฏิบัติการอ่านค่าตัวต้านทาน ตัวเก็บประจุ ตัวเหนี่ยวนำ อุปกรณ์สารกึ่งตัวนำ ระบุการป้อนกระแสไบแอสและกราฟความสัมพันธ์ระหว่างกระแส-แรงดันไฟฟ้า วงจรเรียงกระแส วงจรขยายของทรานซิสเตอร์แบบไบโพลาร์ ทรานซิสเตอร์แบบเฟต วงจรออปแอมป์เชิงเส้น วงจรขยายแรงดันไฟฟ้า |
2 (0-4-2) |
6301330 |
ปฏิบัติการเขียนแบบไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์การอ่านและเขียนตามระบบเอสไอ การอ่านและเขียนแบบงานเดินสายไฟและระบบแสงสว่าง ระบบไฟฟ้ากำลัง งานเครื่องกล งานควบคุมระบบ One line Diagram, Schematic Diagram, Wiring Diagram การอ่านและเขียนสัญลักษณ์ของอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ การอ่านและการระบุค่าอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ |
2 (0-4-2) |
6301331 |
ปฏิบัติการเครื่องวัดไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์การใช้งานเครื่องมือวัดตามมาตรฐานการวัดแบบสากล การอ่านค่าความผิดพลาดในการวัด หลักการใช้งานของเครื่องวัดไฟฟ้าทั้งกระแสตรงและกระแสสลับ เครื่องวัดแรงดันไฟฟ้า เครื่องวัดกระแสไฟฟ้า เครื่องวัดความต้านทาน มัลติมิเตอร์ เครื่องวัดพลังงานไฟฟ้า เครื่องวัดกำลังไฟฟ้า เครื่องวัดความเร็วรอบ เครื่องวัดความถี่ เครื่องวัดเพาเวอร์แฟคเตอร์ เครื่องวัดแบบบริดจ์ ออสซิลโลสโคป มิเตอร์แบบดิจิตอล |
2 (0-4-2) |
6301683 |
ภาษาอังกฤษในงานอุตสาหกรรมทักษะภาษาอังกฤษในงานอุตสาหกรรม จากสื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ สื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ บทความเกี่ยวกับอุตสาหกรรม คู่มือการใช้เครื่องมือ การใช้อุปกรณ์ เครื่องจักร ผลิตภัณฑ์ ฝึกการใช้พจนานุกรมเพื่อการอ่าน ฝึกทักษะในการอ่าน บันทึก สรุปตีความ ขยายความ รวมทั้งการนาเสนอด้วยวาจา และลายลักษณ์อักษร โดยเน้นกระบวนการทักษะสัมพันธ์ทางภาษา |
3 (3-0-6) |
6301684 |
ภาษาอังกฤษในงานวิศวกรรมทักษะการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการนำไปใช้กับนวัตกรรมทางเทคโนโลยีไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ การเขียนเรื่องราว เนื้อหา เกี่ยวกับไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ บทความงานวิจัย ฝึกทักษะการอ่านตำราเรียนภาษาอังกฤษ สรุปความจากเรื่องที่อ่านได้ รวมทั้งวิเคราะห์ นำเสนอข้อมูล ตอบคำถาม และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในรูปแบบบรรยายเป็นลายลักษณ์อักษร หรือด้วยวาจาเป็นภาษาอังกฤษได้ |
3 (3-0-6) |
6301685 |
ฟิสิกส์เบื้องต้นการวัดและความแม่นยำในการวัด ระบบสเกลาร์และเวกเตอร์ การเคลื่อนที่ในลักษณะต่างๆ โมเมนตัมและกฎการเคลื่อนที่ แรงและผลของแรง กำลัง งาน และพลังงาน การเคลื่อนที่ ฮาร์มอนิกส์ การเคลื่อนที่แบบคลื่น คลื่นกล สมบัติของสสาร ปรากฏการณ์การแผ่ความร้อน อุณหพลศาสตร์ |
3 (3-0-6) |
6301686 |
การติดตั้งไฟฟ้าการป้องกันอุบัติภัยในการปฏิบัติงานติดตั้งไฟฟ้า และวัสดุในงานติดตั้งไฟฟ้าในอาคาร ประเภทของการติดตั้งการเดินสายไฟฟ้าระบบไฟฟ้า วิธีการเดินสายดิน การตรวจสอบวงจรและซ่อมบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าในอาคาร มาตรฐานการติดตั้งอุปกรณ์ป้องกัน เลือกใช้วัสดุ อุปกรณ์ให้เหมาะสมกับงาน จากการคำนวณและตาราง การติดตั้งอุปกรณ์ เดินสายไฟฟ้าด้วยเข็มขัดรัดสาย อุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้ารั่ว โหลดเซ็นเตอร์ เซฟตี้สวิตซ์ ติดตั้งและเดินสายไฟฟ้า |
3 (3-0-6) |
6301687 |
ปฏิบัติการติดตั้งไฟฟ้าการจ่ายกำลังระบบไฟฟ้า ชนิดและการใช้งานของสายไฟฟ้า การต่อสายไฟฟ้าแบบต่างๆ การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์การติดตั้งการเดินสายไฟฟ้าและระบบไฟฟ้า ด้วยเข็มขัดรัดสาย ท่อร้อยสายไฟ บนผนังไม้และผนังปูน งานติดตั้งสายดิน ตู้โหลดเซ็นเตอร์ เครื่องป้องกันไฟรั่ว ภายในอาคาร |
2 (0-4-2) |
6301688 |
ปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ในงานไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์การปฏิบัติงานระบบคอมพิวเตอร์ในงานไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ การประมวลข้อมูลการนำโปรแกรมมาใช้กับการจัดการอุตสาหกรรม การออกแบบ การค้นหาฐานข้อมูล การเชื่อมต่อระบบข้อมูล ระบบอินเตอร์เน็ตสำหรับโรงงานอุตสาหกรรม การพัฒนางานด้านอุตสาหกรรมในงานไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ |
2 (0-4-2) |
6301755 |
เคมีเบื้องต้นโครงสร้างอะตอม สมบัติของธาตุเรพริเซนเททีฟและทรานซิชัน พันธะเคมี ปริมาณสารสัมพันธ์ แก็ส ของแข็ง ของเหลวและสารละลาย อุณหพลศาสตร์ และเคมีไฟฟ้า |
3 (3-0-6) |
รหัสวิชา | ชื่อวิชา | หน่วยกิต |
---|---|---|
6301332 |
ปฏิบัติการไฟฟ้าอุตสาหกรรมปฏิบัติการติดตั้งระบบไฟฟ้า ปฏิบัติการติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าและเครื่องมือวัดใน โรงงานอุตสาหกรรม ปฏิบัติการซ่อมบำรุงระบบไฟฟ้า |
2 (0-4-2) |
6301689 |
การวิเคราะห์วงจรไฟฟ้า 1กฎของโอห์ม การต่อวงจรไฟฟ้าแบบต่างๆ กฎของเคอร์ชอฟ แรงเคลื่อนไฟฟ้าเหนี่ยวนำ ระบบไฟฟ้ากระแสสลับหนึ่งเฟสและสามเฟส คุณสมบัติของตัวต้านทาน ขดลวดเหนี่ยวนำและตัวเก็บประจุในวงจรไฟฟ้ากระแสตรงและกระแสสลับ ตัวประกอบกำลังและการปรับปรุงค่าตัวประกอบกำลัง การวิเคราะห์วงจรไฟฟ้าแบบเฟสเดียวและสามเฟส |
3 (3-0-6) |
6301690 |
ปฏิบัติการวิเคราะห์วงจรไฟฟ้า 1วัดค่าความต้านทาน, แรงดันและกระแส การหาค่ารีแอคแตนซ์ อิมพีแดนซ์และแอทมิตแตนซ์ของวงจร ปฏิบัติการต่อวงจรไฟฟ้ากระแสตรงและกระแสสลับ |
2 (0-4-2) |
6301691 |
เครื่องกลไฟฟ้าแม่เหล็กไฟฟ้า มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง มอเตอร์กระแสสลับเฟสเดียวและสามเฟส คุณลักษณะเฉพาะของมอเตอร์ไฟฟ้า เครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสตรงและกระแสสลับ การควบคุมความเร็ว หม้อแปลงไฟฟ้าและการทดสอบประสิทธิภาพหม้อแปลงไฟฟ้า |
3 (3-0-6) |
6301692 |
เครื่องกลไฟฟ้าและการควบคุมรีเลย์และตัวสัมผัสแบบแม่เหล็ก การออกแบบวงจรควบคุมและวงจรกำลัง ปฏิบัติการควบคุมเครื่องจักรกลไฟฟ้ากระแสตรงและกระแสสลับ การทดสอบหม้อแปลง |
2 (0-4-2) |
6301693 |
ระบบเครื่องทำความเย็นและปรับอากาศหลักการพื้นฐานของการทำความเย็น เทอร์โมไดนามิกส์ของระบบเครื่องเย็น ระบบทำความเย็น ไดอะแกรมแผนภาพมอลเลียร์ น้ำยาเครื่องเย็น ส่วนประกอบเครื่องทำความเย็น หน้าที่ ภาคชนิดของแต่ละส่วน การออกแบบระบบทำความเย็น โหลดความร้อน เครื่องทำความเย็นขนาดเล็ก และระบบปรับอากาศ แผนภาพไซโครเมตริกซ์ |
3 (3-0-6) |
6301694 |
ปฏิบัติการระบบเครื่องทำความเย็นและปรับอากาศการใช้เครื่องมือ ฝึกการติดตั้ง ฝึกการบำรุงรักษาและปฏิบัติการ พร้อมการเขียนรายงานประกอบ |
2 (0-4-2) |
6301695 |
การวิเคราะห์วงจรไฟฟ้า 2วิธีการวิเคราะห์ทฤษฎีวงจรโครงข่าย องค์ประกอบสะสมพลังงาน วงจรอันดับหนึ่งและวงจรอันดับสอง การวิเคราะห์ในสถานะอยู่ตัวไฟตรง การวิเคราะห์ในสถานะอยู่ตัวไฟสลับ วงจรสามเฟส การแปลงลาปลาซและการประยุกต์ใช้งาน |
3 (3-0-6) |
6301696 |
ปฏิบัติการวิเคราะห์วงจรไฟฟ้า 2ปฏิบัติการทดลองวงจรไฟฟ้ากระแสตรงและกระแสสลับ ในสภาวะชั่วครู่และในสภาวะคงตัว การใช้โปรแกรมจำลองการทำงา |
2 (0-4-2) |
6301697 |
คณิตศาสตร์วิศวกรรมไฟฟ้าจำนวนเชิงซ้อน วิเคราะห์ฟังก์ชันเชิงซ้อน การส่งคงรูป อินทิกรัลเชิงซ้อน และทฤษฎีตกค้าง การแปลงฟูเรียร์และลาปลาซในทางไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ การประยุกต์ใช้งานในอุตสาหกรรม สมการผลต่าง อนุพันธ์ย่อยและปัญหาค่าขอบเขต วิธีการแยกตัวแปร การแก้สมการคลื่น สมการการซึมซาบ และสมการลาปลาซ |
3 (3-0-6) |
6301698 |
วัสดุวิศวกรรมไฟฟ้าโครงสร้าง คุณสมบัติทางไฟฟ้า คุณสมบัติทางแม่เหล็ก คุณสมบัติทางแสง ตัวนำไฟฟ้า อุปกรณ์สารกึ่งตัวนำ ตัวนำยิ่งยวด และการประยุกต์ใช้งานไดอิเล็กทริก สภาพของแข็ง ของเหลว และก๊าซ การประยุกต์ใช้งานวัสดุในอุปกรณ์ไฟฟ้ากำลังและอิเล็กทรอนิกส์ |
3 (3-0-6) |
6301699 |
ปฏิบัติการอิเล็กทรอนิกส์กำลังอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์กำลัง ไดโอดกำลัง เอสซีอาร์ จีทีโอ ทรานซิสเตอร์กำลังชนิดไบโพลาร์ มอสเฟต ไอจีบีที วงจรขยายกำลัง วงจรเรคติไฟเออร์ วงจรคอนเวอร์เตอร์และวงจรอินเวอร์เตอร์ วงจรควบคุมความเร็วมอเตอร์ไฟฟ้าสำหรับรถไฟฟ้าและการประยุกต์ใช้งานอิเล็กทรอนิกส์กำลังในงานอุตสาหกรรม |
2 (0-4-2) |
6301700 |
ปฏิบัติการโปรแกรมคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการเขียนโปรแกรมด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ การคำสั่ง ชนิดตัวแปร ฟังก์ชัน การเขียนโปรแกรมในปัญหาต่างๆ คำสั่ง คำนวณ แสดงผล ทำซ้ำ เงื่อนไข และการสร้างโปรแกรมย่อย |
2 (0-4-2) |
6301701 |
ปฏิบัติการระบบนิวแมติกส์ระบบนิวเมติกส์ สัญลักษณ์ โครงสร้าง ลำดับการทำงานและการทดสอบอุปกรณ์นิวเมติกส์ การกำหนดรหัสของอุปกรณ์ในระบบนิวเมติกส์ การเขียนวงจรควบคุม วงจรเรียงลำดับ วงจรหน่วงเวลา วงจรควบคุมระบบนิวเมติกส์แบบกึ่งอัตโนมัติและแบบอัตโนมัติ การออกแบบวงจรนิวเมติกส์ไฟฟ้า การออกแบบวงจรนิวเมติกส์ไฟฟ้าร่วมกับการทำงานด้วยพีแอลซี |
2 (0-4-2) |
6301702 |
โปรแกรมสำเร็จรูปในงานไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์โครงสร้างและขั้นตอนการใช้งานโปรแกรมสำเร็จรูปด้านไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ การวิเคราะห์และออกแบบระบบไฟฟ้า การจำลองผลการทำงานของวงจรอิเล็กทรอนิกส์ การนำเสนอผลงานด้วยระบบสามมิติ การผลิตสื่อ การสืบค้นข้อมูลและสารสนเทศ |
2 (0-4-2) |
6301703 |
โปรแกรมเมเบิลลอจิกคอนโทรลเลอร์พื้นฐานไดอะแกรมรีเลย์ โครงสร้างของพีแอลซี ภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมพีแอลซีตามมาตรฐาน หลักการเขียนแลดเดอร์ไดอะแกรม คำสั่งควบคุมพื้นฐานของพีแอลซี การเขียนและทดสอบโปรแกรมพีแอลซี ระบบสื่อสารข้อมูลของพีแอลซี หลักการทำงานร่วมกันของระบบพีแอลซีกับระบบเอชเอ็มไอ การประยุกต์ใช้งานพีแอลซีในงานอุตสาหกรรม |
3 (3-0-6) |
6301704 |
ปฏิบัติการโปรแกรมเมเบิลลอจิกคอนโทรลเลอร์การเขียนไดอะแกรมของรีเลย์ ภาษาคำสั่งบูลลีน ภาษาคำสั่งแลดเดอร์ไดอะแกรม การเขียนโปรแกรมควบคุมอุปกรณ์ตามกระบวนการ การควบคุมมอเตอร์ไฟฟ้าด้วยโปรแกรมเมเบิลลอจิกคอนโทรลเลอร์ การประยุกต์โปรแกรมเมเบิลลอจิกคอนโทรลเลอร์ในอุตสาหกรรม |
2 (0-4-2) |
6301705 |
ปฏิบัติการระบบควบคุมอัตโนมัติระบบควบคุมแบบอัตโนมัติผ่านเครื่องควบคุมแบบตรรกะที่โปรแกรมได้ การเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อินพุตและเอาต์พุต อุปกรณ์ตรวจจับ สวิตช์ โซลินอด์ยวาล์ว การเขียนโปรแกรมและการออกแบบระบบควบคุม ปฏิบัติการวิธีการเชื่อมต่อสื่อสารแบบเครือข่ายระบบควบคุม การกระจาย และการรวมศูนย์การควบคุม การควบคุมจากระยะไกล |
2 (0-4-2) |
6301706 |
ระบบควบคุมโดยใช้คอมพิวเตอร์โครงสร้างพื้นฐานของระบบควบคุมที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ควบคุมหลักแบบเวลาจริง ภาพรวมของกระบวนการในการพัฒนาระบบเครื่องมือในการจำลองระบบ แบบจำลองเบื้องต้น การสร้างและวางระบบจำลอง พฤติกรรมอิมพลีเมนเทชันโมเดล การใช้แผนภูมิแบบโครงสร้างในการวางลำดับขั้นของระบบ การเปลี่ยนโครงข่ายของกระบวนการ แผนผังแสดงสภาวะให้เป็นแผนภูมิแบบโครงสร้าง กรณีศึกษาการพัฒนาระบบควบคุมโดยคอมพิวเตอร์ |
2 (0-4-2) |
6301707 |
หัวข้อพิเศษทางไฟฟ้าอุตสาหกรรม 1หัวข้อและวิวัฒนาการด้านไฟฟ้าอุตสาหกรรมใหม่ๆ ที่น่าสนใจ การเขียนโครงการวิจัยและการเขียนรายงานวิจัย จริยธรรมในการทำงานวิจัย หัวข้อในแต่ละภาคการศึกษาอาจจะแตกต่างกันไป |
2 (0-4-2) |
6301708 |
หัวข้อพิเศษทางไฟฟ้าอุตสาหกรรม 2ปัญหาหัวข้อพิเศษ โครงงานวิจัยสอดคล้องกับกลุ่มวิชาที่เลือกเรียน นวัตกรรมทางไฟฟ้าอุตสาหกรรมที่ก่อให้เกิดการพัฒนาสู่ชุมชนและโรงงานอุตสาหกรรม โดยมีความเหมาะสมกับเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมของประเทศ โดยมีความเหมาะสม ภายใต้การควบคุมของอาจารย์ผู้สอนและอาจารย์ที่ปรึกษา |
2 (0-4-2) |
รหัสวิชา | ชื่อวิชา | หน่วยกิต |
---|---|---|
6301716 |
ไมโครโปรเซสเซอร์และไมโครคอนโทรลเลอร์โครงสร้างของคอมพิวเตอร์ สถาปัตยกรรมของไมโครโปรเซสเซอร์และไมโครคอนโทรลเลอร์ คำสั่ง การเขียนโปรแกรมแอสเซมบลี ลำดับตารางเวลา บรรทัดของคำสั่ง การต่อเพิ่มหน่วยความจำ คำสั่งของไมโครคอนโทรลเลอร์ การประยุกต์ใช้งาน การพัฒนาเทคโนโลยีไมโครโปรเซสเซอร์ในอนาคต การเลือกใช้งานไมโครโปรเซสเซอร์ให้เหมาะกับการใช้งาน การเขียนโปรแกรมควบคุม การออกแบบระบบไมโครโปรเซสเซอร์ |
3 (3-0-6) |
6301717 |
ปฏิบัติการไมโครโปรเซสเซอร์และไมโครคอนโทรลเลอร์ปฏิบัติการเกี่ยวกับไมโครโปรเซสเซอร์ได้แก่การใช้งานชุดฝึกทดลองไมโครโปรเซสเซอร์ ชุดคำสั่ง และการเขียนโปรแกรมภาษาแอสแซมบลี้การอินเตอร์เฟสไมโครโปรเซสเซอร์กับอุปกรณ์อินพุท-เอาท์พุท และกับหน่วยความจำ การดีโค๊ดแอดเดรส การพัฒนาซอฟแวร์และฮาร์ดแวร์สำหรับระบบ ไมโครโปรเซสเซอร์ และการปฏิบัติเกี่ยวกับไมโครคอนโทรลเลอร์ที่นิยมใช้งานในภาคอุตสาหกรรมในปัจจุบัน |
2 (0-4-2) |
6301721 |
ไฟฟ้าในชีวิตประจำวันหลักการเบื้องต้นทางไฟฟ้า เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในงานไฟฟ้า การป้องกันอันตรายจากอุปกรณ์ไฟฟ้า การบำรุงรักษาและตรวจซ่อมอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้าน |
3 (3-0-6) |
6301722 |
อุปกรณ์และระบบการควบคุมพื้นฐานระบบควบคุมและแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ บล็อกไดอะแกรมและกราฟการไหลของสัญญาณ วิเคราะห์ผลตอบสนองชั่วครู่ วิเคราะห์เสถียรภาพของระบบ ข้อกำหนดคุณลักษณะของผลตอบสนองเชิงเวลา ชนิดของการควบคุมและตัวควบคุมแบบพีไอดี การวิเคราะห์และออกแบบตัวชดเชยด้วยวิธีเส้นทางเดินราก การวิเคราะห์ผลตอบสนองเชิงความถี่ด้วยแผนภาพโบด การวิเคราะห์เสถียรภาพเชิงความถี่ด้วยแผนภาพ ไนควิสต์ การออกแบบตัวชดเชยด้วยวิธีเชิงความถี่ |
3 (3-0-6) |
6301723 |
การผลิตกำลังไฟฟ้ากราฟของโหลด กราฟแสดงช่วงเวลาของโหลด และตัวประกอบของโหลด แหล่งพลังงาน โรงจักรไฟฟ้าพลังน้ำ โรงจักรไฟฟ้าพลังไอน้ำ โรงจักรไฟฟ้ากังหันแก๊ส โรงจักรไฟฟ้าแบบความร้อนร่วม โรงจักรไฟฟ้าเครื่องยนต์ดีเซล โรงจักรไฟฟ้านิวเคลียร์ การดำเนิน การส่งจ่ายกาลังไฟฟ้าโดยคำนึงถึงหลักการเศรษฐศาสตร์ สถานีส่งจ่ายกำลัง ไฟฟ้า พารามิเตอร์ของสายส่งไฟฟ้าสมรรถนะของสายส่งไฟฟ้าระบบต่อหน่วย |
3 (3-0-6) |
6301724 |
ระบบไฟฟ้ากำลังและการส่งจ่ายสายส่งและค่าพารามิเตอร์ การจำลองแบบระบบการวิเคราะห์การไหลของโหลด การควบคุมกำลัง อุปกรณ์รีแอคทีฟและแรงดัน การควบคุมกำลังงานและความถี่ วิธีการทำงานของอุปกรณ์ในระบบกำลัง คุณสมบัติของโหลด ไดอะแกรมเส้นเดียวและระบบต่อหน่วย การรักษาแรงดันและระบบการต่อลงดิน ส่วนประกอบสมมาตรและการวิเคราะห์การลัดวงจร การวิเคราะห์เสถียรภาพคลื่นเดินทาง ความเชื่อถือได้ ในระบบกำลัง การวิเคราะห์ระบบกำลังโดยดิจิตอลเทคนิค |
3 (3-0-6) |
6301725 |
วิศวกรรมแม่เหล็กไฟฟ้าการวิเคราะห์เวกเตอร์ กฎของคูลอมป์และความเข้มสนามไฟฟ้า ความหนาแน่นฟลักซ์ไฟฟ้า กฎของเกาส์และไดเวอร์เจนซ์ พลังงานและศักย์ไฟฟ้า ตัวนำ ไดอิเล็กตริก และความจุไฟฟ้า สมการของปัวซ์ซองและของลาปลาซ สนามแม่เหล็กสถิต แรงกระทำในสนามแม่เหล็ก สารแม่เหล็กและความเหนี่ยวนำ สนามที่เปลี่ยนแปลงกับเวลา และสมการของ แมกซ์เวลล์ |
3 (3-0-6) |
6301726 |
การป้องกันระบบไฟฟ้าสาเหตุและสถิติของการเกิดการลัดวงจร อุปกรณ์ป้องกันกระแสเกินชนิดต่างๆ บทบาทและพื้นฐานของรีเลย์ป้องกัน ความต้องการพื้นฐานในการใช้งานของรีเลย์ โครงสร้างและคุณสมบัติของรีเลย์ การจัดลำดับความสัมพันธ์การป้องกัน รีเลย์ป้องกันกระแสเกิน การป้องกันสายส่งเนื่องจากการลัดวงจรลงดินของสายส่ง การป้องกันโดยใช้ผลของผลต่าง การป้องกันสายส่งโดยใช้รีเลย์ระยะทาง การป้องกันหม้อแปลงไฟฟ้ากำลัง การป้องกันเครื่องกำเนิดไฟฟ้า การป้องกันบัสโดยแบ่งเป็นเขต การป้องกันมอเตอร์ |
3 (3-0-6) |
6301727 |
การจัดการงานวิศวกรรมด้วยคอมพิวเตอร์ทฤษฎีและปฏิบัติคอมพิวเตอร์ช่วยออกแบบ คอมพิวเตอร์สำหรับการผลิตในโรงงาน การประยุกต์ใช้ในการออกแบบวงจรลอจิก วงจรบอร์ด องค์ประกอบและระบบเชิงกล การอินเตอร์เฟสระหว่างคอมพิวเตอร์ช่วยออกแบบ และการควบคุมเชิงตัวเลขด้วยคอมพิวเตอร์ หุ่นยนต์ เทคโนโลยีโครงข่าย |
3 (3-0-6) |
6301728 |
ระบบปัญญาประดิษฐ์สำหรับหุ่นยนต์การแทนความรู้และการหาเหตุผล ตรรกศาสตร์คลุมเครือ ตัวกระทำ กลยุทธ์การค้นหา การวางแผน การหา ขั้นตอนวิธีเชิงพันธุกรรม ต้นไม้ตัดสินใจ การเรียนรู้แบบเบย์ โครงข่ายประสาทเทียม การเรียนรู้แบบเสริมกำ ลัง การประยุกต์ใช้ปัญญาประดิษฐ์ในหุ่นยนต์และเครื่องจักร |
3 (3-0-6) |
6301729 |
มาตรฐานไฟฟ้าและความปลอดภัยมาตรฐานการติดตั้งไฟฟ้าและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ทางอุตสาหกรรม พระราชบัญญัติวิชาชีพวิศวกรรม กฎเกณฑ์การเดินสาย การติดตั้งไฟฟ้าของการไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคและการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย กฎเกี่ยวกับความปลอดภัยในการปฏิบัติงานไฟฟ้า ศึกษาหลักการขั้นพื้นฐานทางวิศวกรรม เพื่อการป้องกันอุบัติเหตุในโรงงาน การวางแผนและมาตรการเพื่อความปลอดภัยในโรงงาน เพื่อลดอุบัติเหตุให้น้อยที่สุดในงานไฟฟ้า |
3 (3-0-6) |
6301730 |
การออกแบบระบบไฟฟ้าพื้นฐานการออกแบบ ระบบไฟฟ้ามาตรฐานติดตั้งทางไฟฟ้า การประมาณโหลด การต่อลงดิน การคำนวณหากระแสลัดวงจร การปรับปรุงตัวประกอบกำลัง ระบบไฟฟ้ากำลังจ่ายในสภาวะฉุกเฉิน และ การประมาณการค่าใช้จ่ายของระบบไฟฟ้า |
3 (3-0-6) |
6301731 |
การวัดและควบคุมทางอุตสาหกรรมหลักการเกี่ยวกับการวัดและการควบคุม การวัดแรง การวัดความเร็ว การวัดกำลังอุปกรณ์ทรานส์ดิวเซอร์ การวัดอุณหภูมิและเครื่องวัดอุณหภูมิ การวัดความดัน การวัดระดับ การวัดอัตราการไหล การวิเคราะห์หลักการและวิธีการควบคุมกระบวนการทางอุตสาหกรรม ระบบการควบคุมแบบอัตโนมัติ |
2 (0-4-2) |
6301732 |
การออกแบบระบบการเชื่อมต่อทุกสรรพสิ่งหลักการและการวิเคราะห์ระบบไอโอที การออกแบบระบบไอโอทีร่วมกับฮาร์แวร์ อุปกรณ์เครือข่ายเซ็นเซอร์และการเชื่อมต่อ ชั้นประมวลผลก้อนเมฆ การประยุกต์ใช้งานระบบไอโอทีกับระบบตรวจจับอัจฉริยะ ระบบกริดไฟฟ้าอัจฉริยะ บ้านอัจฉริยะ โรงงานอัจฉริยะ เกษตรอัจฉริยะ และระบบขนส่งอัจฉริยะ |
3 (3-0-6) |
6301733 |
ระบบทำความเย็นและการปรับอากาศภายในโรงงานอุตสาหกรรมการทำงานของเครื่องทำความเย็นในอุตสาหกรรม อาทิเช่น ตู้แช่แข็ง ห้องเย็น เครื่องปรับอากาศขนาดใหญ่ การติดตั้ง การควบคุม การบำรุงรักษา และการตรวจซ่อม |
3 (3-0-6) |
6301734 |
พลังงานทดแทนความหมายของพลังงานทดแทน การเปลี่ยนพลังงานทดแทนเป็นพลังงานความร้อนและไฟฟ้า พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานน้ำ พลังงานจากชีวมวล การทำกรณีศึกษาการสร้างแหล่งพลังงานทดแทน ทางเลือกในการใช?พลังงานทดแทนผสมผสานกับพลังงานสิ้นเปลือง การจัดการแหล?งพลังงานทดแทน ร?วมกับพลังงานสิ้นเปลือง |
3 (3-0-6) |
6301735 |
สัมมนาทางไฟฟ้าอุตสาหกรรมสัมมนาหัวข้อทางไฟฟ้าอุตสาหกรรม เพื่อเป็นการเพิ่มพูนความรู้ให้กับนักศึกษา จากประสบการณ์จริงของผู้บรรยาย การค้นคว้าข้อมูลและนวัตกรรมทางไฟฟ้าอุตสาหกรรม กระบวนการจัดสัมมนา และการนำเสนอในงานสัมมนา การบันทึกและการสรุปข้อมูลจากการสัมมนา |
3 (3-0-6) |
รหัสวิชา | ชื่อวิชา | หน่วยกิต |
---|---|---|
6301747 |
การเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพไฟฟ้าอุตสาหกรรมจัดให้มีกิจกรรม เพื่อเตรียมความพร้อมของผู้เรียน ก่อนออกฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ในด้านการรับรู้ลักษณะ และโอกาสของการประกอบอาชีพ การพัฒนาตัวผู้เรียน ให้มีความรู้ ทักษะ เจตคติ แรงจูงใจ และคุณลักษณะที่เหมาะสมกับวิชาชีพ โดยการกระทำในสถานการณ์ หรือรูปแบบต่างๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับงานในวิชาชีพนั้น |
1 (0-2-1) |
6301748 |
การฝึกประสบการณ์วิชาชีพไฟฟ้าอุตสาหกรรมให้นักศึกษาได้ออกฝึกประสบการณ์วิชาชีพวิศวกรรมไฟฟ้า ในสถานประกอบหรือโรงงานอุตสาหกรรมที่สัมพันธ์กับวิชาไฟฟ้าอุตสาหกรรม ไม่น้อยกว่า 320 ชั่วโมง โดยได้รับการพิจารณาเห็นชอบจากกรรมการของสาขาวิชา และต้องมีการบันทึกผลการปฏิบัติงาน พร้อมนำเสนอต่อกรรมการของสาขาวิชาเมื่อฝึกประสบการณ์วิชาชีพ เสร็จสิ้นแล้ว |
5 (300) |
6301749 |
การเตรียมสหกิจศึกษาวิชาชีพไฟฟ้าอุตสาหกรรมหลักการ แนวคิด และกระบวนการของสหกิจศึกษา ระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง ความรู้พื้นฐานและเทคนิคในการสมัครงานอาชีพ ความรู้พื้นฐานในการปฏิบัติงาน การสื่อสารและมนุษย-สัมพันธ์ การพัฒนาบุคลิกภาพ ระบบการบริหารคุณภาพในสถานประกอบการ เทคนิคการนำเสนอ การเขียนรายงาน |
0 (30 ชั่วโมง) |
6301750 |
สหกิจศึกษาวิชาชีพไฟฟ้าอุตสาหกรรมให้นักศึกษาไปปฏิบัติงานในสถานประกอบการ ไม่น้อยกว่า 16 สัปดาห์ โดยนักศึกษามีหน้าที่รับผิดชอบ ในหน่วยงานอย่างแน่นอนเสมือนหนึ่งเป็นพนักงานของสถานประกอบการ การปฏิบัติงานดังกล่าวนี้ต้องเป็นงานหรือตำแหน่งงานที่นักศึกษาได้นำความรู้และศาสตร์ต่างๆด้านไฟฟ้าอุตสาหกรรม ไปใช้ในการปฏิบัติงานจริง และสามารถประยุกต์ให้เข้ากับสถานการณ์จริง เมื่อเสร็จสิ้นการปฏิบัติงาน นักศึกษาต้องจัดทำรายงานและนำเสนอผลการปฏิบัติงานต่อกรรมการสาขาวิชาไฟฟ้าอุตสาหกรรม |
6 (16 สัปดาห์) |