รหัสวิชา | ชื่อวิชา | หน่วยกิต |
---|---|---|
6300320 |
แคลคูลัสและเรขาคณิตวิเคราะห์เรขาคณิตแบบยุคลิด การค้นพบเรขาคณิตนอกแบบยุคลิด เรขาคณิตวิเคราะห์เบื้องต้น เรขาคณิตวิเคราะห์ว่าด้วยเส้นตรง วงกลม และภาคตัดกรวย ลิมิตและความต่อเนื่องของฟังก์ชัน อนุพันธ์ของฟังก์ชันพีชคณิตและฟังก์ชันอดิศัย หลักเกณฑ์โลปีตาล ปริพันธ์ของฟังก์ชันพีชคณิตและฟังก์ชันอดิศัย การประยุกต์ของอนุพันธ์และปริพันธ์ |
3 (3-0-6) |
6300321 |
ความน่าจะเป็นและสถิติแนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับความน่าจะเป็น การแจกแจงความน่าจะเป็น การแจกแจงแบบสุ่ม การประมาณค่า ช่วงแห่งความเชื่อมั่น การทดสอบสมมติฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวน การถดถอย ค่าสหสัมพันธ์ การทดสอบไคกำลังสอง สถิติไม่อิงพารามิเตอร์ |
3 (3-0-6) |
6300322 |
โครงสร้างดิสครีตทฤษฎีเซต ลำดับ ฟังก์ชัน ตรรกศาสตร์ การเติบโตของฟังก์ชัน ฟังก์ชันก่อกำเนิด วิธีการพิสูจน์และอุปนัยวิธีทางคณิตศาสตร์ นิยามและขั้นตอนวิธีแบบเรียกซ้ำ วิธีการนับและความสัมพันธ์แบบซ้ำ ความสัมพันธ์ ความน่าจะเป็นแบบไม่ต่อเนื่อง ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับทฤษฎีกราฟและต้นไม้ และการนำดิสครีตไปใช้ |
3 (2-2-5) |
6300323 |
วิธีการคำนวณเชิงตัวเลขและการจำลองแบบการศึกษาเกี่ยวกับการคำนวณและวิธีการทางคณิตศาสตร์ของคอมพิวเตอร์ ระบบจำนวน การแทนจำนวน พีชคณิตแบบบูล ซอฟต์แวร์การคำนวณและอัลกอริทึมทางคณิตศาสตร์ ข้อผิดพลาดการแก้ไขรหัส ชุดข้อมูลแบบฟัซซี่ ทฤษฎีการเขียนรหัส ความสามารถในการคำนวณและความซับซ้อน เครื่องจักรแบบทัวริง การประยุกต์ใช้วิธีการทางคณิตศาสตร์กับการเขียนโปรแกรม |
3 (2-2-5) |
รหัสวิชา | ชื่อวิชา | หน่วยกิต |
---|---|---|
6300324 |
ภาษาอังกฤษสำหรับวิทยาการคอมพิวเตอร์โครงสร้างภาษาอังกฤษ คำศัพท์ หลักการอ่าน การฟัง การพูด การเขียน การนำเสนอ การค้นคว้า และการวิเคราะห์ข้อมูลภาษาอังกฤษ ในบริบททางด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยี |
3 (3-0-6) |
6300325 |
หลักการระบบฐานข้อมูลสถาปัตยกรรมฐานข้อมูล แบบจำลองข้อมูล การออกแบบฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ พีชคณิตเชิงสัมพันธ์ แบบจำลองข้อมูลเชิงสัมพันธ์ แบบจำลองความสัมพันธ์เอนทิตี นอร์มอลฟอร์ม ระบบจัดการฐานข้อมูล ภาษาสืบค้นเชิงโครงสร้างพื้นฐานและซับซ้อน การดำเนินการธุรกรรม การควบคุมการทำงานพร้อมกัน |
3 (2-2-5) |
6300326 |
การออกแบบปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับคอมพิวเตอร์พื้นฐานการปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และคอมพิวเตอร์เพื่อการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ กระบวนการพัฒนาระบบแบบผู้ใช้เป็นศูนย์กลางของระบบ การประเมินและมาตรวัดความสามารถในการใช้งาน ปัจจัยของมนุษย์ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิสัมพันธ์กับระบบสารสนเทศ การออกแบบส่วนต่อประสานกับผู้ใช้และประสบการณ์ที่ดีของผู้ใช้ เทคนิคการสร้างตัวต้นแบบ นวัตกรรมการปฏิสัมพันธ์และการออกแบบส่วนต่อประสาน |
3 (2-2-5) |
6300327 |
การประมวลผลภาษาธรรมชาติทฤษฎีและปฏิบัติด้านภาษาธรรมชาติ การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อให้เข้าใจ สร้าง และเรียนรู้ภาษาธรรมชาติในบริบทด้านไวยกรณ์ ความหมาย และ วัจนปฏิบัติศาสตร์ ครอบคลุมเนื้อหาด้านการใช้ฐานความรู้และหลักสถิติสำหรับภาษาธรรมชาติ แสดงถึงเทคนิคการและเครื่องมือสำหรับใช้งานภาษาธรรมชาติ สำหรับกรณีศึกษาต่าง ๆ และข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับงานวิจัยสำหรับภาษาธรรมชาติ |
3 (2-2-5) |
6300328 |
โครงงานด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ 1หัวข้อคัดสรรด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ การวิเคราะห์ปัญหาและการเลือกใช้เครื่องมือ การวางแผนการดำเนินโครงงานทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ การสร้างผังงานเพื่อแสดงขั้นตอนการแก้ปัญหา การเรียบเรียงรายงานโครงงาน การอ้างอิงเชิงวิชาการ เทคนิคการนำเสนอ และจัดทำหัวข้อโครงงาน |
2 (0-4-2) |
6300329 |
โครงงานด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ 2วิเคราะห์ ออกแบบ และจัดทำโครงงานทางด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ทั้งระบบและรูปเล่มรายงานตามหัวข้อที่ได้เสนอในรายวิชาโครงงานด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ 1 และเผยแพร่ผลของโครงงานในที่ประชุมวิชาการ วารสาร หรือนำเสนอผลของโครงงานต่อคณะกรรมการหลักสูตร |
3 (0-6-3) |
6300330 |
การโปรแกรมและภาษาคอมพิวเตอร์ลักษณะและประเภทของภาษาคอมพิวเตอร์ ตัวแบบเชิงแนวคิด รหัสเทียม โครงสร้างการนิยามภาษา ไวยากรณ์และอรรถศาสตร์ การวิเคราะห์ศัพท์และการแจงส่วน ชนิดและโครงสร้างของข้อมูล โครงสร้างควบคุม โปรแกรมย่อย |
3 (2-2-5) |
6300331 |
การออกแบบและวิเคราะห์อัลกอริทึมพื้นฐานและแนวคิดของอัลกอริทึม อัลกอริทึมตัวเลขเบื้องต้น อัลกอริทึมแบบละโมบ อัลกอริทึมแบบแบ่งแยกและเอาชนะ กำหนดการพลวัต ฮิวริสติก การเปรียบเทียบสายอักขระ กราฟและอัลกอริทึมกราฟ เครื่องสถานะจำกัด นิพจน์ปรกติ |
3 (2-2-5) |
6300332 |
การพัฒนาซอฟต์แวร์สำหรับเดสก์ท็อปหลักการของการพัฒนาซอฟต์แวร์สำหรับเดสก์ท็อป กรอบแนวคิด การจัดการหน่วยความจำ การออกแบบส่วนต่อประสานกับผู้ใช้และประสบการณ์ที่ดีของผู้ใช้ เครื่องมือในการพัฒนาซอฟต์แวร์ การจัดการข้อมูล ข้อจำกัดในการพัฒนาโปรแกรมและแนวโน้มในการพัฒนาซอฟต์แวร์สำหรับเดสก์ท็อปในอนาคต |
3 (2-2-5) |
6300333 |
วิศวกรรมซอฟต์แวร์วิศวกรรมซอฟต์แวร์เบื้องต้น กระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ การออกแบบและพัฒนาซอฟต์แวร์ตามแบบจำลองมาตรฐานต่าง ๆ รวมถึงแผนภาพกระแสข้อมูลและแผนภาพยูสเคส การบริหารจัดการด้านความต้องการซอฟต์แวร์ การออกแบบส่วนต่อประสาน การตรวจสอบและทวนสอบซอฟต์แวร์ การใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม การพัฒนาซอฟต์แวร์ วิวัฒนาการของซอฟต์แวร์ การบริหารจัดการโครงการซอฟต์แวร์ เครื่องมือช่วยงานทางวิศวกรรมซอฟต์แวร์ |
3 (2-2-5) |
6300334 |
พื้นฐานหลักการทางคอมพิวเตอร์ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับโครงสร้างข้อมูลและวิธีการที่ใช้ในวิทยาการคอมพิวเตอร์ โครงสร้างข้อมูลและวิธีการที่ใช้อธิบายและประเมินโครงสร้างข้อมูล ที่รวมถึงรูปแบบนามธรรมและข้อมูล การโต้ตอบและการเหนี่ยวนำ เวลาการทำงานของโปรแกรม คณิตศาสตร์เชิงการจัดและการนับ ต้นไม้ เซต กราฟ รูปแบบ ออโตมาตาและนิพจน์ปรกติ |
3 (2-2-5) |
6300335 |
หลักการระบบปฏิบัติการสมัยใหม่วิวัฒนาการของระบบปฏิบัติการ โครงสร้างของระบบปฏิบัติการ ลักษณะของโปรเซสและเธรด การประสานจังหวะของโปรเซส การสับเปลี่ยนบริบท การจัดการโปรเซส ขั้นตอนวิธีการจัดตารางโปรเซส การจัดการหน่วยความจำ การจัดการหน่วยความจำเสมือน ขั้นตอนวิธีการแทนที่เพจ การจัดการอุปกรณ์ ฝึกปฏิบัติและอภิปรายระบบปฏิบัติการยุคใหม่ ประกอบด้วย วินโดว์ อูบุนตู ลีนุกซ์ และระบบปฏิบัติการบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ |
3 (2-2-5) |
6300336 |
การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์สถาปัตยกรรมเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มาตรฐานของระบบเครือข่ายและการสื่อสารข้อมูล การควบคุมความผิดพลาด ระบบแบบรวมศูนย์ สื่อนำสัญญาณและอุปกรณ์ ระบบแบบกระจาย สื่อกลางเครือข่าย มาตรฐานระบบเปิด พื้นฐานอินเทอร์เน็ต โพรโทคอล การแบ่งเครือข่ายย่อย การจัดเส้นทางของโพรโทคอล เทคโนโลยีของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระยะใกล้และระยะไกล การออกแบบและการบริหารจัดการเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ระบบไร้สายและระบบเคลื่อนที่ซอฟต์แวร์ประยุกต์บนระบบเครือข่าย คลาวด์คอมพิวติ้งเบื้องต้น ความมั่นคงระบบเครือข่ายเบื้องต้น จริยธรรมของวิชาชีพ |
3 (2-2-5) |
6300337 |
ความมั่นคงของระบบสารสนเทศและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ความมั่นคงของระบบสารสนเทศและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หลักทั่วไปในการป้องกันระบบคอมพิวเตอร์ เทคนิคที่สำคัญในการบ่งชี้ปัญหาความมั่นคงของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ความปลอดภัยทางกายภาพและสิ่งแวดล้อม การเข้ารหัสลับ ภัยคุกคามต่อระบบคอมพิวเตอร์และระบบเครือข่าย ความเสถียรของระบบเครือข่ายและเว็บ ความมั่นคงของฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ฐานข้อมูล ความมั่นคงในเครือข่ายไร้สายและเครือข่าย สภาพอ่อนแอของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ประสงค์ร้าย การประเมินและการจัดการความเสี่ยง ประเด็นเกี่ยวกับกฎหมายและจริยธรรมในระบบคอมพิวเตอร์ |
3 (2-2-5) |
6300338 |
ปัญญาประดิษฐ์ปัญญาประดิษฐ์เบื้องต้น การแก้ปัญหาโดยใช้ปัญญาประดิษฐ์ ปริภูมิสถานะและการค้นหา การประยุกต์ใช้งานปัญญาประดิษฐ์ในหลากหลายหัวข้อ ประกอบด้วย ทฤษฎีเกมส์ การประมวลผลภาษาธรรมชาติ การเรียนรู้ของเครื่องจักร การเรียนรู้เชิงลึก ทัศนศาสตร์ของเครื่องจักร และวิทยาการหุ่นยนต์ |
3 (2-2-5) |
6300339 |
การประมวลผลภาพดิจิทัลหลักการภาพดิจิทัล การสร้างภาพ การแปลงภาพ การปรับปรุงภาพ การกรองภาพ การบูรณะภาพ การแบ่งส่วนภาพ การบีบอัดภาพ การซ้อนทับภาพ การแทนและการอธิบายภาพ การประมวลผลภาพสี การประยุกต์การประมวลผลภาพดิจิทัลในปัจจุบัน |
3 (2-2-5) |
6300340 |
สถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์พื้นฐานสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ วิวัฒนาการและประสิทธิภาพของคอมพิวเตอร์ ตรรกะแบบดิจิทัล ระบบดิจิทัล สถาปัตยกรรมหน่วยความจำ การแทนข้อมูล โครงสร้างระดับแอสเซมบลี โครงสร้างหน่วยประมวลผลกลาง มัลติโพรเซสเซอร์ สถาปัตยกรรมทางเลือกอื่น ระบบสมองกลฝังตัว การวัดประสิทธิภาพของระบบคอมพิวเตอร์ |
3 (2-2-5) |
6300451 |
การเขียนภาษาอังกฤษเชิงวิชาการสำหรับวิทยาศาสตร์ทักษะการเขียนขั้นสูงในรูปแบบต่าง ๆ การเขียนเรียงความ วิธีการเขียนขยายเนื้อหา การเขียนเชิงบรรยาย การเล่าเรื่องราว การเขียนเชิงอภิปราย การเขียนเชิงชักชวน ฝึกการใช้เครื่องหมายวรรคตอนให้ถูกต้อง ฝึกการเขียนรายงาน บทคัดย่อ และการเขียนโครงงานต่าง ๆ ในด้านวิทยาศาสตร์ |
3 (3-0-6) |
รหัสวิชา | ชื่อวิชา | หน่วยกิต |
---|---|---|
6300341 |
การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุและเชิงฟังก์ชั่นการพัฒนาซอฟต์แวร์เชิงวัตถุ โครงสร้างโปรแกรมเชิงวัตถุ ความหมายของวัตถุและกลุ่มของวัตถุ คุณลักษณะและพฤติกรรมของวัตถุ กลุ่มวัตถุพื้นฐาน การสืบทอด แถวลำดับ การนำเอาส่วนประกอบของซอฟต์แวร์กลับมาใช้อีก การสร้าง จัดการโครงสร้างข้อมูลพลวัต การเขียนโปรแกรมบนสภาพแวดล้อมเครื่องจักรเสมือน การเขียนโปรแกรมแบบฟังก์ชัน |
3 (2-2-5) |
6300342 |
การเขียนโปรแกรมสำหรับอินเทอร์เน็ตเทคโนโลยีไคลเอนต์ไซด์และเซิฟเวอร์ไซด์ เว็บแพลตฟอร์ม เว็บเฟรมเวิร์ค ภาษามาร์คอัพ ภาษาสำหรับการโปรแกรมเว็บ การออกแบบส่วนต่อประสานกับผู้ใช้และประสบการณ์ที่ดีของผู้ใช้ การพัฒนาเว็บแอพพลิเคชัน |
3 (2-2-5) |
6300343 |
วิทยาการข้อมูลหลักปฏิบัติเบื้องต้นของวิทยาการข้อมูล การเขียนโปรแกรมภาษาไพธอน การสร้างโมเดลการทำนาย การแบ่งส่วนแบบมีผู้สอน ฟังก์ชันดิสคริมิแนนต์การวิเคราะห์การปฏิบัติงานของโมเดล การคิดเชิงวิเคราะห์สำหรับการตัดสินใจ การแสดงภาพการปฏิบัติงานของโมเดล การทำนายโดยใช้การรวมหลายหลักฐาน การทำเหมืองและแทนข้อความอักษร ความคล้ายคลึงและเพื่อนบ้านที่ใกล้ที่สุด การจัดกลุ่มและทำเหมืองข้อมูลแบบไม่มีผู้สอน เทคนิคและงานต่าง ๆ ในวิทยาการข้อมูล กลยุทธ์เชิงธุรกิจและวิทยาการข้อมูล |
3 (2-2-5) |
6300344 |
พื้นฐานการเรียนรู้ของเครื่องจักรหลักการของการเรียนรู้เครื่องจักร ทฤษฎีการเรียนรู้ ขั้นตอนวิธีเพื่อนบ้านใกล้ที่สุด ต้นไม้ตัดสินใจ โครงข่ายประสาทเทียม การประยุกต์ใช้การเรียนรู้ของเครื่องจักร เครื่องจักรเวกเตอร์ค้ำยัน การเรียนรู้แบบเบย์ ขั้นตอนวิธีพันธุกาล การลดมิติ การประยุกต์ใช้งานการเรียนรู้ของเครื่องจักร |
3 (2-2-5) |
6300345 |
การเขียนโปรแกรมสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่และอุปกรณ์อัจฉริยะเครื่องมือ การใช้งานส่วนต่อประสาน การออกแบบส่วนต่อประสานกับผู้ใช้และประสบการณ์ที่ดีของผู้ใช้ และพัฒนาโปรแกรมสำหรับสมาร์ทโฟน อินเทอร์เน็ตเพื่อสรรพสิ่ง และอุปกรณ์อัจฉริยะ |
3 (2-2-5) |
6300346 |
อภิมหาข้อมูลปัญหา ความท้าทาย แนวโน้ม และการใช้งานข้อมูลขนาดใหญ่ อัลกอริทึมสำหรับวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ อัลกอริทึมสำหรับการทำเหมืองข้อมูลและอัลกอริทึม สำหรับงานเฉพาะด้านของข้อมูลขนาดใหญ่ เทคโนโลยีในการบริหารจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ เครื่องมือ และเทคโนโลยีสำหรับข้อมูลขนาดใหญ่ การใช้งาน และระบบนิเวศของ MapReduce Hadoop หรือ noSQL ต่าง ๆ |
3 (2-2-5) |
6300347 |
หัวข้อพิเศษเกี่ยวกับวิทยาการคอมพิวเตอร์รายวิชาตามความสนใจ ณ สถานการณ์ปัจจุบัน และความก้าวหน้าทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ |
3 (2-2-5) |
6300348 |
การออกแบบออนโทโลยีและการประยุกต์ใช้หลักการของการแทนความรู้ เว็บเชิงความหมาย อาร์ดีเอฟ ภาษาเว็บออนโทโลยี การออกแบบออนโทโลยี ภาษาสปาร์เคิล กลไกการอนุมาน ภาษากฏสำหรับเว็บเชิงความหมาย เครื่องมือและส่วนประสานโปรแกรมประยุกต์สำหรับการพัฒนาออนโทโลยี |
3 (2-2-5) |
6300349 |
การคอมพิวเตอร์เพื่อการระบาดการวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์และการสร้างแบบจำลองคอมพิวเตอร์ เพื่อใช้ในการศึกษา การทำความเข้าใจ และการควบคุมการแพร่กระจายของโรคระบาดต่าง ๆ การใช้สมการเชิงอนุพันธ์สามัญหรือเซลลูลาร์ออโตมาตาเพื่ออธิบายสถานะของโรค การใช้เทคนิคการจำลองสถานการณ์ต่าง ๆ เช่นแบบจำลองการพยากรณ์การตัดสินใจของแต่ละตัวแทนในระบบ ตัวแปรที่มีการเปลี่ยนแปลงโดยการสุ่ม |
3 (2-2-5) |
6300350 |
การเรียนรู้เชิงลึกเบื้องต้นการเรียนรู้เชิงลึกเบื้องต้น กระบวนการของการเรียนรู้เชิงลึก การจัดหมวดหมู่ของโครงข่ายประสาทเทียม ประเภทของโครงข่ายการเรียนรู้เชิงลึก โครงข่ายประสาทเทียมแบบป้อนไปข้างหน้า โครงข่ายประสาทเทียมแบบวนซ้ำ โครงข่ายประสาทเทียมคอนโวลูชัน การเรียนรู้แบบเสริมกำลัง ข้อจำกัดของการเรียนรู้เชิงลึก การประยุกต์ใช้การเรียนรู้เชิงลึก |
3 (2-2-5) |
6300351 |
วิทยาการเข้ารหัสลับและเทคโนโลยีบล็อกเชนพื้นฐานวิทยาการเข้ารหัสลับ วิทยาการเข้ารหัสแบบบล็อค วิทยาการเข้ารหัสแบบกระแสข้อมูล วิทยาการเข้ารหัสลับแบบสมมาตรและอสมมาตร ฟังก์ชันแฮช รหัสพิสูจน์ตัวจริงข้อความ การพิสูจน์ตัวจริง การควบคุม การอนุญาตให้เข้าใช้ระบบ ลายเซ็นดิจิทัล การสร้างและกระจายเซสชันคีย์ แอพพลิเคชันของวิทยาการเข้ารหัสลับ การทำงานของบล็อกเชน การสร้างบล็อกเชนและการนำบล็อกเชนไปใช้ |
3 (2-2-5) |
6300352 |
รถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติหลักสูตรแนะนำเกี่ยวกับ ศัพท์ทางการการออกแบบ และการประเมินผลความปลอดภัยของรถยนต์อัตโนมัติ ความเข้าใจการใช้ฮาร์ดแวร์ องค์ประกอบหลักด้านซอฟต์แวร์ โมเดลโปรแกรม การควบคุม และวิเคราะห์กรอบแนวความคิดด้านความปลอดภัย การพัฒนาโปรแกรมควบคุม เพื่อนำทางรถอัตโนมัติภายใต้สภาพแวดล้อมจำลอง เนื้อหาครอบคลุมถึง การเรียนรู้เชิงลึก การมองเห็นของคอมพิวเตอร์ ระบบเซนเซอร์และระบบควบคุม ความท้าทายด้านต่าง ๆ ของรถอัตโนมัติที่ต้องประสบพบเจอ และการแก้ปัญหาในประเด็นต่าง ๆ |
3 (2-2-5) |
6300353 |
การบริหารเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทักษะการต่อเชื่อมและการตั้งค่าอุปกรณ์ภายในระบบเครือข่าย อุปกรณ์จริง ระบบสวิตชิ่ง การออกแบบและปรับแต่งระบบแลนเสมือน การค้นหาเส้นทางระหว่างแลนเสมือน เครือข่ายไร้สาย เครื่องมือวิเคราะห์โพรโทคอลเครือข่าย แบบการจำลองเครือข่าย |
3 (2-2-5) |
รหัสวิชา | ชื่อวิชา | หน่วยกิต |
---|---|---|
6300354 |
เตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์เตรียมความพร้อมของผู้เรียนก่อนออกฝึกประสบการณ์วิชาชีพในด้านการรับรู้ลักษณะและโอกาสของการประกอบอาชีพ การพัฒนาตัวผู้เรียน ให้มีความรู้ทักษะ เจตคติ แรงจูงใจ และคุณลักษณะที่เหมาะสมกับวิชาชีพทางด้านคอมพิวเตอร์โดยการกระทำในสถานการณ์หรือรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งเกี่ยวข้องทางด้านคอมพิวเตอร์ |
1 (0-2-1) |
6300355 |
การฝึกประสบการณ์วิชาชีพด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์จัดให้นักศึกษาได้ฝึกประสบการณ์วิชาชีพด้านคอมพิวเตอร์ในองค์การหรือหน่วยงานที่สถานประกอบธุรกิจที่เหมาะสมเพื่อได้รับความรู้ ทักษะ เจตคติและประสบการณ์ในอาชีพในระดับนักวิทยาการกึ่งวิชาชีพชั้นสูงและระดับเทคนิค |
5 (300) |
6300356 |
เตรียมสหกิจศึกษาหลักการ แนวคิดและปรัชญาสหกิจศึกษา กระบวนการและระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับสหกิจศึกษา เทคนิคการสมัครงานและการสอบสัมภาษณ์ ความรู้พื้นฐานในการปฏิบัติงาน เพื่อนำไปพัฒนาตนเองตามมาตรฐานวิชีพ การเสริมทักษะและจริยธรรมในวิชาชีพเฉพาะสาขาวิชา แนวทางการจัดทำโครงการ การรายงานผลการปฏิบัติงาน การเขียนรายงานโครงการและการนำเสนอผลงานโครงการ |
0 (30) |
6300357 |
สหกิจศึกษาการฝึกปฏิบัติงานจริงเต็มเวลาตามแขนงในสาขาวิชาหนึ่งภาคเรียน โดยจะต้องมีระยะเวลาปฏิบัติงานจริงตามที่กำหนดในหน่วยงานราชการ องค์กรรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานเอกชนอย่างมีระบบ เรียนรู้ประสบการณ์จากการปฏิบัติงานและมีคุณภาพตรงตามที่หน่วยงานของรัฐ องค์การรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานเอกชนต้องการมากที่สุด โดยจัดให้มีการปฐมนิเทศก่อนการปฏิบัติงานจริง กำหนดคุณสมบัติของนักศึกษา มีการนิเทศโดยอาจารย์ที่ปรึกษาและมีการปัจฉิมเกี่ยวกับรายละเอียดของการปฏิบัติงานและมีค่าตอบแทนหรือสวัสดิการต่าง ๆ ตามความจำเป็นแก่นักศึกษา |
6 (16) |