รหัสวิชา | ชื่อวิชา | หน่วยกิต |
---|---|---|
6200489 |
แคลคูลัส 1การอุปนัยเชิงคณิตศาสตร์ ฟังก์ชันพีชคณิตและฟังก์ชันอดิศัย ลิมิตและความต่อเนื่องอนุพันธ์ ปริพันธ์และการประยุกต์ เทคนิคการอินทิเกรต อินทิกรัลไม่ตรงแบบ |
3 (3-0-6) |
6200490 |
แคลคูลัส 2ลำดับและอนุกรม การทดสอบอนุกรม อนุกรมกำลัง อนุกรมเทย์เลอร์ อนุกรมโลรองต์เมทริกซ์และตัวกำหนด ค่าลำดับขั้นของเมทริกซ์ การหาผลเฉลยเชิงตัวเลขของระบบสมการเชิงเส้นด้วยเมทริกซ์ หลักเกณฑ์คราเมอร์ ปริภูมิเวกเตอร์ ปริภูมิย่อย ฐานและมิติ การแปลงเชิงเส้น ค่าลักษณะเฉพาะ และเวกเตอร์ลักษณะเฉพาะ |
3 (3-0-6) |
6200491 |
แคลคูลัส 3สมการเชิงอนุพันธ์เชิงเส้นอันดับที่หนึ่งและอันดับสูง วิธีหาผลเฉลยเชิงวิเคราะห์และ เชิงตัวเลข การแปลงลาปลาซกับการแก้สมการเชิงอนุพันธ์ พีชคณิตของเวกเตอร์ ไดเวอร์เจนซ์ เคิร์ล การหาอนุพันธ์และอินทิกรัลของฟังก์ชันหลายตัวแปร อินทิกรัลตามเส้น ตามผิว และตามปริมาตร ระบบพิกัดเชิงขั้ว ทฤษฎีบทของกรีน เกาส์และสโตกส |
3 (3-0-6) |
6200492 |
เคมีสำหรับวิศวกรแนะนำเคมีสำหรับวิศวกร ปริมาณสารสัมพันธ์ โครงสร้างอะตอม พันธะเคมีสำหรับวัสดุวิศวกรรม ตารางธาตุและสมบัติธาตุ ก๊าซและของแข็ง ของเหลวและสารละลาย แผนภาพสมดุลสำหรับวัสดุวิศวกรรม สมดุลเคมี เทอร์โมไดนามิกส์สำหรับวิศวกรรม จลนศาสตร์เคมี กรด-เบส ไฟฟ้าเคมี พื้นฐานเคมีสิ่งแวดล้อม |
3 (3-0-6) |
6200493 |
ปฏิบัติการเคมีสำหรับวิศวกรปฏิบัติการทดลองให้สอดคล้องกับวิชาเคมีสำหรับวิศวกร |
1 (0-2-1) |
6200494 |
ฟิสิกส์สำหรับวิศวกร 1การเคลื่อนที่แบบเชิงเส้นและแบบหมุน การอนุรักษ์โมเมนตัม โมเมนตัมเชิงมุม พลังงาน ความยืดหยุ่น การเคลื่อนที่แบบซิมเปิลฮาร์มอนิก การแกว่งกวัดแบบหน่วงและเรโซแนนซ์ การแผ่ของคลื่น คลื่นเสียง การไหลของของไหล ความร้อนและอุณหพลศาสตร์ ทฤษฎีจลน์ของแก๊ส และพื้นฐานการคำนวณทางกลศาสตร์เชิงวิศวกรรม และการคำนวณพื้นฐานทางกลศาสตร์เชิงวิศวกรรม |
3 (3-0-6) |
6200495 |
ฟิสิกส์สำหรับวิศวกร 2สนามไฟฟ้าและศักย์ไฟฟ้า กระแสและความต้านทาน สนามแม่เหล็กและการเหนี่ยวนำ สภาพนำยิ่งยวด คลื่นแสง ท่อนำคลื่นไมโครเวฟ เส้นใยนำแสงและการใช้การสื่อสาร อะตอม โมเลกุล นิวเคลียส และบิกแบง และการคำนวณพื้นฐานวงจรไฟฟ้าและหลักการอิเล็กทรอนิกส์ |
3 (3-0-6) |
6200496 |
ปฏิบัติการฟิสิกส์สำหรับวิศวกร 1ปฏิบัติการทดลองให้สอดคล้องกับวิชาฟิสิกส์สำหรับวิศวกร 1 |
1 (0-2-1) |
6200497 |
ปฏิบัติการฟิสิกส์สำหรับวิศวกร 2ปฏิบัติการทดลองให้สอดคล้องกับวิชาฟิสิกส์สำหรับวิศวกร 2 |
1 (0-2-1) |
รหัสวิชา | ชื่อวิชา | หน่วยกิต |
---|---|---|
6200498 |
ปรับพื้นฐานทางด้านวิศวกรรมปรับพื้นฐานทางด้านคณิตศาสตร์ การแก้สมการ การแยกตัวประกอบ เมทริกซ์ อนุพันธ์และปริพันธ์ ภาษาอังกฤษสำหรับวิศวกรเบื้องต้น |
1 (2-0-1) |
6200499 |
การเขียนแบบวิศวกรรมการใช้เครื่องมือและการเขียนตัวอักษร การเขียนแบบร่างด้วยมือ การสร้างรูปเรขาคณิต การเขียนภาพออโธกราฟฟิค การให้ขนาดและเกณฑ์ความคลาดเคลื่อน การเขียนภาพสามมิติ การเขียนภาพตัดวิวช่วย เรขาบรรยายเบื้องต้น การเขียนแบบประกอบ และฝึกปฏิบัติการ |
3 (2-2-5) |
6200500 |
กลศาสตร์เชิงวิศวกรรม 1ระบบแรง แรงลัพธ์และโมเมนต์ลัพธ์ สมดุล ความเสียดทาน หลักการงานสมมติ เสถียรภาพ และปฏิบัติการทางกลศาสตร์เชิงวิศวกรรม |
3 (2-2-5) |
6200501 |
วัสดุวิศวกรรมคุณสมบัติและโครงสร้างของวัสดุประเภทโลหะ โลหะผสม เซรามิค และโพลีเมอร์ ความสัมพันธ์โครงสร้างทางจุลภาค คุณสมบัติทางกลของโลหะ แผนภูมิสมดุล กรรมวิธีทางความร้อน โครงสร้างทางจุลภาคของโลหะผสม การแตกหัก การกัดกร่อน การเสื่อมสภาพ วิเคราะห์ความวิบัติ และปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับวัสดุ |
3 (2-2-5) |
6200502 |
โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับวิศวกรรมหลักการของระบบและส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ การทำงานร่วมกันระหว่างฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ หลักการประมวลผลข้อมูลแบบอิเล็กทรอนิกส์ ระเบียบวิธีพัฒนาและออกแบบโปรแกรม การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาขั้นสูง การกำหนดชนิดของตัวแปร นิพจน์ ประโยคควบคุม การฝึกปฏิบัติการโปรแกรม |
3 (2-2-5) |
6200503 |
อุณหพลศาสตร์หลักการพื้นฐานและปฏิบัติการทดลองคุณสมบัติของสารบริสุทธิ์ งานและความร้อน ก๊าซอุดมคติ กฎข้อที่หนึ่งและข้อที่สองของอุณหพลศาสตร์ เอนโทรปี การถ่ายโอนความร้อนและการแปลงผันพลังงานเบื้องต้น และปฏิบัติการทดลองการถ่ายโอนความร้อน |
3 (2-2-5) |
6200504 |
กลศาสตร์ของไหลคุณสมบัติของของไหล การอนุรักษ์มวลและปริมาตร สมดุลสถิตย์ของของไหล สมการของเบอร์นูลลี สนามการไหล การไหลแบบไม่ทรงตัวและแบบอัดตัวได้ สมการโมเมนตัมและพลังงาน ความสัมพันธ์ทางความเค้นความเครียดของของไหล สมการความต่อเนื่องและการเคลื่อนที่ การวิเคราะห์มิติและความคล้าย พร้อมปฏิบัติการทดลองการวัดการไหล การไหลในท่อ |
3 (2-2-5) |
6200505 |
กลศาสตร์ของแข็งแรงและความเค้น ความเครียด คุณสมบัติทางกลของวัสดุ แรงในแนวแกน การบิด การดัดและการโก่งงอ น้ำหนักบรรทุกกระทำร่วม การแปลงความเค้นและความเครียด |
3 (2-2-5) |
6200506 |
กระบวนการผลิตพื้นฐานของกระบวนการผลิต การหล่อ การขึ้นรูป การเชื่อม ผงโลหะวิทยา การขึ้นรูปโลหะด้วยวิธีร้อนและเย็น การตัด กลึง ไส เจาะ กัด ขนาดและการทำผิวเรียบ การวัดและตรวจสอบความสัมพันธ์ของกระบวนการผลิตและวัสดุ และค่าใช้จ่ายในการผลิต และปฏิบัติการกระบวนการผลิต |
3 (2-2-5) |
6200507 |
วงจรไฟฟ้าหน่วยทางไฟฟ้า นิยาม และองค์ประกอบวงจร แรงดัน กระแส กำลังไฟฟ้า พลังงาน แหล่งจ่ายพลังงาน ตัวต้านทาน ตัวเก็บประจุ ตัวเหนี่ยวนำ ทฤษฎีวงจรและการวิเคราะห์ กฎของเคอร์ชอฟ การแบ่งแรงดันและกระแส การวิเคราะห์แบบโนดและเมช ทฤษฎีเทวินินและนอร์ตัน ทฤษฎีซุปเปอร์โพซิชั่น การถ่ายโอนกำลังสูงสุด วงจรอันดับหนึ่งและอันดับสอง สภาวะคงตัวของสัญญาณซายด์ คุณสมบัติสัญญาณซายด์ เฟสเซอร์ การวิเคราะห์วงจรกระแสสลับ กำลังไฟฟ้ากระแสสลับ วงจรไฟฟ้าสามเฟส และฝึกปฏิบัติการ |
1 (0-3-0) |
6200508 |
ปฏิบัติการเครื่องมือพื้นฐานวิศวกรรมทักษะพื้นฐานทางด้านช่าง และการใช้เครื่องมือในงานวิศวกรรม ทักษะการทำงานบนเครื่องจักรกลการผลิตพื้นฐาน งานเชื่อม งานขึ้นรูป งานกลึง งานตะไบ หลักการทำงานในโรงฝึกปฏิบัติงานที่ปลอดภัย |
0 (0-3-0) |
รหัสวิชา | ชื่อวิชา | หน่วยกิต |
---|---|---|
6200509 |
ปฏิบัติการเขียนแบบวิศวกรรมด้วยคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบ มาตรฐานงานเขียนแบบ การกำหนดขนาด มาตรฐานเกลียว การกำหนดผิวชิ้นงาน พิกัดงานสวม พิกัดเผื่อรูปทรงและตำแหน่ง แผนผังโรงงาน |
1 (0-3-0) |
6200510 |
โปรแกรมเมเบิลโลจิกคอนโทรลพื้นฐานการควบคุมแบบอันดับ พีแอลซี การโปรแกรมภาษาแลดเดอร์ คำสั่งและอุปกรณ์เชื่อมต่อสาหรับการควบคุมแบบอันดับ คำสั่งและอุปกรณ์เชื่อมต่อพิเศษของพีแอลซี การติดต่อสื่อสารระหว่างพีแอลซีกับเครื่องมือควบคุมอื่นๆ การประยุกต์ใช้งานพีแอลซีในงานอุตสาหกรรม การเลือก การติดตั้งและการทดสอบพีแอลซี |
3 (2-2-5) |
6200511 |
กลศาสตร์เครื่องจักรกลจลศาสตร์และพลศาสตร์ของกลไกเครื่องจักรกล เครื่องต่อ ชุดเฟืองและระบบทางกล การขจัด ความเร็วและความเร่งในเครื่องจักร สมดุลของมวลที่เคลื่อนและหมุน ผลของไจโร |
3 (2-2-5) |
6200512 |
การออกแบบชิ้นส่วนเครื่องจักรกลหลักการพื้นฐานของการออกแบบเครื่องจักรกล สมบัติของวัสดุ ทฤษฎีการวิบัติของวัสดุ อิทธิพลความเค้น การออกแบบชิ้นส่วนเครื่องจักรกลย่อย ฝึกปฏิบัติการออกแบบชิ้นส่วนเครื่องจักรกล |
3 (2-2-5) |
6200513 |
การควบคุมอัตโนมัติแบบจําลองทางคณิตศาสตร์ของระบบ ฟังก์ชันถ่ายโอน แบบจําลองของระบบใน โดเมนเวลาและโดเมนความถี่ แบบจําลองพลวัตและผลตอบสนองของระบบพลวัต ระบบอันดับหนึ่ง และอันดับสอง การควบคุมวงเปิดและวงปิด การควบคุมแบบป้อนกลับและความไว ชนิดของระบบ ป้อนกลับ หลักการและเงื่อนไขของระบบที่มีเสถียรภาพ ระเบียบวิธีของการทดสอบเสถียรภาพ โลกัสของราก แผนภาพโบเด |
3 (2-2-5) |
6200514 |
การทำความเย็นและการปรับอากาศหลักการเบื้องต้นของการทำความเย็น วัฏจักรทางเทอร์โมไดนามิกส์ของการทำความเย็น ระบบทำความเย็นระบบต่าง ๆ น้ำยาของระบบทำความเย็น คอมเพรสเซอร์ อีวาโปเรเตอร์ คอนเดนเซอร์ระบบควบคุมการทำงาน. ท่อน้ำยาและอุปกรณ์ ห้องเย็นและห้องแช่แข็งระบบปรับอากาศแบบต่าง ๆ การหาภาระของการปรับอากาศ การหาภาระของการทำความเย็น ความชื้นในอากาศ การถ่ายเทอากาศและกระจายลม การออกแบบท่อลม และการทดลองการทำความเย็นและการปรับอากาศ |
3 (2-2-5) |
6200515 |
การถ่ายเทความร้อนรูปแบบการถ่ายเทความร้อน การนำความร้อนที่สภาวะคงตัวในหนึ่งมิติและสองมิติ การนำความร้อนที่สภาวะไม่คงตัว การวิเคราะห์เชิงมิติของการพาความร้อน รูปแบบของการพาความร้อน เครื่องแลกเปลี่ยนความร้อน การแผ่รังสีความร้อน และโครงงานการถ่ายเทความร้อน |
3 (2-2-5) |
6200516 |
การสั่นสะเทือนเชิงกลนิยามและส่วนประกอบของระบบสั่นสะเทือนทางกล การหาสมการของการ เคลื่อนตัวของระบบต่างๆ ทั้งแบบระดับความเสรีหนึ่งขั้นและหลายขั้น การสั่นสะเทือนแบบอิสระ และแบบบังคับ การหาผลเฉลยของระบบสั่นสะเทือนทางกลการหาความถี่ ธรรมชาติและรูปลักษณ์ ของการสั่นสะเทือนของระบบต่อเนื่องความถี่ |
3 (2-2-5) |
6200517 |
เครื่องยนต์เผาไหม้ภายในกระบวนการของเครื่องยนต์เผาไหม้ภายใน อุณหพลศาสตร์สำหรับการวิเคราะห์เครื่องยนต์ กระบวนการเผาไหม้ การวิเคราะห์ กระบวนการของเครื่องยนต์เผาไหม้ภายใน เชื้อเพลิง การน็อกและคุณสมบัติต้านทานการน๊อกของเชื้อเพลิง ระบบการป้อน เชื้อเพลิง มลพิษจากเครื่องยนต์เผาไหม้ภายในและการควบคุม การหล่อลื่น สมรรถนะและออกแบบเครื่องยนต์ ความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยียานยนต์ |
3 (2-2-5) |
6200519 |
โครงงานวิศวกรรมเครื่องกลและหุ่นยนต์การเกษตร 1ศึกษาเบื้องต้นในโครงงานทางวิศวกรรมเครื่องกลและหุ่นยนต์การเกษตรที่น่าสนใจ สำรวจเอกสารที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อโครงงาน อภิปรายเนื้อหาเกี่ยวกับโครงงานที่สนใจกับอาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานและอาจารย์ผู้สอน โดยโครงงานที่ทำอาจเป็นงานวิจัย งานออกแบบและพัฒนา งานผลิตหรืองานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาทางวิศวกรรมเครื่องกลและหุ่นยนต์การเกษตร และนำเสนอหัวข้อโครงงานต่ออาจารย์ที่ปรึกษาและสาขาวิชาในรูปแบบการนำเสนอพร้อมรายงานข้อเสนอเมื่อสิ้นภาคการศึกษา |
1 (0-3-0) |
6200520 |
โครงงานวิศวกรรมเครื่องกลและหุ่นยนต์การเกษตร 2ดำเนินการทำโครงงานในในหัวข้อที่นำเสนอต่ออาจารย์ที่ปรึกษาและสาขาวิชาแล้ว ภายใต้การควบคุมของอาจารย์ที่ปรึกษาและอาจารย์ผู้สอน นักศึกษารายงานความก้าวหน้า และนำเสนอผลการดำเนินโครงงานต่ออาจารย์ที่ปรึกษาและสาขาวิชาในรูปแบบการนำเสนอพร้อมรายงานโครงงานเมื่อสิ้นภาคการศึกษา |
1 (0-3-0) |
6200521 |
สัมมนาทางวิศวกรรมสัมมนาเกี่ยวกับประเด็นด้านวิศวกรรมในระดับชุมชนหรือระดับประเทศ การฝึกการนำเสนอผลงานทางวิชาการและการเข้าร่วมสัมมนาในระดับประเทศ |
1 (0-3-0) |
6200529 |
คอมพิวเตอร์ช่วยงานวิศวกรรมเครื่องกลการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยออกแบบและวิเคราะห์ปัญหาด้านวิศวกรรมเครื่องกล สร้างแบบจำลองและติดตามพฤติกรรมแบบจำลองของปัญหาด้านวิศวกรรมเครื่องกลและงานที่เกี่ยวข้อง |
3 (2-2-5) |
6200999 |
ปฏิบัติการสำหรับวิศวกรเครื่องกล 1พื้นฐานการทำการทดลอง การใช้เครื่องมือ การเก็บข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล การวิเคราะห์ความคลาดเคลื่อน การเขียนและจัดทำรายงานปฏิบัติการทางกลศาสตร์ กลศาสตร์ของของแข็งและของไหล การสั่นสะเทือน |
0 (0-3-0) |
6201000 |
ปฏิบัติการสำหรับวิศวกรเครื่องกล 2ปฏิบัติการทางกลศาสตร์ของของไหล อุณหพลศาสตร์และการถ่ายเทความร้อน |
0 (0-3-0) |
6201001 |
ภาษาอังกฤษสำหรับวิศวกรรมการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในงานวิศวกรรม บทความเกี่ยวกับด้านวิศวกรรม คู่มือการใช้เครื่องมือ การใช้อุปกรณ์ เครื่องจักร ผลิตภัณฑ์ ฝึกทักษะในการอ่าน บันทึก สรุปความ ตีความ ขยายความทางด้านวิศวกรรม รวมทั้งการนำเสนอด้วยวาจาและลายลักษณ์อักษร โดยเน้นกระบวนการทักษะสัมพันธ์ทางภาษา |
3 (3-0-6) |
6201002 |
ภาษาอังกฤษสำหรับวิศวกรรมเครื่องกลและหุ่นยนต์การเกษตรเตรียมความพร้อมและฝึกฝนภาษาอังกฤษนักศึกษาเพื่อเข้าสู่การทำงานวิศวกรรมเครื่องกลและหุ่นยนต์การเกษตรฝึกใช้ทักษะการฟัง พูด อ่านและ เขียน ในบริบทการทำงานด้านที่เกี่ยวข้อง |
3 (3-0-6) |
รหัสวิชา | ชื่อวิชา | หน่วยกิต |
---|---|---|
6200451 |
ข้าวและเทคโนโลยีการผลิตความสำคัญและลักษณะประจำพันธุ์พันธุ์ของข้าวในท้องถิ่น เกี่ยวกับการผลิตข้าวในสถานการณ์ปัจจุบัน กระบวนการผลิตข้าว วิธีการเก็บเกี่ยวผลผลิต การจัดการดิน น้ำและปุ๋ย เงื่อนไขการผลิตข้าวเพื่อให้ได้ตามมาตรฐานสินค้าเกษตร มาตรฐานการปฏิบัติการเกษตรที่ดี (Good Agricultural Practice; GAP) และมาตรฐานอินทรีย์ |
3 (2-2-5) |
6200452 |
เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวข้าวปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพของข้าวหลังการเก็บเกี่ยว กระบวนการลดความชื้นด้วยวิธีการต่างๆ การเก็บรักษา การป้องกันกำจัดโรคและแมลงในโรงเก็บ รวมถึงการปนเปื้อนของเชื้อราต่างๆ |
3 (2-2-5) |
6200453 |
การจัดการโรงสีการบริหารการจัดการโรงสีข้าว การจำแนกชนิดและพันธุ์ข้าว ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพการสี มาตรฐานสินค้าข้าวไทยและตรวจสอบ รวมถึงความรู้เกี่ยวกับเครื่องสีข้าวและการบำรุงรักษาเบื้องต้น |
3 (2-2-5) |
6200454 |
การออกแบบและประยุกต์เกษตรอัจฉริยะบนระบบไอโอทีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ IoT การเชื่อมต่อเซ็นเซอร์เข้ากับอุปกรณ์ควบคุม การควบคุมทางการเกษตร การทำงานของอุปกรณ์ IoT ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต การสร้างเครือข่ายของอุปกรณ์ IoT เพื่อเชื่อมต่อทางการเกษตร |
3 (2-2-5) |
6200518 |
วิศวกรรมโรงจักรต้นกำลังเครื่องยนต์สันดาปภายใน เครื่องยนต์กังหันก๊าซ เครื่องกังหันไอน้ำ การสันดาปด้วยเชื้อเพลิงปกติ และเชื้อเพลิงทดแทนอย่างอื่น ประสิทธิภาพและอัตราการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิง มลภาวะจากการเผาไหม้ โรงจักรต้นกำลังเพื่อผลิตไฟฟ้า โรงไฟฟ้าพลังน้ำ โรงไฟฟ้าพลังความร้อน โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เทคโนโลยีโรงไฟฟ้าขนาดเล็ก โรงไฟฟ้าขนาดเล็กมาก พร้อมปฏิบัติการด้านเครื่องจักรและโรงจักรต้นกำลัง |
3 (2-2-5) |
6200522 |
หลักการอิเล็กทรอนิกส์อุปกรณ์สารกึ่งตัวนำ ไดโอด ทรานซิสเตอร์ ออปแอมป์ คุณสมบัติแรงดันและกระแส และการประยุกต์ใช้งานอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ พื้นฐานอิเล็กทรอนิกส์กำลัง และฝึกปฏิบัติการ |
3 (2-2-5) |
6200523 |
อิเล็กทรอนิกส์กำลังคุณสมบัติของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์กำลัง ไดโอดกำลัง เอสซีอาร์ จีทีโอ ทรานซิสเตอร์กำลังสูง มอสเฟท ไอจีบีที คุณสมบัติของสารแม่เหล็ก แกนของหม้อแปลงกำลังแบบต่างๆ เช่น แกนเหล็ก แกนเฟอร์ไรต์ แกนแบบผงเหล็ก การเปลี่ยนชนิดของไฟฟ้า การเปลี่ยนไฟฟ้ากระแสสลับเป็นกระแสตรง การเปลี่ยนไฟฟ้ากระแสตรงเป็นกระแสตรง การเปลี่ยนไฟฟ้ากระแสสลับเป็นกระแสตรง การเปลี่ยนไฟฟ้ากระแสตรงเป็นกระแสสลับ การเปลี่ยนแปลงความถี่ การขับเคลื่อนมอเตอร์ด้วยอุปกรณ์สารกึ่งตัวนำ การควบคุมมอเตอร์กระแสตรง การควบคุมมอเตอร์แบบเหนี่ยวนำ และแบบซิงโครนัส และและฝึกปฏิบัติการ |
3 (2-2-5) |
6200524 |
การขับเคลื่อนทางไฟฟ้าส่วนประกอบการขับเคลื่อนทางไฟฟ้า คุณลักษณะของโหลด ย่านการทำงานของการขับเคลื่อนทางไฟฟ้า วิธีการเบรกของมอเตอร์ไฟฟ้า การคำนวณหาขนาดและการส่งกำลังของมอเตอร์ไฟฟ้า คุณลักษณะของแรงบิดและความเร็วของมอเตอร์ไฟฟ้า การขับเคลื่อนมอเตอร์กระแสตรง การขับเคลื่อนมอเตอร์กระแสสลับ ระบบขับเคลื่อนเซอร์โว การประยุกต์ใช้งานการขับเคลื่อนมอเตอร์ไฟฟ้า ในหุ่นยนต์การเกษตรในอุตสาหกรรม |
3 (2-2-5) |
6200525 |
ระบบควบคุมแนวใหม่ระบบเหมาะที่สุด และสโตคาสติกเบื้องต้น ทฤษฎีเสถียรภาพ วิธีโดยตรงของ ลอาพูนอฟ เงื่อนไขโปปอป การควบคุมโมดัล ตัวสังเกตเต็มอันดับและลดอันดับ |
3 (2-2-5) |
6200526 |
ไมโครคอนโทรลเลอร์สถาปัตยกรรมไมโครคอนโทรลเลอร์ หน่วยประมวลผลกลาง บัส หน่วยความจำ หน่วยรับและส่งข้อมูล เทคนิคการเชื่อมต่อและการเขียนโปรแกรมเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายนอก การประยุกต์ใช้งานไมโครคอนโทรลเลอร์ และฝึกปฏิบัติการ |
3 (2-2-5) |
6200527 |
การจำลองด้วยระบบคอมพิวเตอร์การประยุกต์ใช้ซอฟต์แวร์สำเร็จรูปแมทแล็บ ในการแก้ปัญหาทางวิศวกรรมด้วยวิธีการเชิงตัวเลขสำหรับผู้ที่มีพื้นฐานการเขียนโปรแกรมแมทแลบเนื้อหาวิชาประกอบด้วยการทบทวนการใช้โปรแกรมแมทแลบการวิเคราะห์สมการถดถอยและการหาค่าพารามิเตอร์ในสมการการแก้สมการเชิงอนุพันธ์แบบสามัญ การแก้สมการเชิงอนุพันธ์ย่อย การหาสภาวะเหมาะสมด้วยวิธีการต่าง ๆ การใช้โปรแกรมซิมูลิงค์ในการวิเคราะห์และออกแบบระบบควบคุม |
3 (2-2-5) |
6200528 |
ไฮดรอลิกส์และนิวแมติกส์หน้าที่การทำงานของส่วนประกอบไฮดรอลิกส์ประกอบด้วย ปั๊ม วาล์ว กระบอกสูบ ท่อและข้อต่อสัญลักษณ์ไฮดรอลิกส์และแผนภาพวงจร หน้าที่การทำงานของส่วนประกอบนิวแมติกส์ประกอบด้วยปั๊ม วาล์ว กระบอกสูบ ท่อและข้อต่อ สัญลักษณ์นิวแมติกส์และแผนภาพวงจร ฝึกทักษะด้านการบำรุงรักษาและแก้ปัญหาในวงจรไฮครอลกิกส์และนิวแมติกส์ |
3 (2-2-5) |
6200530 |
เทคโนโลยีพลังงานสำหรับยานยนต์เทคโนโลยียานยนต์ทางด้านพลังงาน เชื้อเพลิงและการสันดาป สำหรับเครื่องยนต์ดีเซล เครื่องยนต์ก๊าซโซลีน เทคโนโลยีพลังงานและเชื้อเพลิงทดแทนสำหรับยานยนต์ เทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้า เทคโนโลยีเครื่องยนต์ไฮบริดจ์ เทคโนโลยีเซลล์เชื้อเพลิง เชื้อเพลิงไฮโดรเจน เทคโนโลยีเพื่อการอนุรักษ์พลังงานในยานยนต์ เทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อมสำหรับยานยนต์ ฝึกปฏิบัติการทดลองการออกแบบเทคโนโลยีพลังงานสำหรับยานยนต์ในท้องถิ่น |
3 (2-2-5) |
6200531 |
การออกแบบระบบความร้อนกระบวนการออกแบบทางวิศวกรรม ข้อมูลทางเศรษฐศาสตร์ที่จำเป็นในการพิจารณาออกแบบทางวิศวกรรม การเลือกอุปกรณ์ตามความต้องการของระบบความร้อน การสร้างสมการจากข้อมูล สร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ของอุปกรณ์ ปฏิบัติการทดลองการจำลองการทำงานของระบบพลังงาน และเลือกขนาดอุปกรณ์ที่เหมาะสมที่สุด |
3 (2-2-5) |
6200532 |
เทคโนโลยีการอบแห้งความรู้พื้นฐานของการอบแห้ง คุณสมบัติของอากาศชื้นและอากาศแห้ง ปริมาณความชื้นในวัสดุอบแห้ง คุณสมบัติเชิงความร้อนในวัสดุอบแห้ง โครงสร้างภายในของวัสดุอบแห้ง การเคลื่อนที่ของอากาศ การถ่ายเทมวลระหว่างวัสดุอบแห้งกับอากาศ ระบบการอบแห้งแบบต่าง ๆ การอบแห้งเมล็ดพืช อาหาร และผลิตภัณฑ์ การเก็บรักษาวัสดุที่อบแห้งแล้ว การวิเคราะห์พลังงานที่ใช้ในการอบแห้ง ปฏิบัติการทดลองการอบแห้งเมล็ดพืช อาหาร และผลิตภัณฑ์ |
3 (2-2-5) |
6200533 |
การออกแบบเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนทฤษฎีและการประยุกต์ใช้ระเบียบวิธีเชิงตัวเลข ระเบียบวิธีวิเคราะห์ และวิธีทดลอง ในการแก้ปัญหาเกี่ยวกับการถ่ายเทความร้อน การประยุกต์หลักการนำ การพา การแผ่รังสี การควบแน่น การเดือด ความเค้น และการสั่นสะเทือนมาใช้ในการออกแบบอุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อน |
3 (2-2-5) |
6200534 |
การติดตั้งอุปกรณ์และระบบวัดในโรงเรือนทฤษฎีพื้นฐานและการประยุกต์เพื่อการใช้งานของวิทยาการโรงเรือนปลูกพืช ความสัมพันธ์ของสภาพแวดล้อมกับคุณลักษณะพื้นฐานและชนิดของโรงเรือน การออกแบบและเทคนิคติดตั้งอุปกรณ์และระบบเซนเซอร์ การจัดการและควบคุมสภาวะแวดล้อมภายในในโรงเรือน เทคโนโลยีด้านต่าง ๆ ประกอบโรงเรือนปลูกพืช |
3 (2-2-5) |
6200535 |
การจัดการฟาร์มและนวัตกรรมเกษตรการบูรณาการเทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีชีวภาพ และเทคโนโลยีการเกษตรที่ทันสมัยต่าง ๆ เข้ากับเกษตรกรรมแบบดั้งเดิม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะปลูก เพิ่มผลผลิต และเพิ่มคุณภาพของผลิตผล สภาพแวดล้อมของฟาร์ม และฐานข้อมูลด้านการเกษตรที่เชื่อมโยงถึงกันเป็นเครือข่าย มาประมวลผลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อช่วยการตัดสินใจปรับปัจจัยการผลิตและการดูแลรักษาต้นพืชอย่างพอเหมาะ รวมถึงการจัดการผลิตผลเกษตรหลังการเก็บเกี่ยว |
3 (2-2-5) |
6200536 |
พัดลม เครื่องสูบและระบบการจ่ายการจําแนกประเภทและลักษณะเฉพาะของพัดลม กฎของพัดลม การคํานวณกําลังขับ การกําหนดขนาดพัดลม ระบบการกระจายและการติดตั้ง การจําแนกประเภทและลักษณะเฉพาะของเครื่องสูบ กฎสัมพรรคภาพ การคํานวณเฮดลอสและการคํานวณกําลัง เส้นโค้งเฮดของระบบ การต่อเครื่องสูบแบบอนุกรมและขนาน การเกิดโพรงอากาศ ปรากฏการณ์น้ำกระแทก การปรับแก้สมรรถนะเครื่องสูบสําหรับของเหลวหนืด การออกแบบบ่อสูบ การติดตั้งและบํารุงรักษาระบบสูบ การประยุกต์ใช้เครื่องสูบ |
3 (2-2-5) |
6200537 |
การออกแบบระบบชลประทานในฟาร์มส่วนประกอบของระบบชลประทานในฟาร์ม การเลือกวิธีการให้น้ำชลประทาน การออกแบบและการประเมินผล วิธีการให้น้ำชลประทานแบบผิวดิน ฉีดฝอยและจุลภาค การออกแบบระบบกระจายน้ำ ระบบควบคุมนาและ ระบบระบายน้ำในฟาร์ม การออกแบบระบบท่อส่งน้ำเพื่อการชลประทาน การวิเคราะห์ความคุ้มทุนของการพัฒนาระบบชลประทานในฟาร์ม |
3 (2-2-5) |
6200539 |
การทำแห้งและการเก็บรักษาข้าวทฤษฎีการทําแห้ง ระบบการตาก หลักการเคลื่อนที่ของอากาศ การอบผลิตภัณฑ์เกษตรด้วยลมร้อน การหาความชื้น ความสัมพันธ์ระหว่างความชื้นกับอุณหภูมิ ปริมาณความชื้นสมดุล การ ออกแบบเครื่องทําแห้ง วิธีการเก็บรักษาผลิตผลเกษตร ไซโล |
3 (2-2-5) |
6200540 |
วิศวกรรมโรงสีข้าวพื้นฐานวิศวกรรมโรงสีข้าว อุปกรณ์ทดสอบคุณภาพข้าว การทําความสะอาดข้าวเปลือก การทําแห้งและการเก็บรักษาข้าว การสีข้าวเปลือก การแยกแกลบออกจากข้าวสาร การขัดขาว ขัดมันข้าวสาร การคัดขนาดข้าวสารและการบรรจุถุง และการฝึกปฎิบัติ |
3 (2-2-5) |
6200541 |
การพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวกระบวนการการพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวตั้งแต่การออกแบบถึงการค้าเกณฑ์ การออกแบบเพื่อให้สามารถผลิตและประกอบได้เทคโนโลยีการออกแบบที่ เหมาะสม การสร้างต้นแบบและการผลิตเครื่องจักรกลเครื่องมือและวัสดุ สำหรับการผลิตการควบคุมคุณภาพมาตรฐานการทดสอบต้นทุนการ พัฒนาผลิตภัณฑ์ |
3 (2-2-5) |
6200542 |
วิศวกรรมการซ่อมบำรุงแนวความคิดในงานซ่อมบำรุงสถิติการชำรุดขัดข้อง และการวิเคราะห์สาเหตุระบบซ่อมบำรุงป้องกัน การวางแผนและควบคุมกิจกรรมซ่อมบำรุง การควบคุมอะไหล่ ทรัพยากรบุคคลในงานซ่อมบำรุง การวัดผลงานซ่อมบำรุงและการประเมินระบบเพื่อการปรับปรุง ฝึกปฏิบัติการออกแบบแผนการซ่อมบำรุงเครื่องจักรกล |
3 (2-2-5) |
6200543 |
วิศวกรรมความปลอดภัยในงานซ่อมบำรุงทฤษฎีทั่วไปเกี่ยวกับอุบัติเหตุ ความปลอดภัย งานซ่อมบำรุง การบริหารความปลอดภัยวิศวกรรมความปลอดภัยในงานเฉพาะด้าน การวิเคราะห์สาเหตุระบบซ่อมบำรุงป้องกัน การวางแผนและควบคุมกิจกรรม กฎหมายเกี่ยวกับความปลอดภัย และฝึกปฏิบัติการ |
3 (2-2-5) |
6200544 |
การวิเคราะห์การใช้พลังงานในโรงงานหลักเบื้องต้นของการอนุรักษ์และการจัดการพลังงานไฟฟ้าและพลังงานความร้อน เครื่องมือและเทคนิคในการตรวจวัดการใช้พลังงาน การวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์และแผนอนุรักษ์พลังงาน และฝึกปฏิบัติการ |
3 (2-2-5) |
6200545 |
เศรษฐศาสตรืวิศวกรรมการวิเคราะห์ผลเชิงเศรษฐศาสตร์ของการตัดสินใจ ทางวิศวกรรมภายใต้ความแน่นอนและความไม่แน่นอนวิธีการวัดค่าเทียบเท่าโดยการวิเคราะห์การลงทุนรวม และการวิเคราะห์การลงทุนเพิ่มการประยุกต์การวิเคราะห์ทดแทน การวิเคราะห์จุดคุ้มทุนและการวิเคราะห์โครงการของภาครัฐบาลรวมทั้งผลของภาษีเงินได้และผลของเงินเฟ้อ และปฏิบัติการการวิเคราะห์เศรษฐศาสตร์ทางวิศวกรรม |
3 (2-2-5) |
6200546 |
การออกแบบโรงงานอุตสาหกรรมเทคนิคการออกแบบและการวางผังโรงงาน การเลือกตั้งโรงงาน การวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ ปัจจัยและสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อผังใหม่ การวิเคราะห์ข้อมูลการพัฒนาและการนำเสนอผัง ระบบการเคลื่อนย้ายวัสดุ ความสัมพันธ์ของสิ่งแวดล้อมกับผังโรงงาน ปฏิบัติการทดลองออกแบบผังโรงงาน |
3 (2-2-5) |
6200547 |
การวางแผนและควบคุมการผลิตระบบการวางแผนและควบคุมการผลิตโดยใช้ เทคนิคการพยากรณ์ การจัดการวัสดุคงคลัง การจัดลำดับและตารางการผลิต การควบคุมการผลิต เทคนิคสมัยใหม่ในการวางแผนและควบคุมการผลิตที่ก่อให้เกิดของเสียน้อยที่สุด และปฏิบัติการออกแบบการวางแผนและควบคุมการผลิต |
3 (2-2-5) |
6200548 |
เครื่องจักรพลังงานหลักการของอุปกรณ์เครื่องจักรกลพลังงาน ลักษณะการทำงาน การใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ ของมอเตอร์ ปั๊มน้ำ พัดลม เครื่องอัดอากาศ การทำความเย็น หม้อไอน้ำ การเลือกประเภทและชนิดอุปกรณ์เครื่องจักรกลพลังงานมาใช้งานและปฏิบัติการเครื่องจักรกลพลังงาน |
3 (2-2-5) |
6200549 |
เทคโนโลยีพลังงานทดแทนสถานการณ์พลังงานทดแทน เทคโนโลยีพลังงานทดแทน ผลกระทบของการใช้พลังงาน สภาพสิ่งแวดล้อม สภาวะโลกร้อน แหล่งพลังงานจากธรรมชาติ และปฏิบัติการทดลองที่เกี่ยวข้องกับพลังงานทดแทน |
3 (2-2-5) |
6200550 |
การออกแบบระบบพลังงานทดแทนหลักการออกแบบทางวิศวกรรมพลังงานทดแทน ระบบที่สามารถใช้งานได้เหมาะสมทางเศรษฐศาสตร์ที่สุด การจำลองระบบของอุปกรณ์ทางความร้อนและไฟฟ้า ปฏิบัติการการนำพลังงานทดแทนมาประยุกต์ใช้ ในภาคการเกษตรและอุตสาหกรรม |
3 (2-2-5) |
6200551 |
การอนุรักษ์และการจัดการพลังงานสถานการณ์พลังงาน หลักการอนุรักษ์พลังงาน ต้นทุนด้านพลังงาน ประสิทธิภาพพลังงาน ลักษณะการใช้พลังงานในอาคารและโรงงานอุตสาหกรรม กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ขั้นตอนการจัดการพลังงาน และปฏิบัติการจัดทำรายงานการจัดการพลังงาน |
3 (2-2-5) |
6200552 |
การตรวจวัดและวิเคราะห์พลังงานในอาคารการตรวจสอบพลังงานที่ใช้ในอาคารและสิ่งอำนวยความสะดวก ขั้นตอนการตรวจวัดพลังงาน การเลือกใช้เครื่องมือวัดที่เหมาะสมในการตรวจวัดวิเคราะห์ระบบพลังงาน การอนุรักษ์พลังงานในอาคารทั้งระบบทางไฟฟ้าและระบบความร้อน ปฏิบัติการตรวจวัด การบันทึกข้อมูล การจัดทำรายงานและวิเคราะห์ด้านพลังงาน |
3 (2-2-5) |
6200553 |
การตรวจวัดและวิเคราะห์พลังงานในโรงงานการตรวจสอบพลังงานในงานอุตสาหกรรม การเลือกใช้เครื่องมือวัดที่เหมาะสมในการตรวจวัดวิเคราะห์ระบบพลังงาน การอนุรักษ์พลังงานในงานอุตสาหกรรมทั้งระบบทางไฟฟ้าและระบบความร้อน การสมดุลพลังงานในอุปกรณ์ต่างๆ ในโรงงานอุตสาหกรรม เทคนิคการนำความร้อนทิ้งกลับมาใช้ประโยชน์ ปฏิบัติการตรวจวัด บันทึกข้อมูล การจัดทำรายงานและวิเคราะห์ด้านพลังงาน |
3 (2-2-5) |
6200554 |
การวิเคราะห์เชิงสถิติด้วยภาษาไพธอนการวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยแนวโน้ม ความเบี่ยงแบนมาตรฐาน การถดถอย การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร ด้วยเครื่องมือสำหรับภาษาไพธอน |
3 (2-2-5) |
6200555 |
การควบคุมสมองกลฝังตัวด้วยภาษาไพธอนคุณลักษณะและองค์ประกอบของระบบสมองกลฝังตัว ไมโครคอนโทรลเลอร์แบบฝังตัวโปรแกรมแบบฝังตัว ระบบแบบทันการณ์ ปัญหาด้านเวลาและการจัดตารางการทำงาน การประมวลผล กระบวนการออกแบบ และซอฟต์แวร์ที่ใช้สำหรับการพัฒนาระบบด้วยภาษาไพธอน |
3 (2-2-5) |
6200556 |
กลยุทธิ์การสร้างรายได้และการลงทุนการวางแผนการเงิน กองทุนรวม LTF RTF ตลาดหุ้น วิเคราะห์งบตัวอย่าง การวิเคราะห์งบดุล งบกำไรขาดทุน วิธีวิเคราะห์กำไร งบกระแสเงินสด ประเมินธุรกิจ การประเมินมูลค่าหุ้น แบบจำลองในหุ้น |
3 (2-2-5) |
6200557 |
การโปรแกรมวิศวกรรมควบคุมหุ่นยนต์ด้วยภาษา C#ภาษาคอมพิวเตอร์ โปรแกรมเลขฐาน ขั้นตอนการพัฒนาโปรแกรมและการเขียนผังงานโปรแกรมเบื้องต้น โครงสร้างของโปรแกรม กฎในการเขียนโปรแกรม ชนิดของตัวแปรและนิพจน์ คำสั่งตัดสินใจ สั่งวนรอบ ฟังก์ชันและการส่งผ่านค่าให้ฟังก์ชัน อาร์เรย์ ตัวชี้ การอ้างอิงและการพัฒนาอัลกอริทึม การประกอบและการถ่ายทอดและคุณสมบัติ การโปรแกรมและการเขียนโปรแกรม OOP แนะนำการเขียนโปรแกรมควบคุมหุ่นยนต์ด้วย ACE Software |
3 (2-2-5) |
6200558 |
การควบคุมหุ่นยนต์อุตสาหกรรมระดับที่ 1พื้นฐานของระบบหุ่นยนต์ โครงสร้าง ชนิด ประเภทและหลักการทำงานของหุ่นยนต์ ปรับตั้งค่าพื้นฐานหุ่นยนต์ได้ เขียนโปรแกรมควบคุมหุ่นยนต์ในระดับพื้นฐานได้ การเขียนโปรแกรมด้วยซอฟต์แวร์ทดสอบหุ่น การเซตตั้งค่าพื้นฐานของหุ่นยนต์ การทำงานแบบเครื่องมือบังคับ การเซตค่าการทำงานรวมกัน เขียนโปรแกรมด้วยประมวลผลและเคลื่อนไหวตามคำสั่ง |
3 (2-2-5) |
6200559 |
การควบคุมหุ่นยนต์อุตสาหกรรมระดับที่ 2ทฤษฎีระบบหุ่นยนต์ สมการทางพลศาสตร์ของหุ่นยนต์ ระบบความปลอดภัยของหุ่นยนต์ เขียนโปรแกรมควบคุมหุ่นยนต์จากภาษาระดับสูง C# การเขียนโปรแกรมแบบ OOP บน C# การเซตตั้งค่าขั้นสูงของหุ่นยนต์ การใช้คำสั่งให้หุ่นยนต์ทำงาน Motion Instruction เขียนโปรแกรมด้วย ACE และควบคุมรับส่งสัญญาณจาก PLC การเขียนโปรแกรมขั้นสูงให้หุ่นยนต์ทำตามคำสั่งหรือสื่อสารผ่าน PLC แนะนำการประยุกต์ใช้หุ่นยนต์ร่วมกับหุ่นยนต์การเกษตรในงานการผลิต แนะนำการเชื่อมโยงระหว่าง หุ่นยนต์และหุ่นยนต์การเกษตร |
3 (2-2-5) |
6200560 |
เครื่องกลไฟฟ้าหลักการพื้นฐานของการแปรผันพลังงานกลไฟฟ้า วงจรแม่เหล็ก โครงสร้างของหม้อแปลงไฟฟ้า วงจรสมมูล การทดสอบและประสิทธิภาพของหม้อแปลงไฟฟ้า หลักการพื้นฐานและโครงสร้างของเครื่องกลไฟฟ้ากระแสตรง เครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสตรงและมอเตอร์กระแสตรง หลักการพื้นฐานและโครงสร้างของเครื่องกลไฟฟ้ากระแสสลับ เครื่องกำเนิดไฟฟ้าซิงโครนัสและมอเตอร์เหนี่ยวนำ การวิเคราะห์ลักษณะสมบัติในสถานอยู่ตัวและการทดสอบ และฝึกปฏิบัติการ |
3 (2-2-5) |
6200561 |
การใช้งานพีแอลซีระดับ 1บทนำดิจิตอลพื้นฐาน ระบบเลขฐาน ประเภทโครงสร้างและหลักการทำงานของ PLC การติดต่อสื่อและการใช้ PLC ร่วมกับอุปกรณ์สนับสนุนต่าง ๆ การเขียนโปรแกรมเบื้องต้นและโปรแกรมประยุกต์ใช้งาน, คำสั่งพิเศษ, ฝึกเขียนโปรแกรม PLC ควบคุมการทำงานชุดจำลองและระบบต่างๆ |
3 (2-2-5) |
6200562 |
การใช้งานพีแอลซีระดับ 2ทฤษฎีระบบควบคุมอัตโนมัติ คำสั่งระดับสูงที่ใช้งานทั่วไป ระบบควบคุมอนาล็อก แนะนำระบบสื่อสารเครือข่ายของ PLC ฝึกปฏิบัติการการใช้คำสั่งควบคุมระบบต่าง ๆ |
3 (2-2-5) |
6201003 |
การออกแบบระบบท่อและระบบชลประทานภายใต้แรงดันระบบเครื่องสูบน้ำและท่อส่งน้ำ การเลือกเครื่องสูบน้ำและอุปกรณ์ ชลศาสตร์ของการไหลในท่อ การออกแบบระบบส่งน้ำและระบบควบคุม การออกแบบระบบชลประทาน แบบฉีดฝอยและแบบจุลภาค หลักการของระบบเครื่องจักรกลชลประทาน การออกแบบระบบการผสมปุ๋ยพร้อมการให้น้ำ |
3 (2-2-5) |
รหัสวิชา | ชื่อวิชา | หน่วยกิต |
---|---|---|
6200563 |
เตรีมฝึกประสบการณ์วิชาชีพทางวิศวกรรมเครื่องกลและหุ่นยนต์การเกษตรหลักการและแนวคิดเกี่ยวกับการฝึกประสบการณ์วิชาชีพทางวิศวกรรมเครื่องกลและหุ่นยนต์การเกษตร ระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับการฝึกประสบการณ์วิชาชีพทางวิศวกรรมเครื่องกลและหุ่นยนต์การเกษตร การเตรียมพร้อมสู่ความสำเร็จ ความรู้ เจตคติ แรงจูงใจและคุณลักษณะที่จำเป็นสำหรับการไปปฏิบัติงาน การพัฒนาบุคลิกภาพเพื่อสังคมการทำงาน เทคนิคการนำเสนอโครงงานหรือผลงาน และการเขียนรายงานวิชาการ |
1 (0-3-0) |
6200564 |
การฝึกประสบการณ์วิชาชีพทางวิศวกรรมเครื่องกลและหุ่นยนต์ฝึกประสบการณ์วิชาชีพทางวิศวกรรมเครื่องกลและหุ่นยนต์การเกษตร เป็นเวลา 300 ชั่วโมง ในหน่วยงานที่มีความเกี่ยวข้องกับวิศวกรรมเครื่องกลและหุ่นยนต์การเกษตร |
5 (300) |
6200565 |
เตรียมสหกิจศึกษาหลักการและแนวคิดเกี่ยวกับสหกิจศึกษาทางวิศวกรรมเครื่องกลและหุ่นยนต์การเกษตร ระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานสหกิจศึกษาทางวิศวกรรมเครื่องกลและหุ่นยนต์การเกษตร ความรู้พื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการไปปฏิบัติงานในสถานประกอบการ เทคนิคการนำเสนอโครงงานหรือผลงานและการเขียนรายงานวิชาการ การพัฒนาบุคลิกภาพเพื่อสังคมการทำงาน โดยนักศึกษาต้องผ่านการอบรมอย่างน้อย 30 ชั่วโมง |
0 (30 ชั่วโมง) |
6200566 |
สหกิจศึกษานักศึกษาต้องไปปฏิบัติงานเชิงวิชาการหรือวิชาชีพเต็มเวลาเสมือนหนึ่งเป็นพนักงานชั่วคราว ณ สถานประกอบการครบ 1 ภาคการเรียน สหกิจศึกษาตามที่สาขาวิชากำหนด เมื่อเสร็จสิ้นการปฏิบัติงานแล้วนักศึกษาจะต้องส่งรายงานวิชาการและนำเสนอผลการไปปฏิบัติงานต่ออาจารย์ในสาขาวิชา เพื่อทำการประเมินผล โดยวัดจากผลประเมินของอาจารย์ที่ปรึกษาสหกิจศึกษา พนักงานที่ควบคุมการปฏิบัติงานในสถานประกอบการและจากรายงานวิชาการ |
6 (16 สัปดาห์) |