รหัสวิชา | ชื่อวิชา | หน่วยกิต |
---|---|---|
6300640 |
ภาษาอังกฤษสำหรับการสื่อสารและการนำเสนอทางธุรกิจคำศัพท์ สำนวน และบทสนทนาที่ใช้ในการสื่อสารในสถานการณ์ต่าง ๆ ทางธุรกิจ การเตรียมนำเสนองาน การนำเสนองานทางธุรกิจ การนำเสนองานด้วยโสตทัศนูปกรณ์และสื่อประสมที่เหมาะสม |
3 (3-0-6) |
6300641 |
ภาษาอังกฤษสำหรับเทคโนโลยีมัลติมีเดียโครงสร้างภาษา คำศัพท์ภาษา การตีความหมาย และอภิปรายความหมาย ในงานโฆษณา สื่อสิ่งพิมพ์ นิตยสาร สื่อดิจิทัล ภาพยนตร์ แอนิเมชัน และเกม |
3 (3-0-6) |
6300642 |
คณิตศาสตร์และสถิติสำหรับเทคโนโลยีมัลติมีเดียความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับคณิตศาสตร์และสถิติที่จำเป็นสำหรับงานมัลติมีเดีย ระเบียบวิธีการทางสถิติในการวิจัย ความน่าจะเป็น การประมาณค่า การทดสอบสมมติฐาน การวิเคราะห์ ความแปรปรวน อนุกรมเวลา การพยากรณ์และการตัดสินใจทางธุรกิจ ทฤษฎีการตัดสินใจ กำหนดการเชิงเส้น ทฤษฎีเกม ตัวแบบแถวคอย และการตรวจสอบโครงการ |
3 (3-0-6) |
6300643 |
กฎหมายและจริยธรรมด้านเทคโนโลยีมัลติมีเดียกฎหมายที่เกี่ยวกับงานโฆษณา เทคโนโลยีสารสนเทศ การคุ้มครองผู้บริโภค การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล การทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ทรัพย์สินทางปัญญา และลิขสิทธิ์ จริยธรรมและจรรยาบรรณของวิชาชีพ |
3 (3-0-6) |
6300644 |
การเขียนสำหรับการสื่อสารในงานมัลติมีเดียการรวบรวมเนื้อหาจากการสืบค้น การสัมภาษณ์ ย่อความ การจับใจความ การขยายความ การพัฒนาแนวคิดอย่างเป็นลำดับขั้นตอนมาสู่การวางเค้าโครงเรื่อง การเขียนบท และการนำมาใช้กับอินโฟกราฟิก สไลด์ ภาพยนตร์ แอนิเมชัน สื่อประชาสัมพันธ์ และสื่อสังคมออนไลน์ และฝึกปฏิบัติสร้างเขียนสำหรับการสื่อสารในงานมัลติมีเดีย |
3 (2-2-5) |
รหัสวิชา | ชื่อวิชา | หน่วยกิต |
---|---|---|
6300645 |
การเป็นผู้ประกอบการในธุรกิจดิจิทัลปรัชญาและแนวคิดของการเป็นผู้ประกอบการในธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก (SMEs) การจัดตั้งองค์กรธุรกิจ การบริหารจัดการ รูปแบบของธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก การเขียนแผนธุรกิจ คุณสมบัติของผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จ จริยธรรมของผู้ประกอบการ กรณีศึกษาผู้ประกอบการในธุรกิจด้านมัลติมีเดียและแอนิเมชันที่ประสบความสำเร็จทั้งชาวไทยและต่างประเทศ และฝึกปฏิบัติเป็นผู้ประกอบการในธุรกิจดิจิทัล |
3 (2-2-5) |
6300646 |
หลักการเขียนโปรแกรมพื้นฐานการเขียนโปรแกรม ขั้นตอนการพัฒนาโปรแกรม อัลกอริทึม ตัวแปลภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ชนิดข้อมูลและตัวแปร อาร์เรย์ ตัวดำเนินการ การรับและแสดงผลข้อมูล โครงสร้างควบคุม ฟังก์ชัน แนวคิดพื้นฐานการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ การทดสอบและการแก้จุดบกพร่องในโปรแกรม และฝึกปฏิบัติการเขียนโปรแกรม |
3 (2-2-5) |
6300647 |
การเขียนโปรแกรมมัลติมีเดียโครงสร้างและหลักการเขียนโปรแกรมในเชิงวัตถุ ประยุกต์ใช้ในการเขียนโปรแกรมมัลติมีเดีย โดยผสมด้วยภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว วีดีโอ เสียง และตัวอักษรในการสร้างสื่อประสม เชิงโต้ตอบ และฝึกปฏิบัติการเขียนโปรแกรมมัลติมีเดีย |
3 (2-2-5) |
6300648 |
องค์ประกอบศิลป์สำหรับงานมัลติมีเดียหลักการและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับองค์ประกอบศิลป์ หลักการประมวลความคิด ในเชิงสร้างสรรค์ด้านทัศนศิลป์ การจัดองค์ประกอบศิลป์ การปฏิบัติงานสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ และการออกแบบเพื่องานมัลติมีเดีย |
3 (2-2-5) |
6300649 |
การวาดเส้นพื้นฐานสำหรับงานมัลติมีเดียแนวคิด หลักการวิธีการวาดเส้น การวิเคราะห์โครงสร้างรูปทรงของวัตถุ แสงเงาระยะใกล้ไกล รวมถึงน้ำหนัก การพัฒนาไปสู่รูปร่างที่มีความสลับซับซ้อนมากขึ้น กายวิภาคของคน สัตว์ ทิวทัศน์ อาคาร และการประยุกต์ใช้ทฤษฎี |
3 (2-2-5) |
6300650 |
การเขียนบท ออกแบบตัวละคร และสร้างสตอรี่บอร์ดการวางโครงเรื่อง การสร้างเนื้อเรื่อง การเขียนบท การสร้างบุคลิกตัวละครและวาดตัวละคร การวางมุมกล้อง การสร้างสตอรี่บอร์ด และการประยุกต์ใช้ทฤษฎี |
3 (2-2-5) |
6300651 |
คอมพิวเตอร์แอนิเมชัน 2 มิติประวัติความเป็นมาของงานแอนิเมชัน การใช้งานแอนิเมชัน แนวคิดในการสร้างภาพเคลื่อนไหว 2 มิติ การสร้างการเคลื่อนไหว การสร้างท่าทางของภาพเคลื่อนไหว การแสดงท่าทาง การออกแบบและการใส่เสียงประกอบภาพเคลื่อนไหว การใช้งานซอฟต์แวร์สำหรับภาพเคลื่อนไหว 2 มิติ |
3 (2-2-5) |
6300652 |
เทคโนโลยีความเป็นจริงผสมหลักการของเทคโนโลยีความจริงแบบผสมผสาน องค์ประกอบ และประเภทเทคนิคที่เกี่ยวข้องกับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีแบบผสมผสาน การเปลี่ยนแปลงจากโลกความจริงสู่โลกความจริงเสมือน การปฏิสัมพันธ์ทั้งวัตถุจริงและวัตถุเสมือนที่ผสมผสานกัน และฝึกปฏิบัติสร้างความเป็นจริงผสม |
3 (2-2-5) |
6300653 |
ดนตรีและเสียงประกอบสำหรับงานมัลติมีเดียบทบาทของเสียงในการเล่าเรื่อง ความสัมพันธ์ของภาพและเสียง หลักการออกแบบเสียง และดนตรีที่เหมาะสมกับภาพยนตร์ วิดิทัศน์ และแอนิเมชัน และการประยุกต์ใช้ทฤษฎี |
3 (2-2-5) |
6300654 |
การสร้างโมเดล 3 มิติหลักการเบื้องต้นของโมเดล 3 มิติ พื้นฐานการสร้างโมเดล 3 มิติ การสร้างโมเดลอุปกรณ์ฉากและอุปกรณ์ประกอบ การสร้างโมเดลโครงร่างของมนุษย์และสัตว์ การใส่กระดูก พื้นผิว กล้อง แสง ฝึกปฏิบัติการสร้างโมเดล 3 มิติ |
3 (2-2-5) |
6300655 |
คอมพิวเตอร์แอนิเมชัน 3 มิติพื้นฐานคอมพิวเตอร์แอนิเมชัน 3 มิติ แนวคิดการสร้างภาพเคลื่อนไหว 3 มิติ องค์ประกอบของการกระทำ ลักษณะการเคลื่อนไหวของร่างกาย การจัดองค์ประกอบของงานแอนิเมชัน หลักการในการสร้างและควบคุมกระดูก ฝึกปฏิบัติใช้งานซอฟต์แวร์สำหรับภาพเคลื่อนไหว 3 มิติ |
3 (2-2-5) |
6300656 |
คอมพิวเตอร์แอนิเมชัน 3 มิติขั้นสูงโมชันแทรคกิ้ง วัสดุและพื้นผิวของวัตถุ การจำลองทางฟิสิกส์ การจัดแสงในสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ หลักการของการเรนเดอร์ การเรนเดอร์ด้วยเรนเดอร์ฟาร์ม การเรนเดอร์ในงานภาพยนตร์และภาพยนตร์แอนิเมชัน การซ้อนภาพในกระบวนการหลังการผลิต และฝึกปฏิบัติการสร้าง แอนิเมชัน 3 มิติ |
3 (2-2-5) |
6300657 |
การออกแบบและผลิตเกมแนวคิดการออกแบบเกม การวิเคราะห์กลุ่มผู้เล่น การเตรียมข้อมูลสำหรับการออกแบบเกม การออกแบบด่าน การออกแบบส่วนปฏิสัมพันธ์ในเกม การเล่าเรื่อง เครื่องมือที่ใช้ในการสร้างเกม และฝึกปฏิบัติออกแบบและผลิตเกม |
3 (2-2-5) |
6300658 |
การผลิตวิดีโอดิจิทัลหลักการและเทคนิควิธีการถ่ายวิดีโอ การจัดแสง การกำหนดมุมกล้อง การตัดต่อวีดีโอ การผสมภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และตัวอักษรให้เข้ากับวีดีโอ การสร้างวีดีโอเพื่อนำไปใช้ ในการประชาสัมพันธ์ และฝึกปฏิบัติผลิตวิดีโอดิจิทัล |
3 (2-2-5) |
6300659 |
วิชวลเอฟเฟกต์การออกแบบและการผลิตวิชวลเอฟเฟกต์เบื้องต้น อุปกรณ์ในการสร้างวิชวลเอฟเฟกต์การใช้วิชวล เอฟเฟกต์ สำหรับแอนิเมชัน ภาพวีดิทัศน์ ภาพนิ่ง เกม และฝึกปฏิบัติการสร้างวิชวลเอฟเฟกต์ |
3 (2-2-5) |
6300660 |
การปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และคอมพิวเตอร์หลักการและแนวคิดของการปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และคอมพิวเตอร์ การสื่อสารผ่านคอมพิวเตอร์ แบบจำลองการปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์กับคอมพิวเตอร์ ขีดความสามารถของมนุษย์และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ความสามารถในการใช้งานของการปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และคอมพิวเตอร์ การออกแบบและพัฒนาการปฏิสัมพันธ์ แนวโน้มของการปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และคอมพิวเตอร์ ฝึกปฏิบัติออกแบบการปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และคอมพิวเตอร์ |
3 (2-2-5) |
6300661 |
เทคโนโลยีการถ่ายภาพดิจิทัลสำหรับงานมัลติมีเดียหลักการถ่ายภาพ การสื่อความหมายด้วยภาพ ส่วนประกอบและการทำงานของกล้องถ่ายภาพระบบดิจิทัล หลักการจัดองค์ประกอบภาพ ฝึกปฏิบัติการถ่ายภาพ |
3 (2-2-5) |
6300662 |
สัมมนาวิชาชีพด้านเทคโนโลยีมัลติมีเดียและแอนิเมชันหลักการบริหารจัดการ และการฝึกปฏิบัติเพื่อการจัดสัมมนารูปแบบต่าง ๆ ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับงานทางด้านเทคโนโลยีมัลติมีเดียและแอนิเมชัน เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการฝึกปฏิบัติการจัดสัมมนาวิชาชีพ |
3 (2-2-5) |
6300663 |
โครงงานเทคโนโลยีมัลติมีเดียและแอนิเมชัน 1การค้นคว้า วางแผน วิเคราะห์และออกแบบโครงงานทางด้านเทคโนโลยีมัลติมีเดียและแอนิเมชัน จัดทำข้อเสนอโครงงาน และนำเสนอต่อคณะกรรมการสอบตามข้อกำหนดของสาขาวิชา |
2 (0-4-2) |
6300664 |
โครงงานเทคโนโลยีมัลติมีเดียและแอนิเมชัน 2จัดทำโครงงานที่ต่อเนื่องจากรายวิชาโครงงานเทคโนโลยีมัลติมีเดียและแอนิเมชัน 1 สรุปผลโครงงาน และนำเสนอต่อคณะกรรมการสอบตามข้อกำหนดของสาขาวิชา |
3 (0-6-3) |
รหัสวิชา | ชื่อวิชา | หน่วยกิต |
---|---|---|
6300665 |
ระบบฐานข้อมูลแนวคิดเกี่ยวกับฐานข้อมูล การจัดการฐานข้อมูล ระบบการจัดการฐานข้อมูล สถาปัตยกรรมฐานข้อมูล แบบจำลองข้อมูล การออกแบบและพัฒนาฐานข้อมูล การทำนอร์มัลไลซ์ พจนานุกรมข้อมูล การใช้คำสั่งสอบถามและสืบค้นข้อมูล ความบูรณภาพข้อมูล การฝึกปฏิบัติ การจัดการฐานข้อมูล |
3 (2-2-5) |
6300666 |
เทคโนโลยีเครือข่ายเบื้องต้นองค์ประกอบของระบบการสื่อสารข้อมูล สัญญาณข้อมูลและส่วนประกอบสื่อส่งข้อมูลเทคโนโลยีในการส่งผ่านข้อมูลโปรโตคอล การประยุกต์ใช้การส่งข้อมูลด้วยสัญญาณอนาล็อกและดิจิทัล การสื่อสารร่วมกันของเครือข่าย สถาปัตยกรรมเทคโนโลยีเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และ ฝึกปฏิบัติกับอุปกรณ์เครือข่าย |
3 (2-2-5) |
6300667 |
การพัฒนาแอปพลิเคชันบนอุปกรณ์เคลื่อนที่เทคโนโลยีและระบบปฏิบัติการที่ใช้ในอุปกรณ์เคลื่อนที่ การออกแบบและพัฒนา แอปพลิเคชัน ภาษาและเครื่องมือสำหรับการพัฒนา การใช้ระบบฐานข้อมูล การเขียนโปรแกรมกับอุปกรณ์ตรวจจับสัญญาณ อุปกรณ์เชื่อมต่อเครือข่าย อุปกรณ์ถ่ายภาพ และการทดสอบโปรแกรม ฝึกปฏิบัติพัฒนาแอปพลิเคชันบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ |
3 (2-2-5) |
6300668 |
มัลติมีเดียและเทคโนโลยีเว็บเทคโนโลยีเว็บ โพรโทคอลและภาษามาตรฐาน โครงสร้างและองค์ประกอบของเว็บไซต์ ระบบการนำทาง เครื่องมือสำหรับการออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์ การสร้างแอนิเมชันบนเว็บไซต์ และเครื่องมือในการพัฒนาเว็บ 3 มิติ และฝึกปฏิบัติการสร้างเว็บไซต์ |
3 (2-2-5) |
6300669 |
หัวข้อพิเศษเกี่ยวกับเทคโนโลยีมัลติมีเดียและแอนิเมชันหัวข้อที่พิเศษที่น่าสนใจในปัจจุบันหรือเทคโนโลยีใหม่ในด้านเทคโนโลยีมัลติมีเดียและแอนิเมชัน ซึ่งจะกำหนดรายละเอียดวิชาตามความเหมาะสม |
3 (2-2-5) |
6300670 |
การจัดการการผลิตมัลติมีเดียและแอนิเมชันความรู้พื้นฐานในกระบวนการผลิตมัลติมีเดีย การวางแผนและเขียนโครงการ การบริหารงบประมาณ การควบคุมคุณภาพ การบริหารความเสี่ยง การติดตามและประเมินผล การจัดการทรัพยากร และการใช้แอปพลิเคชันเพื่อจัดการมัลติมีเดียและแอนิเมชัน และฝึกปฏิบัติการจัดการการผลิตมัลติมีเดียและแอนิเมชัน |
3 (2-2-5) |
6300671 |
การสร้างภาพยนตร์สต๊อปโมชันกระบวนการการทำสตอปโมชัน เทคนิคการทำสตอปโมชัน เคลย์แอนิเมชัน คัตเอาต์แอนิเมชัน กราฟิกแอนิเมชัน โมเดลแอนิเมชัน พิกซิลเลชัน และฝึกปฏิบัติการสร้างภาพยนตร์สสร้างภาพยนตร์สต๊อปโมชันต๊อปโมชัน |
3 (2-2-5) |
6300672 |
เทคนิคการเรนเดอร์ภาพ 3 มิติหลักการของการเรนเดอร์ ซอฟต์แวร์สำหรับเรนเดอร์ การกระจายการเรนเดอร์ด้วยเรนเดอร์ฟาร์ม การจัดการการเรนเดอร์สำหรับงานภาพยนตร์และแอนิเมชัน และฝึกปฏิบัติการเรนเดอร์ภาพ 3 มิติ |
3 (2-2-5) |
6300673 |
เทคโนโลยีการจับภาพเคลื่อนไหวอุปกรณ์โมชันแคปเจอร์ การประยุกต์การใช้งานโมชันแคปเจอร์ กระดูกโมชันแคปเจอร์ โมชันแคปเจอร์แบบมาร์กเกอร์และมาร์กเกอร์เลส ประสิทธิภาพของโมชันแคปเจอร์ การต่อประสานระหว่างซอฟต์แวร์แบบจำลอง 3 มิติกับโมชันแคปเจอร์ และฝึกปฏิบัติการจับภาพเคลื่อนไหว |
3 (2-2-5) |
6300674 |
วัสดุพื้นผิว การจัดแสงและเรนเดอร์สำหรับงานแอนิเมชัน 3 มิติประเภทของเชดเดอร์ วัสดุและพื้นผิวของวัตถุ ยูวีแมปปิง นอร์มอลแมปปิง บัมพ์แมปปิง ดิสเพลสเมนต์แมปปิง เท็กเจอร์แมปปิง ประเภทของแสง การจัดแสงในสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ หลักการของการเรนเดอร์ โกลบอลอินลูมิเนชัน เรดิโอซิตี้ เรย์เทรซซิ่ง พาธเทรซซิ่ง โฟตอนแมปปิง และการเรนเดอร์ในงานภาพยนตร์และแอนิเมชัน และการประยุกต์ใช้ทฤษฎี |
3 (2-2-5) |
6300675 |
เทคนิคการซ้อนภาพสำหรับกระบวนการหลังผลิตหลักการในการซ้อนภาพในกระบวนการหลังการผลิตสำหรับงานเทคนิคพิเศษและงานแอนิเมชัน การจัดการการซ้อนภาพ การซ้อนภาพสำหรับการเรนเดอร์แบบมัลติพาส และเทคนิคการซ้อนแบบโครมาคีย์ในวิชวลเอฟเฟกต์ และการประยุกต์ใช้ทฤษฎี |
3 (2-2-5) |
6300676 |
การควบคุมโครงกระดูกขั้นสูงสำหรับงานแอนิเมชันหลักการในการสร้างและควบคุมกระดูกเสมือนสำหรับงานแอนิเมชัน การควบคุมกระดูกเสมือนแบบพื้นฐาน การควบคุมกระดูกเสมือนโดยใช้โปรแกรม การจัดการตัวควบคุมกระดูกเสมือน การสร้างกระดูกเสมือนแบบ จลนศาสตร์แบบไปข้างหน้าและจลนศาสตร์แบบผกผัน การสร้างกระดูกมนุษย์ สัตว์ และวัตถุที่สามารถขยับได้ และฝึกปฏิบัติควบคุมกระดูกสำหรับงานแอนิเมชัน |
3 (2-2-5) |
6300677 |
คณิตศาสตร์และฟิสิกส์สำหรับแอนิเมชันและเกมเวกเตอร์ เมทริกซ์ ระบบพิกัด 2 มิติ และ 3 มิติ วัตถุแข็งแกร่ง การเคลื่อนที่ จุดศูนย์วัตถุ ความสมดุลของวัตถุ แสงและการสะท้อน และการประยุกต์ใช้ทฤษฎี |
3 (2-2-5) |
6300678 |
การพัฒนาเกมออนไลน์การออกแบบและสร้างฐานข้อมูลสำหรับเกมออนไลน์ การเขียนโปรแกรมสำหรับ การรับส่งข้อมูลระหว่างเครื่องลูกข่ายและแม่ข่าย การออกแบบและสร้างส่วนติดต่อกับผู้ใช้งานสำหรับเกมออนไลน์ เครื่องมือในการพัฒนาเกมออนไลน์ และฝึกพัฒนาเกมออนไลน์ |
3 (2-2-5) |
6300679 |
เทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือนหลักการของความจริงเสมือน องค์ประกอบพื้นฐานของความจริงเสมือน เครื่องมือสำหรับการสร้างความจริงเสมือน การออกแบบสภาพแวดล้อมเสมือนจริง การผสานเทคโนโลยีความจริงเสมือน การประยุกต์ใช้ความจริงเสมือน และฝึกปฏิบัติสร้างความเป็นจริงเสมือน |
3 (2-2-5) |
6300680 |
การพัฒนาเกมบนอุปกรณ์เคลื่อนที่เทคโนโลยีและระบบปฏิบัติการที่ใช้ในอุปกรณ์เคลื่อนที่ ความสามารถและข้อจำกัดของอุปกรณ์เคลื่อนที่สำหรับเกม การออกแบบสร้างส่วนติดต่อกับผู้ใช้งานสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ เครื่องมือในการพัฒนาเกมสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ และฝึกปฏิบัติการพัฒนาเกมบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ |
3 (2-2-5) |
6300681 |
เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมหลักการของเทคโนโลยีโลกเสมือนผสานโลกจริง การประยุกต์ใช้ โครงสร้าง และหลักการทำงาน องค์ประกอบและเครื่องมือในการพัฒนา การสร้างสภาวะแวดล้อมแบบโลกเสมือนผสานโลกจริง เทคนิคการตรวจจับวัตถุ การแสดงวัตถุบนสภาพแวดล้อมจริง และฝึกปฏิบัติสร้างความเป็นจริงเสริม |
3 (2-2-5) |
6300682 |
การผลิตงานมัลติมีเดียสำหรับการโฆษณาและประชาสัมพันธ์หลักการการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ ขั้นตอนการผลิตสื่อเพื่อการโฆษณา ผลทางจิตวิทยาที่มีต่อผู้รับสาร ความสัมพันธ์ระหว่างความคิดสร้างสรรค์และเนื้อหา การเขียนบทโฆษณา การประเมินคุณภาพของสื่อ และฝึกปฏิบัติผลิตสื่อโดยใช้แอปพลิเคชัน |
3 (2-2-5) |
6300683 |
การผลิตงานมัลติมีเดียสำหรับการเรียนการสอนหลักการออกแบบมัลติมีเดียสำหรับสื่อการเรียนการสอน ทฤษฎีการเรียนรู้ รูปแบบ การปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน ขั้นตอนและกระบวนการพัฒนาบทเรียนมัลติมีเดีย การประเมินคุณภาพของสื่อการเรียนการสอน และฝึกปฏิบัติผลิตสื่อโดยใช้แอปพลิเคชัน |
3 (2-2-5) |
6300684 |
เครื่องมือเชิงสร้างสรรค์สำหรับสื่อดิจิทัลประเภทของสื่อดิจิทัล พัฒนาการของเครื่องมือในการผลิตสื่อดิจิทัล เทคนิค และวิธีการในการสร้างสื่อดิจิทัล การออกแบบองค์ประกอบศิลป์ เสียง ภาพ และเทคนิคพิเศษสำหรับสื่อสิ่งพิมพ์และระบบออนไลน์ กระบวนการผลิตสื่อดิจิทัล การเผยแพร่สื่อดิจิทัล ฝึกปฏิบัติการใช้เครื่องมือสำหรับผลิตสื่อดิจิทัล |
3 (2-2-5) |
รหัสวิชา | ชื่อวิชา | หน่วยกิต |
---|---|---|
6300685 |
เตรียมสหกิจศึกษาและฝึกประสบการณ์วิชาชีพเทคโนโลยีมัลติมีเดียและแอนิเมชันการเตรียมความพร้อมของผู้เรียนก่อนปฏิบัติงานสหกิจศึกษา หรือฝึกประสบการณ์วิชาชีพในด้านการรับรู้ลักษณะและโอกาสของการประกอบอาชีพ บริบททางสังคม ความปลอดภัยในการประกอบวิชาชีพ การวิเคราะห์และเลือกใช้เครื่องมือในการประกอบวิชาชีพ การพัฒนาตัวผู้เรียนให้ตระหนักในเรื่องของทรัพย์สินทางปัญญา คุณธรรม จริยธรรมในวิชาชีพ รู้ทักษะ เจตคติ แรงจูงใจ และคุณลักษณะที่เหมาะสมกับวิชาชีพเทคโนโลยีมัลติมีเดีย |
1 (0-2-1) |
6300686 |
ฝึกประสบการณ์วิชาชีพเทคโนโลยีมัลติมีเดียและแอนิเมชันฝึกประสบการณ์วิชาชีพด้านเทคโนโลยีมัลติมีเดียในองค์การหรือหน่วยงานที่สถานประกอบธุรกิจที่เหมาะสมเพื่อได้รับความรู้ ทักษะ เจตคติและประสบการณ์ในอาชีพ |
5 (300) |
6300687 |
สหกิจศึกษาการทำงานจริงเชิงวิชาการ หรือวิชาชีพเสมือนหนึ่งเป็นพนักงานเต็มเวลาในสถานประกอบการ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทางด้านเทคโนโลยีมัลติมีเดียและแอนิเมชันเป็นเวลา 1 ภาค เรียน สหกิจศึกษาตามที่หลักสูตรกำหนดแต่ไม่น้อยกว่า 16 สัปดาห์ |
6 (16 สัปดาห์) |