เข้าสู่เว็บไซต์ คณะวิทยาการจัดการ
ปรัชญา
องค์กรแห่งความเป็นเลิศทางด้านการจัดการเชิงบูรณาการที่ตอบสนองความต้องการและพัฒนาท้องถิ่น
วิสัยทัศน์
เป็นองค์กรที่สร้างวิทยาการเชี่ยวชาญ เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีความเป็นผู้นำและเป็นนักปฏิบัติงานด้านการจัดการเชิงบูรณาการที่มีคุณภาพตามมาตรฐานสู่การยอมรับในระดับที่กว้างมากยิ่งขึ้น
ติดต่อคณะวิทยาการจัดการ
ที่อยู่ : 398 หมู่ 9 ถ.สวรรค์วิถี ต.นครสวรรค์ตก อ.เมือง จ.นครสวรรค์ 60000
หมายเลขโทรศัพท์ : 0-5621-9100 ต่อ 2400
หมายเลขโทรสาร :
สำนักงานคณะ | 2400 |
หัวหน้าสำนักงานคณะ | 2431 |
คณบดี | 2410 |
รองคณบดี | 2422 |
สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ | 2401 |
สาขาวิชาการตลาด | 2402 |
สาขาวิชาบริหารทรัพยากรมนุษย์และการจัดการ | 2403 |
สาขาวิชาการบัญชี | 2404 |
สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ | 2405 |
สาขาวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม | 2406 |
สาขาวิชานิเทศศาสตร์ | 2407 |
สำหรับหมายเลขโทรศัพท์ของอาจารย์และบุคลากร
สามารถสืบค้นจากชื่อบุคคลได้ที่ หน้าค้นหา
คณะวิชาวิทยาการจัดการ วิทยาลัยครูนครสวรรค์ ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2537 หลังจากมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติวิทยาลัยครู พ.ศ. 2527 โดยโอนภาควิชาสหกรณ์จากคณะวิทยาศาสตร์ ภาควิชาเศรษฐศาสตร์ และภาควิชาการสื่อสารและการประชาสัมพันธ์ จากคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์เข้ามาสังกัดในคณะฯ โดยใช้ชื่อว่า คณะวิชาวิทยาการจัดการ เมื่อแรกตั้งคณะวิชาวิทยาการจัดการมีภาควิชาทั้งหมด 3 ภาควิชา คือ ภาควิชาบริหารธุรกิจ ภาควิชาเศรษฐศาสตร์ และภาควิชาการสื่อสารและการประชาสัมพันธ์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2547 เมื่อมีการปรับปรุงระบบบริหารราชการแผ่นดินใหม่ และให้สถาบันราชภัฏที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ พ.ศ. 2538 มีฐานะเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2547 เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2547 และประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2547
เมื่อเริ่มเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ คณะวิทยาการจัดการ ดำเนินการบริหารงานในรูปแบบมีภาควิชา โดยจัดเป็น 2 ภาควิชา 1 สำนักงานดังนี้ คือ 1) ภาควิชาบริหารธุรกิจ 2) ภาควิชานิเทศศาสตร์และอุตสาหกรรมบริการ และ 3) สำนักงานคณบดี ในปีการศึกษา 2552 ได้มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการบริหารใหม่ โดยยกเลิกภาควิชาและกลับไปดำเนินการในรูปแบบสาขาวิชา โดยแบ่งออกเป็น 7 สาขาวิชา กับ 1 สำนักงานคณบดี ซึ่งสาขาวิชาทั้งหมดประกอบด้วย 1) สาขาวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์และการจัดการ 2) สาขาวิชาการบัญชี 3) สาขาวิชาการตลาด 4) สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ 5)สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ 6) สาขาวิชานิเทศศาสตร์ และ 7) สาขาวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม
หลักสูตรที่เปิดสอน
หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต
- สาขาวิชาการตลาด
- สาขาวิชาบริหารทรัพยากรมนุษย์และการจัดการ
- สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
แนวทางประกอบอาชีพ
- นักการตลาด นักบริหารผลิตภัณฑ์ นักบริหารงานขาย นักวิเคราะห์ตลาด นักวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาด เจ้าของกิจการ เป็นต้น
- อาจารย์ นักวิชาการและวิทยากรฝึกอบรม ด้านจัดการทรัพยากรมนุษย์
- นักวิชาการคอมพิวเตอร์ นักวิเคราะห์และออกแบบระบบคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
หลักสูตรบัญชีบัณฑิต
- สาขาวิชาการบัญชี
แนวทางประกอบอาชีพ
- ที่ปรึกษาทางด้านบัญชีการเงินหรือภาษีอากรธุรกิจ
- นักบัญชี ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน
- อาชีพอื่นๆ ที่ใช้ความรู้ทางด้านบัญชีและภาษีอากร
หลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต
- สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ แขนงวิชาเศรษฐศาสตร์การเงินและการธนาคาร
แนวทางประกอบอาชีพ
- นักเศรษฐศาสตร์ ทั้งภาครัฐและเอกชน เช่น นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ ในหน่วยงานธนาคารพาณิชย์ ตลาดหลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ เป็นต้น
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต
- สาขาวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม
แนวทางประกอบอาชีพ
- ทำงานธุรกิจการท่องเที่ยว เช่น ธุรกิจนำเที่ยว ธุรกิจการบิน ธุรกิจโรงแรม หรือธุรกิจอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจการท่องเที่ยว
- ผู้ประกอบการธุรกิจการท่องเที่ยวและธุรกิจโรงแรมขนาดเล็ก เป้นต้น
หลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต
- สาขาวิชานิเทศศาสตร์ แขนงวิชาการโฆษณาและการประชาสัมพันธ์
- สาขาวิชานิเทศศาสตร์ แขนงวิชาการสื่อสารมวลชน
แนวทางประกอบอาชีพ
- อาชีพด้านสื่อสารมวลชน ทั้งภาครัฐและเอกชน เช่น ผู้สื่อข่าว นักหนังสือพิมพ์ นักโฆษณา นักประชาสัมพันธ์ ผู้เขียนบท ผู้ผลิตรายการวิทยุโทรทัศน์ นักจัดรายการวิทยุกระจายเสียง เป้นต้น