เข้าสู่เว็บไซต์ คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
ปรัชญา
สร้างองค์ความรู้ คู่งานวิจัย ใฝ่ใจบริการ ผลิตบัณฑิตตามความต้องการของท้องถิ่น
วิสัยทัศน์
พัฒนาคนด้านเทคโนโลยีและงานสร้างสรรค์สู่ความเป็นเลิศ
ติดต่อคณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
ที่อยู่ : 398 หมู่ 9 ถ.สวรรค์วิถี ต.นครสวรรค์ตก อ.เมือง จ.นครสวรรค์ 60000
หมายเลขโทรศัพท์ : 0-5621-9100 ต่อ 2300, 2301
หมายเลขโทรสาร : 0-5688-2731
สำนักงานคณะ | 2301 |
หัวหน้าสำนักงานคณะ | 2301 |
คณบดี | 2302 |
รองคณบดี | 2300 |
สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม | |
สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรม | |
สาขาวิชาการออกแบบ | 2308 |
สาขาวิชาไฟฟ้าอุตสาหกรรม | 2309 |
สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าเครื่องกลการผลิต | |
สาขาวิชาวิศวกรรมพลังงาน | |
สาขาวิชาวิศวกรรมการจัดการอุตสาหกรรมและสิ่งแวดล้อม | |
สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ | |
สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร | |
สำนักงานคณะ (ศูนย์การศึกษาย่านมัทรี) | 0-5627-8983 |
สำหรับหมายเลขโทรศัพท์ของอาจารย์และบุคลากร
สามารถสืบค้นจากชื่อบุคคลได้ที่ หน้าค้นหา
คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเป็นหน่วยงานระดับคณะ สังกัดภายใต้มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ มีหน้าที่ผลิตบัณฑิตสาขาเกษตรศาสตร์และอุตสาหกรรม
ปี พ.ศ.2544 สถาบันให้แยกโครงสร้างออกมาเป็นโครงการจัดตั้งคณะเทคโนโลยีการเกษตร และโครงการจัดตั้งคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สังกัดสถาบันราชภัฏนครสวรรค์ ต่อมาได้รับการแต่งตั้งเป็นคณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ตามกฎกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยแบ่งส่วนราชการมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ พ.ศ.2548
ปี 2549 ได้มีการแบ่งส่วนหน่วยงานตามประกาศมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ เรื่อง การแบ่งส่วนราชการหรือหน่วยงานของมหาวิทยาลัย ลงวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2549
คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม แบ่งออกเป็น 2 ภาควิชา ดังนี้
1.ภาควิชาเทคโนโลยีการเกษตร 2.ภาควิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
หลักสูตรที่เปิดสอน
หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต
- สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม(ต่อเนื่อง)
- สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรม
แนวทางประกอบอาชีพ
- ผู้ปฏิบัติงานด้านเทคโนโลยีอุตสาหกรรมทั้งภาครัฐและเอกชน เช่นผู้วางแผนการผลิต การควบคุมคุณภาพการผลิต การจัดซื้อ ควบคุมการจัดการคลังสินค้า และหน้าที่อื่นๆในงานอุตสาหกรรม
- นักวิจัยและพัฒนาทางด้านเทคนิคและเทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรม
- ผู้สนับสนุนงานด้านอุตสาหกรรม เป็นต้น
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต
- สาขาวิศวกรรมไฟฟ้าเครื่องกลการผลิต
- สาขาวิศวกรรมพลังงาน
- สาขาวิศวกรรมการจัดการอุตสาหกรรมและสิ่งแวดล้อม
แนวทางประกอบอาชีพ
- วิศวกรในหน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจ
- นักวิจัย นักวิชาการสิ่งแวดล้อม เป้นต้น
หลักสูตรอุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต
- สาขาวิชาไฟฟ้าอุตสาหกรรม แขนงวิชาไฟฟ้าอุตสาหกรรม
- สาขาวิชาไฟฟ้าอุตสาหกรรม แขนงวิชาอิเล็กทรอนิกส์อุตสาหกรรม
แนวทางประกอบอาชีพ
- นักวิเคราะห์และออกแบบระบบ
- นักวิชาการในองค์กรต่างๆ
- ประกอบอาชีพธุรกิจส่วนตัว เป็นต้น
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต
- สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ แขนงวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช
- สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ แขนงวิชาเทคโนโลยีการผลิตสัตว์
- สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ แขนงวิชาเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร
แนวทางประกอบอาชีพ
- อาจารย์/นักวิชาการเกษตร ทั้งภาครัฐและเอกชน
- นักวิทยาศาสตร์ประจำห้องปฏิบัติการ
- เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการขายภาคเอกชน/ประกอบอาชีพส่วนตัว เป็นต้น
หลักสูตรศิลปบัณฑิต
- สาขาวิชาการออกแบบ แขนงวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์
- สาขาวิชาการออกแบบ แขนงวิชาคอมพิวเตอร์กราฟิก
แนวทางประกอบอาชีพ
- นักวิชาการ/นักวิจัย/นักออกแบบ ทั้งภาครัฐและเอกชน
- ประกอบอาชีพส่วนตัว เป็นต้น