รหัสวิชา | ชื่อวิชา | หน่วยกิต |
---|---|---|
6300451 |
การเขียนภาษาอังกฤษเชิงวิชาการสำหรับวิทยาศาสตร์ทักษะการเขียนขั้นสูงในรูปแบบต่าง ๆ การเขียนเรียงความ วิธีการเขียนขยายเนื้อหา การเขียนเชิงบรรยาย การเล่าเรื่องราว การเขียนเชิงอภิปราย การเขียนเชิงชักชวน ฝึกการใช้เครื่องหมายวรรคตอนให้ถูกต้อง ฝึกการเขียนรายงาน บทคัดย่อ และการเขียนโครงงานต่าง ๆ ในด้านวิทยาศาสตร์ |
3 (3-0-6) |
6300452 |
ฟิสิกส์ทั่วไปหน่วยการวัด ความแม่นยำและความเที่ยงตรงในการวัด ปริมาณสเกลาร์และเวกเตอร์ การเคลื่อนที่ของวัตถุ งานและพลังงาน กฎการอนุรักษ์ของพลังงานและโมเมนตัม การสั่น คลื่นกล การเคลื่อนที่ของวัตถุแข็งเกร็ง สมบัติของสสาร กฎแห่งอุณหพลศาสตร์ คุณสมบัติทางกายภาพของของไหล ประจุไฟฟ้า สนามไฟฟ้า ศักย์ไฟฟ้า ความจุไฟฟ้า กระแสไฟฟ้า สนามแม่เหล็ก แสงและทัศนอุปกรณ์ คลื่นเสียง สเปกตรัมของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ฟิสิกส์ยุคใหม่ และฟิสิกส์นิวเคลียร์ |
3 (3-0-6) |
6300453 |
ปฏิบัติการฟิสิกส์ทั่วไปปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาในรายวิชาฟิสิกส์ทั่วไป เช่น การวัดการหาค่าความคลาดเคลื่อนเนื่องจากวัด ปฏิบัติการทดลองเกี่ยวกับแรงและการเคลื่อนที่ การเกิดการสั่นพ้องของคลื่นเสียงสมบัติการยืดหยุ่นของวัตถุการหาค่าความจุความร้อนจำเพาะและการขยายตัวเนื่องจากความร้อนของวัตถุไฟฟ้าสถิต วงจรไฟฟ้า แม่เหล็ก การวัดทางไฟฟ้าและวงจรไฟฟ้า |
1 (0-2-1) |
6300454 |
เคมีทั่วไปโครงสร้างอะตอม สมบัติของธาตุเรพริเซนเททีฟและทรานซิชัน พันธะเคมี ปริมาณสารสัมพันธ์ แก็ส ของแข็ง ของเหลวและสารละลาย จลนพลศาสตร์ สมดุลเคมี กรด-เบส |
3 (3-0-6) |
6300455 |
ปฏิบัติการเคมีทั่วไปปฏิบัติการที่เกี่ยวกับสารเคมี ความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการเคมี การใช้อุปกรณ์เครื่องมือพื้นฐาน และ ปฏิบัติการที่สอดคล้องกับทฤษฎี |
1 (0-2-1) |
6300460 |
ชีววิทยาทั่วไประเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์ คุณสมบัติของสิ่งมีชีวิต การจัดระบบสิ่งมีชีวิต โครงสร้างและหน้าที่ของพืชและสัตว์ สารเคมีของสิ่งมีชีวิต เซลล์และเมแทบอลิซึม พันธุศาสตร์ กลไกของวิวัฒนาการ ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต นิเวศวิทยาและพฤติกรรม |
3 (3-0-6) |
6300461 |
ปฏิบัติการชีววิทยาทั่วไปข้อบังคับรายวิชา : ต้องเรียนคู่กับรายวิชา 4231101 หรือ เรียนวิชา 4231101 มาก่อนแล้ว ปฏิบัติการเกี่ยวกับการใช้กล้องจุลทรรศน์ และการทดลองที่สอดคล้องกับหัวข้อในรายวิชาชีววิทยาทั่วไป |
1 (0-2-1) |
6300466 |
แคลคูลัส 1ลิมิตและความต่อเนื่องของฟังก์ชัน อนุพันธ์ของฟังก์ชันพีชคณิตและฟังก์ชันอดิศัยหลักเกณฑ์โลปีตาล ปริพันธ์ของฟังก์ชันพีชคณิตและฟังก์ชันอดิศัย การประยุกต์ของอนุพันธ์และปริพันธ์ |
3 (3-0-6) |
6300467 |
แคลคูลัส 2วิชาบังคับก่อน : รายวิชา 4291101 แคลคูลัส 1 ลำดับ อนุกรมอนันต์ อนุกรมกำลัง ฟังก์ชันหลายตัวแปร ลิมิตและความต่อเนื่องของฟังก์ชันหลายตัวแปร อนุพันธ์ย่อย อนุพันธ์อันดับสูง เทคนิคการหาปริพันธ์ ปริพันธ์ไม่ตรงแบบ ระบบพิกัดเชิงขั้ว |
3 (3-0-6) |
6300861 |
สถิติวิเคราะห์ความหมาย ขอบเขต และประโยชน์ของสถิติ การวัดแนวโน้มสู่ส่วนกลาง และการวัดการกระจาย ความน่าจะเป็น ตัวแปรสุ่ม การแจกแจงความน่าจะเป็นของตัวแปรสุ่มแบบไม่ต่อเนื่องและต่อเนื่องบางชนิด การแจกแจงของตัวสถิติ การประมาณค่าและการทดสอบสมมติฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนเบื้องต้น การถดถอย ค่าสหสัมพันธ์ การทดสอบไคกำลังสอง สถิติไม่อิงพารามิเตอร์ และการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ |
3 (3-0-6) |
6300862 |
การเขียนโปรแกรมสำหรับวิทยาการข้อมูลความเข้าใจพื้นฐานของการเขียนโปรแกรม และข้อมูลขนาดใหญ่ ความสามารถในการเขียนโค้ดโปรแกรมอย่างมีสิทธิภาพ และประสิทธิผล เพื่อการจัดการ และทำความเข้าใจกับชุดข้อมูล การใช้งานภาษาคอมพิวเตอร์สำหรับวิทยาการข้อมูลที่สำคัญ ได้แก่ Python หรือ R โดยใช้ข้อมูลจริง |
3 (2-2-5) |
6300863 |
ภาษาอังกฤษสำหรับสถิติและวิทยาการข้อมูลอักษรและศัพท์ทางสถิติและวิทยาการข้อมูล การอ่านและเขียนทางสถิติและวิทยาการข้อมูล ภาษาอังกฤษในห้องเรียนวิชาสถิติและวิทยาการข้อมูล การสืบค้นข้อมูลทางสถิติและวิทยาการข้อมูล การอ่านและเขียนบทความวิชาการ ภาษาอังกฤษในการประชุมวิชาการคณิตศาสตร์ สถิติและวิทยาการข้อมูล การนำเสนอผลงานทางสถิติและวิทยาการข้อมูล |
3 (3-0-6) |
รหัสวิชา | ชื่อวิชา | หน่วยกิต |
---|---|---|
6300327 |
การประมวลผลภาษาธรรมชาติทฤษฎีและปฏิบัติด้านภาษาธรรมชาติ การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อให้เข้าใจ สร้าง และเรียนรู้ภาษาธรรมชาติในบริบทด้านไวยกรณ์ ความหมาย และ วัจนปฏิบัติศาสตร์ ครอบคลุมเนื้อหาด้านการใช้ฐานความรู้และหลักสถิติสำหรับภาษาธรรมชาติ แสดงถึงเทคนิคการและเครื่องมือสำหรับใช้งานภาษาธรรมชาติ สำหรับกรณีศึกษาต่าง ๆ และข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับงานวิจัยสำหรับภาษาธรรมชาติ |
3 (2-2-5) |
6300331 |
การออกแบบและวิเคราะห์อัลกอริทึมพื้นฐานและแนวคิดของอัลกอริทึม อัลกอริทึมตัวเลขเบื้องต้น อัลกอริทึมแบบละโมบ อัลกอริทึมแบบแบ่งแยกและเอาชนะ กำหนดการพลวัต ฮิวริสติก การเปรียบเทียบสายอักขระ กราฟและอัลกอริทึมกราฟ เครื่องสถานะจำกัด นิพจน์ปรกติ |
3 (2-2-5) |
6300733 |
การวิเคราะห์ตัวแปลเชิงพหุพีชคณิตของเมทริกซ์และเวกเตอร์สุ่ม การแจกแจงแบบปรกติของตัวแปรเชิงพหุ การอนุมานเวกเตอร์ค่าเฉลี่ยโดยวิธีของโฮลเทลลิงทีสแควร์ การอนุมานเวกเตอร์ค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างขนาดใหญ่ การวิเคราะห์ความแปรปรวนของตัวแปรเชิงพหุทางเดียวและสองทาง การวิเคราะห์องค์ประกอบ การวิเคราะห์ปัจจัย การวิเคราะห์จำแนกประเภท การวิเคราะห์การจัดกลุ่ม และการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ |
3 (3-0-6) |
6300734 |
การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงจำแนกการแจกแจงแบบทวินาม ปัวซง และพหุนาม ตารางการจรสองทาง ตารางการจรสามทาง การหาความสัมพันธ์ของข้อมูลในตารางขนาด 2x2 การทดสอบความเป็นอิสระกัน การทดสอบอัตราส่วนภาวะน่าจะเป็น การทดสอบภาวะสารูปดี ตัวแบบเชิงเส้นทั่วไป ตัวแบบการถดถอยแบบปัวซง ตัวแบบการถดถอยโลจิสติกส์ และตัวแบบล็อกลิเนียร์และการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ |
3 (3-0-6) |
6300736 |
การวิเคราะห์การถดถอยแนวความคิดพื้นฐานเกี่ยวกับการวิเคราะห์การถดถอยและสหสัมพันธ์ การวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นอย่างง่ายและเชิงพหุ การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ การหาสมการถดถอยแบบเชิงเส้นและไม่ใช่แบบเชิงเส้นด้วยวิธีกำลังสองน้อยที่สุดและวิธีเมทริกซ์ ตัวแปรหุ่น เทคนิคการเลือกตัวแปรอิสระ การตรวจสอบความเหมาะสมของตัวแบบ และการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ |
3 (3-0-6) |
6300864 |
สถิติไม่อิงพารามิเตอร์แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับสถิติไม่อิงพารามิเตอร์ การทดสอบสมมติฐานเกี่ยวกับพารามิเตอร์ต่าง ๆ โดยสถิติไม่อิงพารามิเตอร์ของประชากรหนึ่งกลุ่ม สองกลุ่ม และหลายกลุ่ม ทั้งกรณีประชากรที่เป็นอิสระต่อกันและไม่เป็นอิสระต่อกัน การทดสอบภาวะสารูปดี การศึกษาความสัมพันธ์และการทดสอบสมมติฐาน และการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ |
3 (3-0-6) |
6300865 |
สถิติเชิงคณิตศาสตร์การแจกแจงของฟังก์ชันของตัวแปรสุ่มโดยวิธีการแปลงตัวแปร กรณีมากกว่าหนึ่งตัว ฟังก์ชันก่อกำเนิดโมเมนต์ สถิติอันดับ การแจกแจงเมื่อขนาดตัวอย่างใกล้อนันต์ ทฤษฎีลิมิตสู่ส่วนกลาง การประมาณค่าพารามิเตอร์แบบจุด สมบัติของตัวประมาณค่าความบริบูรณ์ อสมการคราแมร์ราว ทฤษฎีราว-แบลคเวลล์ และตัวประมาณค่าแบบเบย์ |
3 (3-0-6) |
6300866 |
วิทยาการข้อมูลเบื้องต้นความรู้เบื้องต้นของวิทยาการข้อมูล ประกอบไปด้วย กลยุทธ์ทางธุรกิจ เทคโนโลยีสารสนเทศ และวิธีการจำลองแบบต่าง ๆ ประโยชน์ และวัตถุประสงค์ของวิทยาการข้อมูล เช่น การบริหารจัดการ การดำเนินการ และจริยธรรมของวิทยาการข้อมูล แสดงภาพรวมของวิธีการจำลองแบบ การใช้โปรแกรมวิเคราะห์ ปัญหาทางธุรกิจ และวิธีแก้ปัญหา ทั้งในแบบดั้งเดิมและแนวทางใหม่ การเลือกเครื่องมือที่เหมาะสม สำหรับการรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล รวมถึงวิธีการที่เหมาะกับการวิจัยธุรกิจ การสุ่มตัวอย่าง และการออกแบบการสำรวจ |
3 (2-2-5) |
6300867 |
เหมืองข้อมูลและการใช้งานอัลกอริทึมและกระบวนทัศน์เพื่อการคำนวณสำหรับคอมพิวเตอร์เพื่อใช้สำหรับการหารูปแบบ และวิธีดำเนินการภายในฐานข้อมูล การพยากรณ์ และคาดการณ์ และการพัฒนาประสิทธิภาพของการใช้งานข้อมูล องค์ประกอบของ กระบวนการเกี่ยวข้องกับการคัดแยกองค์ความรู้จากข้อมูลดิบ ได้แก่ การคัดเลือกข้อมูล การคัดแยก การเขียนโค้ด ด้วยวิธีการทางสถิติ และการเรียนรู้ของเครื่องจักร และการแสดงผลที่ได้จากโครงสร้างที่ได้จัดทำขึ้น ด้วยการตัวอย่างของการดำเนินการ และการใช้งานซอฟต์แวร์ทางด้านเหมืองข้อมูล |
3 (2-2-5) |
6300868 |
ระบบฐานข้อมูลหลักสำคัญของฐานข้อมูล ระบบฐานข้อมูล การวิเคราะห์รวบรวม และสอบถามข้อมูล การสืบค้นข้อมูล ภาษาสำหรับเข้าถึงข้อมูล สถาปัตยกรรมการจัดการข้อมูลแบบจำลองข้อมูล การบริหารฐานข้อมูล การใช้งานข้อมูลพร้อม ๆ กัน การกำหนดความปลอดภัยของข้อมูล การสำรองและกู้คืนข้อมูล การเชื่อมต่อฐานข้อมูล กับโปรแกรม |
3 (2-2-5) |
6300869 |
การจำลองข้อมูลหลักการพื้นฐานทางการจำลองข้อมูล เทคนิคการจำลองข้อมูล ตัวแบบจำลองข้อมูลและการประยุกต์ใช้ การใช้ซอฟต์แวร์เพื่อจัดทำและเขียนโปรแกรมสำหรับการสร้างตัวแบบจำลองข้อมูล |
3 (3-0-6) |
6300870 |
เทคนิคการเก็บรวบรวมข้อมูลแนวคิดพื้นฐานและประโยชน์ของการเก็บรวบรวมข้อมูล การเก็บรวบรวมข้อมูลแบบ ปฐมภูมิและทุติยภูมิ วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการทำสำมะโนและการสำรวจด้วยตัวอย่าง การเลือกตัวอย่างไม่ใช้ความน่าจะเป็นและใช้ความน่าจะเป็น ความคลาดเคลื่อนจากการสำรวจตัวอย่าง และการค้นหาข้อมูลจากเว็บไซต์ |
3 (3-0-6) |
6300871 |
สัมมนาสถิติและวิทยาการข้อมูลค้นคว้าและอธิบายเกี่ยวกับเนื้อหาหรืองานวิจัยที่น่าสนใจทางสถิติและวิทยาการข้อมูลจากวารสารและเอกสารทางวิชาการต่าง ๆ และนำเสนอผลการศึกษาค้นคว้า |
1 (1-0-2) |
6300872 |
โครงงานค้นคว้าและวิจัยขั้นพื้นฐานหัวข้อทางสถิติและวิทยาการข้อมูล และจัดทำเป็นรายงาน |
2 (0-4-2) |
รหัสวิชา | ชื่อวิชา | หน่วยกิต |
---|---|---|
6300719 |
ตัวแบบทางคณิตศาสตร์หลักการและการสร้างตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์ แบบจำลองของประชากรชนิดไม่ต่อเนื่องและต่อเนื่อง การวิเคราะห์จุดสมดุลและความเสถียรของแบบจำลอง การวิเคราะห์พฤติกรรมของผลเฉลยโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางคณิตศาสตร์ |
3 (3-0-6) |
6300727 |
การควบคุมคุณภาพเชิงสถิติแนวความคิดเบื้องต้นของการควบคุมคุณภาพเชิงสถิติ หลักการทางสถิติและความน่าจะเป็นเบื้องต้นที่ใช้ในการควบคุมคุณภาพ แผนภูมิควบคุมคุณภาพสำหรับตัวแปร แผนภูมิควบคุมสำหรับคุณลักษณะ และแผนภูมิควบคุมพิเศษ ความสามารถของกระบวนการผลิต แผนการเลือกตัวอย่างเพื่อการยอมรับคุณลักษณะ แผนการเลือกตัวอย่างเพื่อการยอมรับตัวแปร และการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ |
3 (3-0-6) |
6300731 |
อนุกรมเวลาและการพยากรณ์ตัวแบบอนุกรมเวลา การวิเคราะห์แนวโน้ม การแยกส่วนประกอบ เทคนิคการปรับให้เรียบ การวิเคราะห์ความผันแปรตามฤดูกาล การวิเคราะห์ความผันแปรตามวัฏจักร ความผันแปรที่ไม่สม่ำเสมอ การถดถอยที่ใช้ข้อมูลอนุกรมเวลา การพยากรณ์โดยใช้อนุกรมเวลาและการตรวจสอบการพยากรณ์ และการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ |
3 (3-0-6) |
6300735 |
แผนแบบการทดลองการวิเคราะห์ความแปรปรวนชนิดทางเดียว การทดสอบข้อสมมติเบื้องต้น การออกแบบ การทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ การเปรียบเทียบพหุคูณ แผนแบบบล็อคเชิงสุ่ม การประมาณค่าข้อมูลในกรณีที่มีข้อมูลบางค่าสูญหาย แผนแบบจตุรัสลาติน การวิเคราะห์ความแปรปรวนชนิดสองทาง การทดลองแฟกทอเรียล การวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม และการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติและกรณีศึกษา |
3 (3-0-6) |
6300737 |
ระเบียบวิธีวิจัยความหมายของการวิจัย กระบวนการวิจัย ปัญหาการวิจัย กรอบทฤษฎีและสมมติฐานการวิจัย ตัวแปรและการนิยามตัวแปร การวิจัยเชิงปริมาณ การวิจัยเชิงคุณภาพ แผนแบบการวิจัย การพัฒนาเครื่องมือการวิจัย ความตรงและความเที่ยงของค่าวัด การเลือกตัวอย่าง การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การแปลผลการวิเคราะห์ การเขียนรายงานวิจัย การนำเสนอข้อมูล การประเมินผลการวิจัย และกรณีศึกษา |
3 (3-0-6) |
6300743 |
การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติการเลือกใช้เทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติที่เหมาะสม การใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติที่สำคัญ การป้อนข้อมูล การจัดการข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลและการแปลผล การเขียนโปรแกรมสำหรับวิธีการทางสถิติ |
3 (2-2-5) |
6300873 |
เทคนิคการเลือกตัวอย่างการเลือกตัวอย่างไม่ใช้ความน่าจะเป็น และใช้ความน่าจะเป็น แนวคิดพื้นฐานและประโยชน์ของการสำรวจด้วยตัวอย่าง วิธีการเลือกตัวอย่างอย่างง่าย การกำหนดขนาดตัวอย่าง วิธีการเลือกตัวอย่างแบบชั้นภูมิ วิธีการเลือกตัวอย่างแบบระบบ วิธีการเลือกตัวอย่างแบบกลุ่มชั้นเดียวและหลายชั้น การหาค่าประมาณโดยใช้อัตราส่วนและการถดถอย ความคลาดเคลื่อนจากการสำรวจตัวอย่าง |
3 (3-0-6) |
6300874 |
การวิจัยดำเนินงานลักษณะการวิจัยดำเนินการ กำหนดการเชิงเส้น การสร้างตัวแบบคณิตศาสตร์ การหาผลเฉลยโดยวิธีกราฟและวิธีซิมเพล็กซ์ ปัญหากำหนดการเชิงเส้นไม่สม่ำเสมอ ปัญหาควบคู่ การวิเคราะห์ความไว ตัวแบบการขนส่ง ตัวแบบการกำหนดงาน การวางแผนและควบคุมโครงการด้วยเพิร์ตและ ซีพีเอ็ม ทฤษฎีเกม และการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ |
3 (3-0-6) |
6300875 |
การแปลงข้อมูลทางสถิติการเปลี่ยนสภาพของข้อมูลที่ศึกษาให้มีการแจกแจงแบบปกติหรือทำให้ความแปรปรวนมีค่าเท่ากัน วิธีการแปลงแบบบ็อกซ์-ค็อกซ์ วิธีการแปลงโดยใช้รากที่สอง วิธีการแปลงโดยใช้ลอกาลิทึม วิธีการแปลงโดยใช้รากที่สองของการกลับเศษส่วน และวิธีการแปลงโดยใช้เศษส่วน |
3 (3-0-6) |
6300876 |
ฐานข้อมูล NoSQLเรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีของ NoSQL สำหรับการใช้งานกับข้อมูลที่ไม่มีโครงสร้าง และระบบการเรียกค้นข้อมูลในลักษระที่เป็นเอกสาร เรียนรู้การจัดทำดัชนี และการกำหนดคะแนนให้กับเอกสาร เพื่อกำหนดผลลัพธ์ให้กับผู้ใช้ได้อย่างมีประสทิธิภาพ การเขียนโปรแกรมสำหรับการจัดเตรียมข้อมูล การสกัดข้อมูล โดยการใช้แหล่งข้อมูล และรูปแบบไฟล์หลากหลายรูปแบบที่แตกต่างกัน |
3 (2-2-5) |
6300877 |
การสืบค้นข้อมูลและค้นหาเว็บกระบวนการทางคอมพิวเตอร์สำหรับโครงสร้าง การวิเคราะห์ การจัดการ จัดเก็บ ค้นหา และค้นคืนสารสนเทศ ทฤษฏี และ ปฏิบัติทางเทคโนโลยีที่เกี่ยวช้องได้แก่ เครื่องมือในการค้น ความเกี่ยวเนื่องของรูปแบบ และวิธีการสำหรับการนำเสนอ จัดเรียง ค้นหา เรียกดู และสรุป ข้อมูลสารสนเทศ ตามความต้องการของผู้ใช้งาน |
3 (2-2-5) |
6300878 |
การเรียนรู้ของเครื่องจักรทฤษฏีและปฏิบัติเกี่ยวกับการเรียนรู้ของเครื่องจักร สมการถดถอยเชิงเส้น การถดถอยโลจิสติก ต้นไม้ตัดสินใจ โครงข่ายประสาทการเรียนรู้ ซัพพอร์ตเวกเตอร์แมชชีน วิธีการเคอร์เนล แบกกิ้ง บูสติ้ง แรนดอมฟอร์เรส การเรียนรู้แบบรวมกลุ่ม การเรียนรู้เชิงลึก การเรียนรู้โดยไม่มีผู้สอน ได้แก่ การใช้ เคมีน และ การจัดกลุ่มแบบ agglomerative ลำดับชั้น การเรียนรู้แบบกึ่งมีผู้สอน การเรียนรู้แบบแอคทีฟ และการเรียนรู้แบบเสริมกำลัง การฝึกใช้อัลกอริทึมสำหรับการเรียนรู้ของเครื่องจักร การออกแบบการทดลอง และทฤษฏีการเรียนรู้ของคอมพิวเตอร์ |
3 (2-2-5) |
6300879 |
ปัญญาประดิษฐ์ทฤษฏีและปฏิบัติเกี่ยวกับปัญญาประดิษฐ์ เทคนิคสมัยใหม่สำหรับคอมพิวเตอร์เพื่อแสดงสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับงาน และสร้างการตัดสินใจอย่างฉลาด เช่น ความพอใจ หรือความเหมาะสม เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ วิธีค้นหาและแก้ปัญหาที่เหมาะสมกับอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น ก่อสร้าง การแพทย์ การเงิน หุ่นยนต์ และระบบสารสนเทศ ค้นหาคำถามสำหรับระบบ AI ได้แก่ วิธีการนำเสนอองค์ความรู้ วิธีการสร้างลำดับการทำงาน และวิธีการหาแนวทางที่เหมาะสม หรือใกล้เคียงต่าง ๆ การจัดการความไม่แน่นอนในโลกความเป็นจริง การเรียนรู้จากประสบการณ์และการเรียนรู้กฏการตัดสินใจจากข้อมูล |
3 (2-2-5) |
6300880 |
การรู้จำแบบวิธีการ เทคโนโลยี และอัลกอริทึมของการจดจำรูปแบบทางสถิติ ด้วยมุมมองต่าง ๆ การใช้ทฤษฏีการตัดสินใจแบบ Bayesian ทฤษฏีการประมาณ ฟังก์ชันการแจกแจงเชิงเส้น เทคนิคนอนพาราเมตริก ซัพพอร์ตเวกเตอร์แมชชีน โครงข่ายปราสาทเทียม ต้นไม้ตัดสินใจ อัลกอรึทึมการจัดกลุ่ม |
3 (2-2-5) |
6300881 |
ระบบปฏิบัติการแนวคิดในการวิเคราะห์และออกแบบระบบปฏิบัติการทั่วไป ประกอบด้วย กระบวนการ การจัดสรรทรัพยากร การจัดการแฟ้มข้อมูล ในลักษณะของการนำเสนอ และการวิเคราะห์ถึงสถาปัตยกรรมและประสิทธิภาพที่แตกต่างกัน ของระบบปฏิบัติการต่าง ๆ |
3 (2-2-5) |
6300882 |
ชีวสารสนเทศรูปแบบชีวสารสนเทศ วิธีการดึงข้อมูลจากลำดับของดีเอ็นเอ โปรตีน และโครงสร้างข้อมูลของโปรตีน จากฐานข้อมูล การจัดเรียง และการกำหนดวิธีการค้นหาข้อมูลที่เฉพาะ หรือจากไฟล์ในรูปแบบทั่วไป จากลำดับของฐานข้อมูล ด้วยสายโปรตีน และโครงสร้างฐานข้อมูล ฐานข้อมูลสิ่งมีชีวิต การค้นหาและเข้าถึงข้อมูลด้วยเครื่องมือมาตรฐานต่าง ๆ เช่น Entrez DBGET และ SRS การส่งข้อมูลที่แก้ไขใหม่ การค้นหาข้อมูลที่คล้ายคลึงกัน ทั้งในแบบโลคอล และโกลบอล เกณฑ์การวัดคะแนน การเขียนโปรแกรมแบบไดนามิก วิธีของเดอมาน-วานซ์ และ วิธีสมิธ-วอเตอร์แมน วิธีการแก้ปัญหาด้วยการจัดเรียงลำดับแบบ FASTA BLAST และ PSI BLAST การจัดตำแหน่งหลายระดับ และซอฟต์แวร์สำหรับการจับคู่ และการจัดลำดับชั้น การวิเคราะห์ทางจีโนม ด้วยซอฟต์แวร์ที่มีอยู่ การค้นหา ORF วิเคราะห์สายวิวัฒนาการ การเปรียบเทียบจีโนม ฮอร์โธแกรม พาราล็อก วิธีการวิเคราะห์สายวิวัฒนาการด้วย UPGMA WPGMA การรวมสายใกล้เคียงเข้าด้วยกัน วิธี Flitch/Margoliash วิธีอิงอักขระ |
3 (2-2-5) |
6300883 |
การเรียนรู้เชิงลึกความท้าทายด้านคณิตศาสตร์ สถิติ และ คอมพิวเตอร์ เพื่อสร้างเสถียรภาพของข้อมูลหลายมิติ เช่น รูปภาพ ข้อความ และข้อมูลต่าง ๆ การเจาะลึกถึงหัวข้อต่างๆ และ วิพากษ์ถึงโมเดลล่าสุดต่าง ๆ ของการเรียนรู้เชิงลึก ประกอบไปด้วยการเรียนรู้แบบมีผู้สอน หรือ การเรียนรู้แบบไม่มีผู้สอน รวมไปถึง convolutional architectures invariance learning และ non-convex optimization |
3 (2-2-5) |
6300884 |
การออกแบบซอฟต์แวร์สำหรับวิทยาการข้อมูลแนวทางการออกแบบและพัฒนาซอฟต์แวร์ ทั้งหลักแนวคิดและการฝึกปฏิบัติ ประกอบด้วย การควบคุมเวอร์ชันของซอฟต์แวร์ การทดสอบ และการจัดการการสร้างแบบอัตโนมัติ การจัดทำเครื่องมือพื้นฐานสำหรับการใช้งานในวิทยาการข้อมูล การใช้คำสั่งผ่านเชลล์ เพื่อการควบคุมเวอร์ชั่นซอฟต์แวร์ผ่านทาง GIT & GITHub การเขียนโปรแกรมด้วยภาษา Python เพื่อดำเนินการกับข้อมูล และการสำรวจข้อมูล การเรียนรู้การสร้างแอพพลิเคชั่นเพื่อใช้งานข้อมูลจริง |
3 (2-2-5) |
6300885 |
คอมพิวเตอร์วิทัศน์หลักการพื้นฐานเกี่ยวกับการมองเห็นรูปแบบภาพของคอมพิวเตอร์ เรขาคณิตของภาพ คุณสมบัติของการจับคู่ภาพ ลักษณะทางสามมิติ การประมาณการและติดตามการเคลื่อนไหว การจำแนกภาพ และความเข้าใจในองค์ประกอบภาพ การพัฒนาวิธีการพื้นฐานสำหรับใช้งาน ประกอบด้วย การค้นหารูปแบบภาพ มิติความลึก การสอบเทียบกล้อง เสถียรภาพของภาพ การจัดแนวอัตโนมัติ การตรวจจับ ขอบเขตของการตรวจพบ และรู้จำ การพัฒนาความเข้าใจและวิธีการทางคณิตศาสตร์ในแต่ละวิธีการ การเรียนรู้ถึงความแตกต่างระหว่างทฤษฏี และการปฏิบัติในแต่ละโครงงาน |
3 (2-2-5) |
6300886 |
ระบบคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูงการประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่อย่างมีประสิทธิภาพ และการเรียนรู้ถึงฐานข้อมูลแบบ nonrelational รวมถึงอัลกอริทึมสำหรับการประมวลผลแบบกระจายสำหรับข้อมูลขนาดใหญ่ผ่านทางคลัสเตอร์ต่าง ๆ อัลกริทึมแบบขนานเพื่อการประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่ การใช้เครื่องมือและซอฟต์แวร์ที่สำคัญต่าง ๆ เช่น Hadoop Pig Hive และภาษา Python เพื่อการเปรียบเทียบการประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่ผ่านบริการแบบคลาวด์ |
3 (2-2-5) |
6300887 |
คลังข้อมูลและการประยุกต์แนวคิดคลังข้อมูล สถาปัตยกรรมคลังข้อมูล แบบจำลองข้อมูลสำหรับคลังข้อมูล เทคโนโลยีคลังข้อมูล เครื่องมือต่าง ๆ ที่ใช้ในการพัฒนาคลังข้อมูล การประมวลผลเชิงวิเคราะห์ข้อมูลในหลายมิติ การออกแบบและการสร้างคลังข้อมูล แอปพลิเคชั่นคลังข้อมูลในองค์การ ตลาดข้อมูล การทำเหมืองข้อมูลขั้นต้น และกรณีศึกษา |
3 (2-2-5) |
6300888 |
ข้อมูลขนาดใหญ่ปัญหา ความท้าทาย แนวโน้ม และการใช้งานข้อมูลขนาดใหญ่ อัลกอริทึมสำหรับวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ อัลกอริทึมสำหรับการทำเหมืองข้อมูลและอัลกอริทึม สำหรับงานเฉพาะด้านของข้อมูลขนาดใหญ่ เทคโนโลยีในการบริหารจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ เครื่องมือ และเทคโนโลยีสำหรับข้อมูลขนาดใหญ่ การใช้งาน และระบบนิเวศของ MapReduce Hadoop หรือ noSQL ต่าง ๆ |
3 (2-2-5) |
6300889 |
การประมวลผลภาพดิจิตอลหลักการภาพดิจิทัล การสร้างภาพ การแปลงภาพ การปรับปรุงภาพ การกรองภาพ การบูรณะภาพ การแบ่งส่วนภาพ การบีบอัดภาพ การซ้อนทับภาพ การแทนและการอธิบายภาพ การประมวลผลภาพสี การประยุกต์การประมวลผลภาพดิจิทัลในปัจจุบัน |
3 (2-2-5) |
รหัสวิชา | ชื่อวิชา | หน่วยกิต |
---|---|---|
6300512 |
การเตรียมฝึกประสบการณ์การวิชาชีพจัดเตรียมความพร้อมของนักศึกษาก่อนฝึกประสบการณ์วิชาชีพทางด้านชีววิทยา ในหน่วยงานราชการ หรือองค์กรรัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานเอกชน ทั้งทางด้านบุคลิกภาพ การจัดการเอกสารและการใช้คอมพิวเตอร์ |
1 (0-2-1) |
6300514 |
การเตรียมสหกิจศึกษาหลักการ แนวคิด และกระบวนการของสหกิจศึกษา ระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง ความรู้พื้นฐานและเทคนิคในการสมัครงานอาชีพ ความรู้พื้นฐานในการปฏิบัติงาน การสื่อสารและมนุษย-สัมพันธ์ การพัฒนาบุคลิกภาพ ระบบการบริหารคุณภาพในสถานประกอบการ เทคนิคการนำเสนอ การเขียนรายงาน |
0 (30 ชั่วโมง) |
6300515 |
สหกิจศึกษาวิชาบังคับก่อน: รายวิชา 4004803 การเตรียมสหกิจศึกษา การปฏิบัติงานในลักษณะพนักงานชั่วคราว ตามโครงงานที่ได้รับมอบหมายตลอดจนการจัดทำรายงานและการนำเสนอ |
6 (16 สัปดาห์) |
6300747 |
การฝึกประสบการณ์วิชาชีพการฝึกงานในหน่วยงานภาครัฐ หรือหน่วยงานเอกชนด้านคณิตศาสตร์ คอมพิวเตอร์ หรือ สถิติ หรืองานที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งส่งรายงานต่อสาขาวิชา |
5 (450) |