รหัสวิชา | ชื่อวิชา | หน่วยกิต |
---|---|---|
6200001 |
แคลคูลัสสำหรับงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัยลิมิตและความต่อเนื่องของฟังก์ชัน อนุพันธ์ของฟังก์ชันและการประยุกต์ ผลต่างอนุพันธ์ ปริพันธ์ของฟังก์ชันและการประยุกต์ เทคนิคการหาปริพันธ์ สมการเชิงอนุพันธ์อันดับที่หนึ่งแบบแยกตัวแปรได้ การแก้สมการทางอาชีวอนามัยและความปลอดภัย |
3 (3-0-6) |
6200002 |
ฟิสิกส์สำหรับสาธารณสุขการวัด กฎการเคลื่อนที่ งานและพลังงาน กฎการอนุรักษ์พลังงานและโมเมนตัม สมบัติของของไหล อุณหพลศาสตร์ ไฟฟ้าสถิตและไฟฟ้ากระแส สนามไฟฟ้า สนามแม่เหล็ก แสง คลื่น รังสีและกัมมันตภาพรังสี อันตรกิริยาของรังสีกับวัตถุ การวัดปริมาณรังสี เครื่องมือวัดทางฟิสิกส์สุขภาพ การใช้รังสีเพื่อสุขภาพ ผลทางชีววิทยาของรังสี และการป้องกันอันตรายจากรังสี ปฏิบัติการทดลองให้สอดคล้องกับวิชาฟิสิกส์สำหรับวิทยาศาสตร์สุขภาพ อย่างน้อย 10 การทดลอง |
3 (2-2-5) |
6200003 |
เคมีทั่วไปโครงสร้างอะตอม สมบัติของธาตุเรพริเซนเททีฟและทรานซิซัน พันธะเคมี ปริมาณสารสัมพันธ์ แก๊ส ของแข็ง ของเหลวและสารละลาย จลนพลศาสตร์ สมดุลเคมี กรด – เบส อุณหพลศาสตร์และเคมีไฟฟ้า |
3 (3-0-6) |
6200004 |
ปฏิบัติการเคมีทั่วไปปฏิบัติการที่เกี่ยวกับสารเคมี ความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการเคมี |
1 (0-2-1) |
6200005 |
เคมีอินทรีย์ 1ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเคมีอินทรีย์ ไฮบริไดเซซันของคาร์บอน พันธะในสารประกอบอินทรีย์ สเตอริโอเคมี การจำแนกประเภทและการเรียกชื่อสารประกอบอินทรีย์ สเตอริโอเคมี การจำแนกประเภทและการเรียกชื่อสารประกอบอินทรีย์ สมบัติทางกายภาพ การเตรียม และปฏิกิริยาของสารประกอบไฮโดรคาร์บอน สารประกอบ อะโรมาติกและสารประกอบอินทรีย์ที่มีหมู่ฟังก์ชันชนิดเดียว |
3 (3-0-6) |
6200006 |
ปฏิบัติการเคมีอินทรีย์ 1ปฏิกิริยาเฉพาะและพิสูจน์เอกลักษณ์ของสารอินทรีย์และการสังเคราะห์อย่างง่าย |
1 (0-2-1) |
6200007 |
สถิติสำหรับงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัยความสำคัญและขอบข่ายของสถิติในงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ตารางชีพ และสถิติชีพ การเก็บรวบรวมข้อมูล การนำเสนอข้อมูล การวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลางและการวัดการกระจาย ความน่าจะเป็น การแจกแจงความน่าจะเป็น การแจกแจงค่าสถิติของตัวอย่าง การประมาณค่า การทดสอบสมมติฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวน การวิเคราะห์การถดถอย ค่าสหสัมพันธ์ การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ |
3 (2-2-5) |
6200008 |
โปรแกรมสำเร็จรูปและการประยุกต์ใช้งานความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ตและเครือข่ายสังคม การเผยแพร่ความรู้บนเครือข่ายสังคมออนไลน์ การใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการสืบค้นข้อมูล การใช้ซอฟต์แวร์ประมวลผลคำเพื่อจัดเตรียมรายงานด้านวิทยาศาสตร์ การใช้ซอฟต์แวร์เพื่อการคำนวนด้านวิทยาศาสตร์ การใช้ซอฟต์แวร์เพื่อการนำเสนอข้อมูลด้านวิทยาศาสตร์ |
2 (1-2-3) |
6200009 |
ชีววิทยาสำหรับสาธารณสุขสารประกอบทางเคมีของสิ่งมีชีวิต เซลล์และเนื้อเยื่อ กระบวนการเมแทบอลิซึม การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมและโรคทางพันธุกรรม สรีรวิทยาของสิ่งมีชีวิตและโรคที่เกิดจากความผิดปกติ ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย พฤติกรรมของสิ่งมีชีวิต ปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา |
3 (2-2-5) |
6200010 |
จุลชีววิทยาและปรสิตวิทยาการจำแนกประเภท สัณฐานวิทยา และสรีรวิทยาของจุลินทรีย์ การควบคุมจุลินทรีย์ จุลชีววิทยาทางอาหาร วงจรชีวิตของปรสิต การสุขาภิบาล โรคติดต่อและภูมิคุ้มกัน ปรสิตกับการก่อโรคในมนุษย์และการป้องกัน การเก็บตัวอย่างจุลินทรีย์ก่อโรคและปรสิต เทคนิคพื้นฐานและเครื่องมือในห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยาที่เกี่ยวข้องกับงานสาธารณสุข |
3 (2-2-5) |
6200012 |
การปฐมพยาบาลเบื้องต้นสำหรับงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัยความสำคัญและประโยชน์ของการปฐมพยาบาลเบื้องต้น หลักการประเมินสภาพผู้ป่วยเบื้องต้นที่ใช้ในการช่วยเหลือ การซักประวัติและการตรวจร่างกาย เทคนิคการปฐมพยาบาลการเบื้องต้นในผู้ป่วยฉุกเฉิน การปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพเบื้องต้น การส่งต่อผู้ป่วย การปฐมพยาบาลในสภาวะต่างๆ และปฏิบัติการที่สอดคล้องกับเนื้อหา |
3 (2-2-5) |
6200013 |
สุขศึกษาและพฤติกรรมสุขภาพความหมาย ขอบข่าย และแนวคิดของสุขศึกษา ประเภทของงานสุขศึกษา จิตวิทยากับงานสุขศึกษา การสื่อสารและสื่อสุขศึกษา กระบวนการทางสุขศึกษา วิธีการทางสุขศึกษา การวางแผนและประเมินผลงานสุขศึกษา พฤติกรรมสุขภาพ และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพของบุคคลและสังคมวิธีการสร้างและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพในสถานศึกษา ชุมชน หรือสถานประกอบการ |
3 (3-0-6) |
6200014 |
ปัญหาสุขภาพและการป้องกันความหมาย ขอบข่ายปัญหาสุขภาพ ปัญหาสุขภาพทุกช่วงวัย ปัญหาสุขภาพส่วนบุคคล ครอบครัว และชุมชน ความสำคัญของการดูแลสุขภาพตนเอง ครอบครัว และชุมชน แนวทางการป้องกันและควบคุมปัญหาสุขภาพ บทบาทของนักสาธารณสุขในการป้องกันและแก้ไขปัญหาสุขภาพในชุมชน |
3 (3-0-6) |
6200015 |
ระบาดวิทยาและการควบคุมโรคหลักการและแนวคิดทางระบาดวิทยา ธรรมชาติการเกิดโรคและระดับการป้องกันโรค การวัดทางระบาดวิทยาและสถิติที่เกี่ยวข้อง รูปแบบการศึกษาทางระบาดวิทยาเบื้องต้น หลักการเฝ้าระวังและการสอบสวนระบาดวิทยา รูปแบบการเฝ้าระวังและการสอบสวนทางระบาดวิทยาของโรคติดต่อ โรคไม่ติดต่อ โรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม การจัดการภัยพิบัติทางสาธารณสุข และการประยุกต์หลักการทางระบาดวิทยาและข้อมูลข่าวสารทางระบาดวิทยาในงานสาธารณสุข ได้แก่ การวินิจฉัยชุมชน การป้องกันและควบคุมโรคหรือปัญหาสุขภาพ การสร้างเสริมสุขภาพ อนามัยสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัยและความปลอดภัย รวมทั้งการฝึกปฏิบัติการเฝ้าระวังและการสอบสวนทางระบาดวิทยาจากเหตุการณ์สมมติและการจัดทำรายงาน |
3 (2-2-5) |
6200016 |
การสาธารณสุขขั้นนำประวัติ ความสำคัญ โครงสร้างและบทบาทของการสาธารณสุข บทบาทและหน้าที่ของนักสาธารณสุข หลักการสาธารณสุข ระบบสุขภาพ ระบบบริการสุขภาพ หลักและวิธีการวัด และประเมินภาวะสุขภาพของบุคคลแต่ละกลุ่ม |
3 (3-0-6) |
6201051 |
กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาของมนุษย์โครงสร้างและองค์ประกอบของเซลล์ ชนิดของเนื้อเยื่อ การเจริญและพัฒนาการขั้นพื้นฐานของเนื้อเยื่อ รูปร่างลักษณะและตำแหน่งที่ตั้งของอวัยวะระบบต่างๆ ของร่างกายมนุษย์ บทบาทหน้าที่และกลไกการทำงานในแต่ละระบบ และการทำงานร่วมกันของระบบต่างๆ ในการควบคุมและรักษาสมดุลของร่างกายให้อยู่ในภาวะปกติ และปฏิบัติการที่สอดคล้องกับเนื้อหา |
3 (2-2-5) |
รหัสวิชา | ชื่อวิชา | หน่วยกิต |
---|---|---|
6200017 |
อาชีวอนามัยและความปลอดภัยขั้นมูลฐานความหมายและความสำคัญของงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ปัญหาด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยของผู้ประกอบอาชีพต่างๆ การสัมผัสสิ่งคุกคามที่เกิดจากการประกอบอาชีพและผลกระทบต่อสุขภาพ โรคจากการประกอบอาชีพและหลักการป้องกัน การป้องกันอุบัติภัยในการทำงาน หน่วยงาน องค์กร มาตรฐานกำหนดและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอาชีวอนามัยและความปลอดภัย |
3 (3-0-6) |
6200018 |
กฎหมายสาธารณสุข อาชีวอนามัย ความปลอดภัย และจรรยาบรรณวิชาชีพความสำคัญ ขอบเขต การพัฒนาของกฎหมายสาธารณสุข กฎหมายอาชีวอนามัย ความปลอดภัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน จรรยาบรรณวิชาชีพการสาธารณสุข กฎหมายอาชีวอนามัยและความปลอดภัยของประเทศไทย และกฎหมายอาชีวอนามัยและความปลอดภัยของต่างประเทศ กฎหมายสิ่งแวดล้อม |
3 (3-0-6) |
6200019 |
สัมมนาอาชีวอนามัยและความปลอดภัยการค้นคว้า และรวบรวมรายงานวิจัยเกี่ยวกับความก้าวหน้าทางวิชาการด้าน อาชีวอนามัยและความปลอดภัย นำเสนอต่อที่ประชุมโดยการอภิปรายและแสดงความคิดเห็นร่วมกัน |
2 (1-2-3) |
6200020 |
พิษวิทยาอาชีวอนามัยหลักการของพิษวิทยาอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม การจำแนกชนิดของสารพิษ ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณของสารพิษที่จะเข้าสู่ร่างกาย พิษจลนศาสตร์และพิษพลศาสตร์ การประเมินความเป็นพิษของสารพิษ สารพิษทางชีวภาพ วิธีการป้องกันสารพิษและการจัดการสารพิษ |
3 (3-0-6) |
6200021 |
อาชีวเวชศาสตร์แนวคิดด้านอาชีวเวชศาสตร์ในงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัย สถานการณ์โรคจากการประกอบอาชีพในประเทศไทย กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอาชีวเวชศาสตร์ สาเหตุและผลกระทบของการเกิดโรคเนื่องจากการทำงาน แนวทางการวินิจฉัยโรค การป้องกันและควบคุมที่โรคจากการทำงาน การตรวจสุขภาพตามปัจจัยเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ |
3 (3-0-6) |
6200022 |
การยศาสตร์ขอบเขตของการยศาสตร์ ความสัมพันธ์ระหว่างคนและสิ่งแวดล้อมในการทำงาน การใช้เครื่องมือประเมินความเสี่ยงตามหลักการยศาสตร์ การประเมินค่าความสมบูรณ์ของร่างกาย ความเครียดและความเมื่อยล้าจากการทำงาน หลักการสร้างสภาวะการทำงานที่ถูกต้อง การออกแบบสถานีงาน การประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลของสถานีงาน |
3 (3-0-6) |
6200023 |
การบริหารงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยการประยุกต์หลักการบริหารงานเข้าสู่งานอาชีวอนามัย และความปลอดภัย หลักการวางแผนงานอาชีวอนามัย การจัดการและการบริหารองค์กร ระบบการบริหารงานด้านความปลอดภัย บทบาทขององค์กรภาครัฐ องค์กรภาคเอกชน องค์กรสากลที่เกี่ยวข้องกับอาชีวอนามัย ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยทั้งในและต่างประเทศ |
3 (3-0-6) |
6200024 |
การประเมินและการจัดการความเสี่ยงในงานอาชีวอนามัยหลักการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ หลักการประเมินความเสี่ยงจากอันตราย การชี้บ่งอันตราย การประเมินความเสี่ยง การจัดระดับความเสี่ยง และการบริหารจัดการความเสี่ยง |
3 (3-0-6) |
6200025 |
กระบวนการผลิตทางอุตสาหกรรมและอันตรายการสร้างโรงงานให้ปลอดภัย ทำเลที่ตั้งของโรงงาน กระบวนการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรม การจำแนกวัตถุดิบ และสารเคมีที่นำมาใช้ในกระบวนการผลิต ปัญหาและอันตรายที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิตทางอุตสาหกรรม แนวทางการควบคุมป้องกันอันตรายที่เกิดในกระบวนการผลิตทางอุตสาหกรรม |
2 (2-0-4) |
6200026 |
การป้องกันและการควบคุมอัคคีภัยประเภทของไฟ องค์ประกอบของไฟ สาเหตุ และชนิดของการเกิดอัคคีภัย/อุบัติภัย สารเคมีรั่วไหล และการระเบิด เทคนิคและวิธีการควบคุม ระบบและอุปกรณ์ป้องกันและระงับอัคคีภัย หลักการติดตั้งระบบเตือนภัย การเขียนแผนป้องกันอัคคีภัยอุบัติภัย สารเคมีรั่วไหล การระเบิด การจัดองค์กรในการระงับอัคคีภัย การซ้อมอพยพหนีไฟ เทคนิคในการดับเพลิง วิธีการจัดการภาวะฉุกเฉิน และการเตรียมพร้อมรองรับภัยพิบัติ |
3 (2-2-5) |
6200027 |
เทคโนโลยีความปลอดภัยในงานอุตสาหกรรมระบบควบคุมทางวิศวกรรมความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร การใช้เครื่องมือและเครื่องมือกล การทำงานกับไฟฟ้า การทำงานกับหม้อไอน้ำ ภาชนะรับแรงดันและภาชนะบรรจุก๊าซ การทำงานที่อับอากาศ การจัดเก็บสารเคมีอันตรายและวัตถุอันตราย การเลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล เทคนิคทางวิศวกรรมในการควบคุมและป้องกัน อุบัติเหตุ อุบัติการณ์ การเกิดการประสบอันตรายจากสภาพงาน กระบวนการผลิต |
3 (3-0-6) |
6200028 |
การระบายอากาศในโรงงานอุตสาหกรรมหลักการระบายอากาศในโรงงานอุตสาหกรรม การระบายอากาศในอาคารและสำนักงาน การควบคุมมลภาวะทางอากาศ การออกแบบระบบระบายอากาศแบบทั่วไป และการระบายอากาศเฉพาะที่ ส่วนประกอบของระบบระบายอากาศ การทดสอบระบบระบายอากาศ |
3 (3-0-6) |
6200029 |
สุขศาสตร์อุตสาหกรรมขั้นพื้นฐานแนวคิดของงานด้านสุขศาสตร์อุตสาหกรรม การตระหนักอันตราย การประเมินอันตรายและการควบคุมอันตราย ปัจจัยสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ชีวภาพ เคมีและ การยศาสตร์ในสถานที่ทำงาน อันตรายต่อผู้ปฏิบัติงานในทุกสาขาอาชีพ โปรแกรมสุขศาสตร์อุตสาหกรรม |
2 (2-0-4) |
6200030 |
การเก็บและวิเคราะห์ตัวอย่างด้านสุขศาสตร์อุตสาหกรรมหลักและวิธีการประเมินสิ่งแวดล้อมในการทำงาน หลักการวิเคราะห์ตัวอย่าง การใช้เครื่องมือการวิเคราะห์ การแปลผลการตรวจวัดสิ่งแวดล้อม การวิเคราะห์ข้อมูล การประเมินถึงอันตรายต่อสุขภาพของคนงานเมื่อสัมผัสกับสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ผิดปกติไป และปฏิบัติการที่สอดคล้องกับเนื้อหา |
3 (2-2-5) |
6200031 |
ภาษาอังกฤษสำหรับเทคโนโลยี |
3 (3-0-6) |
6200032 |
ภาษาอังกฤษในงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยความหมาย คำศัพท์ภาษาอังกฤษ ด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร บรรยาย สาธิต การให้ข?อมูลการทำงานด้านความปลอดภัย สำหรับผู้ปฏิบัติงานในสถานประกอบกิจการ การสืบค้นข้อมูลข่าวสาร เทคนิคการเขียนรายงานการวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัยด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย |
3 (3-0-6) |
รหัสวิชา | ชื่อวิชา | หน่วยกิต |
---|---|---|
6200033 |
อนามัยสิ่งแวดล้อมความหมาย และขอบข่ายของอนามัยสิ่งแวดล้อม องค์ประกอบของสิ่งแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ และคุณภาพชีวิต การจัดสุขาภิบาลที่พักอาศัย อาหาร การจัดการน้ำดื่มน้ำใช้ การจัดการขยะและสิ่งปฏิกูล การควบคุมแมลงและสัตว์นำโรค การควบคุมเหตุรำคาญ การควบคุมและจัดการปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อม มาตรฐานสิ่งแวดล้อม กฏหมายสิ่งแวดล้อม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับงานด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม |
3 (3-0-6) |
6200034 |
การเตรียมความพร้อมและการตอบโต้สภาวะฉุกเฉินวิธีการจัดการภาวะฉุกเฉิน ระยะการบรรเทาภัย การเตรียมความพร้อม การตอบโต้ และการฟื้นฟูสภาพ ความรับผิดชอบของหน่วยงานและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ระบบบัญชาการเหตุฉุกเฉิน กรณีศึกษาภัยพิบัติ มาตรการจัดการภัยพิบัติ |
3 (3-0-6) |
6200035 |
มาตรฐานระดับชาติและสากลสำหรับระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยหลักการเกี่ยวกับมาตรฐานระบบการจัดการอาชีวอนามัยความปลอดภัยและระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม มาตรฐานระบบการจัดการสากลที่ใช้ในประเทศไทยและประเทศอื่นๆ มาตรฐานสากลด้านระบบการจัดการคุณภาพ มาตรฐานสากลด้านระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม มาตรฐานสากลด้านระบบอาชีวอนามัยและความปลอดภัย และมาตรฐานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยของประเทศไทย |
2 (2-0-4) |
6200036 |
สุขภาพและความปลอดภัยในการทำงานความหมาย ขอบเขต และความสำคัญของสุขภาพการเฝ้าระวังทางสุขภาพหลักการป้องกันโรคจากการประกอบอาชีพ ระบบสวัสดิภาพในประชากรวัยทำงานอุบัติภัยในการทำงาน หน่วยงานและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัย |
3 (3-0-6) |
6200037 |
ความปลอดภัยในงานอุตสาหกรรมความสำคัญของความปลอดภัยในการทำงาน หลักการทางวิศวกรรมความปลอดภัย ความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ไฟฟ้า ที่อับอากาศ เครื่องมือ เครื่องจักรกลต่างๆ การตรวจความปลอดภัย การวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย การส่งเสริมความปลอดภัยและอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลในงานอุตสาหกรรม |
3 (3-0-6) |
6200038 |
เทคนิคการตรวจสอบความปลอดภัยเทคนิคในการตรวจสอบคุณภาพด้านความปลอดภัยในสถานประกอบการ การใช้อุปกรณ์เกี่ยวกับความปลอดภัยในสถานประกอบการให้อยู่ในมาตรฐานความปลอดภัยตามที่กฎหมายกำหนด เทคนิคการปฏิบัติ การตรวจสอบตามแผนความปลอดภัย วิธีการค้นหาสาเหตุอุบัติภัยจากการทำงาน การรายงานและการปรับปรุง แก้ไขปัญหาด้านความปลอดภัยในสถานประกอบการ และปฏิบัติการที่สอดคล้องกับเนื้อหา |
3 (2-2-5) |
6200039 |
การจัดการกากของเสียอุตสาหกรรมการจำแนกประเภทและชนิดของกากของเสียอุตสาหกรรม อันตรายจากกากของเสียอันตรายอุตสาหกรรมต่อสุขภาพ ทรัพย์สินและสิ่งแวดล้อม แนวคิดการจัดการของเสียอุตสาหกรรม การป้องกันมลพิษจากของเสียอุตสาหกรรม การลดปริมาณของเสียอุตสาหกรรม โครงการป้องกันมลพิษจากของเสียอันตราย การเก็บรวบรวม การขนส่ง การควบคุมของเสียอุตสาหกรรม การทำเอกสารขนส่งของเสียอุตสาหกรรม กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการกากอุตสาหกรรม |
3 (3-0-6) |
6200040 |
จิตวิทยาอุตสาหกรรมแนวคิด หลักจิตวิทยาทั่วไป จิตวิทยาอุตสาหกรรม และการประยุกต์ใช้ ในงานภาคอุตสาหกรรม ปัจจัยด้านสังคมและสภาพแวดล้อม ที่มีผลต่อสุขภาพกายและจิตใจของผู้ปฏิบัติงาน การป้องกันผลกระทบที่เกิดจากการทำงานและการปฏิบัติตนที่ไม่ปลอดภัย หลักการเข้าถึง เทคนิคการสอน การจูงใจ การบำรุงขวัญผู้ปฏิบัติงาน ความสัมพันธ์อันดีระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง |
2 (2-0-4) |
6200041 |
การจัดการองค์การด้านความปลอดภัยบทบาทหน้าที่องค์การความปลอดภัย ผู้นำด้านความปลอดภัย บทบาทหน้าที่ภาวะผู้นำ พฤติกรรมมนุษย์ การวิเคราะห์ความผิดพลาดของมนุษย์ พฤติกรรมความปลอดภัย วัฒนธรรมความปลอดภัย การพัฒนาและรักษาวัฒนธรรมความปลอดภัย ทักษะการสอน ทักษะการสื่อสาร ทัศนคติและความพึงพอใจในการทำงาน เทคนิคการจูงใจ การอบรมและการพัฒนาบุคลากร |
3 (3-0-6) |
6200042 |
การฝึกอบรมความปลอดภัยหลักการและเทคนิคการฝึกอบรมความปลอดภัย เทคนิคการเป็นวิทยากร เทคนิคการนำเสนอ การจัดทำแผนและโครงการฝึกอบรมความปลอดภัย การจัดการฝึกอบรม การประเมินผลและการติดตามผล |
3 (3-0-6) |
6200043 |
ระเบียบวิธีวิจัยทางอาชีวอนามัยและความปลอดภัยหลักการและความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการวิจัยทางด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การสืบค้นข้อมูลทางวิทยาศาสตร์และสารสนเทศ การเขียนโครงร่างงานวิจัย กระบวนการวิจัย การกำหนดปัญหา คำถาม วัตถุประสงค์และสมมติฐานการวิจัย การทบทวนวรรณกรรม ประเภทของตัวแปร กรอบแนวคิดการวิจัย เครื่องมือและการสร้างเครื่องมือ การเก็บรวบรวมข้อมูล แบบแผนการวิจัยทางอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงสถิติ การแปลผล จรรยาบรรณนักวิจัยการเขียนรายงาน การนำเสนอผลงานวิจัย |
3 (2-2-5) |
6200044 |
การควบคุมเสียงดังและความสั่นสะเทือนทฤษฎีของเสียง เสียงรบกวน มลพิษทางเสียง และความสั่นสะเทือน แหล่งกำเนิด ผลกระทบ การตรวจวัด การประเมินผล กลไกลการเกิดและผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ประกอบอาชีพและโรคจากรับสัมผัสเสียงดังและความสั่นสะเทือน |
3 (3-0-6) |
6200045 |
การฝึกทักษะในงานสาธารณสุขการฝึกปฏิบัติในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โรงพยาบาลชุมชน การจัดทำโครงการที่สอดคล้องกับปัญหาสุขภาพของชุมชน ทักษะเบื้องต้นในการให้บริการในด้านต่าง ๆ ตามบทบาทหน้าที่ของนักวิชาการสาธารณสุข |
3 (0-6-3) |
6200046 |
ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการแบบจำลองสารสนเทศการสร้างแบบจำลองข้อมูล โครงสร้างระบบสารสนเทศในองค์กร บริบทของสารสนเทศในการบริหารงาน การออกแบบและพัฒนาระบบสารสนเทศ ระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ ระบบสารสนเทศเพื่อการวางแผนกลยุทธ์ กรณีศึกษาการพัฒนาระบบสารสนเทศด้วยคอมพิวเตอร์เพื่อการจัดการ |
3 (2-2-5) |
รหัสวิชา | ชื่อวิชา | หน่วยกิต |
---|---|---|
6200047 |
การเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพอาชีวอนามัยและความปลอดภัยกิจกรรมด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย กระบวนการแก้ปัญหาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย เตรียมความพร้อมของผู้เรียนก่อนออกฝึกปฏิบัติการวิชาชีพ ในสถานการณ์ หรือรูปแบบต่างๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับงานในวิชาชีพเตรียมการวางแผนการฝึกประสบการณ์วิชาชีพทุกขั้นตอน ศึกษาเกี่ยวกับการทำงานเป็นทีม การพัฒนาบุคลิกภาพ จรรยาบรรณวิชาชีพ การพัฒนาคุณลักษณะต่างๆ ที่เหมาะสมกับวิชาชีพ |
1 (0-2-1) |
6200048 |
การฝึกประสบการณ์วิชาชีพอาชีวอนามัยและความปลอดภัยการฝึกปฏิบัติงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การบ่งชี้ การประเมินและกระบวนการแก้ปัญหาอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในสถานประกอบการ โรงงานและหน่วยงานอื่นๆ |
5 (450) |
6200049 |
สหกิจศึกษาวิชาชีพอาชีวอนามัยและความปลอดภัยการฝึกปฏิบัติงานจริงเต็มเวลาในสาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย 1 ภาคเรียน โดยจะต้องมีระยะเวลาปฏิบัติงานจริงตามที่กำหนดในหน่วยงานราชการ องค์กรรัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานเอกชนอย่างมีระบบ เรียนรู้ ประสบการณ์จากการปฏิบัติงานและมีคุณภาพตรงตามที่หน่วยงานของรัฐ องค์กรรัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานเอกชนต้องการมากที่สุด โดยจัดให้มีการปฐมนิเทศก่อนการปฏิบัติงานจริง กำหนดคุณสมบัติของนักศึกษา มีการนิเทศโดยอาจารย์ที่ปรึกษา และมีการปัจฉิมเกี่ยวกับรายละเอียดของการปฏิบัติงาน และมีค่าตอบแทนหรือสวัสดิการต่างๆ ตามความจำเป็นแก่นักศึกษา |
6 (16) |